Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61281
Title: ผลของสุคนธบำบัดที่มีต่อความฝันที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติด ความรู้สึก 9 ด้านและเพื่อวัดคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยจากการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี
Other Titles: Effects of Aromatherapy treatments for dream of addictive substance 9-sided feelings and quality of sleep to amphetamine users in PMNIDAT institute on drug abuse
Authors: ชนิดา โรจน์จำนงค์
Advisors: อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง
ภัทราภรณ์ กินร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Atapol.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำมันหอมระเหย -- การใช้รักษา
การบำบัดด้วยกลิ่น
ฝัน
Essences and essential oils -- Therapeutic use
Aromatherapy
Dreams
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบำบัดด้วยสุคนธบำบัดในผู้ป่วยจากการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี 20 คน โดยเป็นผู้ป่วยที่อยุู่ในช่วงฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและใจ เพื่อให้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยเปรียบเทียบเมื่อไม่ได้รับการบำบัดด้วยสุคนธบำบัดกับเมื่อได้รับการบำบัดด้วยสุคนธบำบัด พบว่าน้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะลิมีผลต่อความรู้สึกทั้ง 9 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้สึกถูกระตุ้น (stimulant) ความรู้สึกกังวล (anxious) ความรู้สึกหิว (hungry) ความรู้สึกมีอารมณ์พุ่งสูง (high) ความรู้สึกหวาดระแวง (paranoid) ความรู้สึกพูดไม่ออก (tongue-tied) ความรู้สึกแย่ (bad) ความรู้สึกกระสับกระส่าย (restless) และความรู้สึกอยากเสพสาร (craving) โดยมีคะแนนค่าเฉลี่ยความรู้สึกทั้ง 9 ด้านในวันที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยต่ำกว่าวันที่ไม่ได้รับน้ำมันหอมระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า < 0.05 ทั้งนี้ในส่วนของการบันทึกความฝันที่เกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในช่วงที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยมีคะแนนค่าเฉลี่ยต่ำกว่าวันที่ไม่ได้รับน้ำมันหอมระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05 และการวัดคุณภาพการนอนหลับในช่วงที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยมีคะแนนค่าเฉลี่ยต่ำกว่าวันที่ไม่ได้รับน้ำมันหอมระเหยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า < 0.05 ดังนั้นการได้รับการบำบัดด้วยสุคนธบำบัดจึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้บำบัดเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยติดสารเสพติดได้
Other Abstract: This research is experimental research. The objective was to investigate the effect of aromatherapy therapy on patients with amphetamine use who received treatment at the the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment. The patient is in the rehabilitation of physical and mental to return to normal life. When a therapist is not treated with arousal therapy Jasmine Essential Oils have the same effect on all nine aspects. Including Feeling anxious , hungry, high, paranoid, tongue-tied, bad, restlessness and craving with an average on the day of receiving the lower essential oil. The essential oils were significantly lower than < 0.05. The mean score was lower than the non-essential oil score at the statistical significance level of less than 0.05 in the recording of dreams related to narcotic use during the period of receiving essential oils. The mean score was lower than that of the non-essential oils at the level less than <0.05. Therefore, anesthesia therapy is an alternative treatment option for increasing the quality of life in drug addicts.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61281
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1420
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1420
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974254530.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.