Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61249
Title: ผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจ ให้ตนเองและผู้อื่น
Other Titles: Effects of regulatory focus, and accountability on bias in decision making for self and other
Authors: อรพรรณ คูเกษมรัตน์
Advisors: ทิพย์นภา หวนสุริยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Thipnapa.H@Chula.ac.th
Subjects: การรู้คิด
การตัดสินใจ
ความรับผิดชอบ
Cognition
Decision making
Responsibility
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง รูปแบบ 2 x 2 x 3 แฟคทอเรียลดีไซน์ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเป้าหมายการควบคุม และการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ต่อระดับการเอนเอียงในการตัดสินใจให้ผู้ได้รับผลของการตัดสินใจที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-24 ปี จำนวน 258 คน (หญิง 68.2%) กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเข้าเงื่อนไขการทดลอง 12 เงื่อนไข และได้รับการจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน หรือส่งเสริม จากนั้นกลุ่มตัวอย่างต้องตัดสินใจเลือกแบ่งเงิน 1,000 บาท เป็นสองส่วน คือ เพื่อคงสถานะและเพื่อเพิ่มสถานะในด้านต่าง ๆ ของชีวิตทั้งหมด 7 ด้านให้ตนเอง หรือผู้อื่นที่สนิท หรือผู้อื่นที่ไม่สนิท กลุ่มตัวอย่างในเงื่อนไขที่มีการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ได้รับคำสั่งให้ชี้แจงเหตุผลประกอบการตัดสินใจต่อผู้วิจัยหลังตอบคำถาม ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งไม่ต้องชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับ คือ มีแนวโน้มจ่ายเงินเพื่อเพิ่มสถานะมากกว่าจ่ายเงินเพื่อคงสถานะ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง ไม่พบปฏิสัมพันธ์สามทางของเป้าหมายการควบคุม การชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ แต่พบว่าการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับที่พบนี้ ได้รับอิทธิพลจากผลหลักของเป้าหมายการควบคุม และผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ และได้รับอิทธิพลจากผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับการชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ และผลปฏิสัมพันธ์ของเป้าหมายการควบคุมกับผู้ได้รับผลของการตัดสินใจ กล่าวคือ โดยทั่วไปบุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบป้องกัน มีการเอนเอียงในการตัดสินใจแบบมุ่งการได้รับน้อยกว่าบุคคลที่ถูกจัดกระทำเป้าหมายการควบคุมแบบส่งเสริม โดยความแตกต่างนี้จะน้อยลง ในเงื่อนไขที่ตัดสินใจให้ตนเอง และในเงื่อนไขที่ต้องชี้แจงเหตุผลรองรับการตัดสินใจ
Other Abstract: This study was a 2 x 2 x 3 between subjects factorial design aiming to investigate the effect of regulatory focus and accountability on bias in decision making for different decision recipients. Participants were 258 undergraduate students (68.2% female), aged 18 to 24 years old (M = 19.22, SD = 1.23). Participants were randomly assigned to one of the 12 experimental conditions. Specifically, they were induced to be in either a prevention or promotion focus state of mind. Participants then decided how much money, out of 1,000 Baht, they would pay to maintain and to improve their own, or a close other’s, or a distant other’s status quo in seven domains of life. Participants in the accountability condition were told that they had to justify their decision to the researcher, while those in the non-accountability condition did not have to. Results revealed that most participants displayed gain bias. They were willing to pay more money to improve the status quo than to maintain the status quo. A three-way ANOVA showed a non-significant three-way interaction. Participants’ gain bias was determined by the main effect of regulatory focus and the main effect of decision recipients as well as the regulatory focus x accountability interaction and the regulatory focus x decision recipient interaction. Specifically, participants in the prevention focus condition generally display less gain bias than those in the promotion focus condition. This difference is smaller when participants make a decision for themselves and when they have to justify their decision.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61249
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.760
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.760
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877629738.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.