Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง-
dc.contributor.advisorภัทราภรณ์ กินร-
dc.contributor.authorนพดล โสภณวรกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T13:22:43Z-
dc.date.available2019-02-26T13:22:43Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61282-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractจากปัญหาอัตราการกลับไปเสพสารเสพติดซ้ำของผู้เข้ารับการบำบัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยสาเหตุหนึ่งเกิดจากการขาดการรับรู้ถึงความสามารถของตน ซึ่งการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองเป็นอีกหนทางหนึ่งในการส่งเสริมการรับรู้ถึงความสามารถของตนอย่างเหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการตระหนักรู้ในตนเองของผู้ป่วยมีความผิดปกติของการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีน โดยเป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง แบบศึกษากลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดที่แผนกผู้ป่วยในของสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จำนวน 40 คน ซึ่งเข้าร่วมโปรแกรมการฝึก 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) การสังเกตและรับรู้ในตนเอง, 2) การฝึกปล่อยวางอารมณ์ รู้ทันความคิด, 3) การตระหนักรู้ในชีวิตประจำวัน  และ 4) การวางแผนการดำเนินชีวิตในระยะยาวผ่านการมองหาคุณค่าของบุคคลรอบข้าง รวม 4 ครั้ง ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลส่วนตัว 2) แบบวัดการรับรู้ของสติใน 5 ด้าน 3) แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ pair t-test และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสหสัมพันธ์แบบ Pearson จากผลการศึกษาพบว่าหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการรับรู้สติทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสังเกต ด้านการบรรยายเป็นคำพูด ด้านการรับรู้อิริยาบถ ด้านการไม่ตัดสิน ด้านการไม่ตอบสนองต่อความรู้สึกมีค่าคะแนนสูงขึ้น ในขณะที่ค่าคะแนนความเครียดลดลง โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ 0.001*, 0.113, 0.035*, 0.037*, 0.281, 0.049* และ 0.008* ตามลำดับ และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรและผลต่างของค่าคะแนนก่อน-หลังเข้าร่วมโปรแกรม ผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกมีประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับการตระหนักรู้ในตนเองของผู้เข้าร่วม อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยทั้งที่เคยและไม่เคยมีประสบการณ์การฝึกเจริญสติได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการช่วยลดปัญหาการกลับมาเสพสารเสพติดซ้ำในผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThe substance-abuse relapse rate is likely to increase every year. One of the reasons is the lack of self-efficacy that can improved by self-awareness training. The purpose of this one group pretest-posttest design quasi experimental research study was to investigate the effect of self-awareness training program on 40 patients with amphetamine use disorder who treated at the PMNIDAT. The program including 2 weeks, consists of 4 sessions: 1) Observing the body’s reaction 2) Emotional & Thinking training 3) Awareness in daily life and 4) Long-term lifestyle planning through looking for and appreciate the value of everyone. Using the FFMQ-SF and the ST-5 questionnaire to measure self-awareness in term of mindfulness and stress. Data were analyzed by using descriptive statistic, pair t-test and Pearson’s correlation. Participants shows a higher mindfulness score both the overall and each 5 compound factors including observing, describing, acting with awareness, non-judging of inner experience and non-reactivity to inner experience while the stress score is reduced. The statistical significance at 0.05 was 0.001*, 0.113, 0.035*, 0.037*, 0.281, 0.049* and 0.008* respectively. In addition, the Pearson correlation coefficient was not correlated with the demographic profile and the difference in before-after the program scores. The program can improve self-awareness and relieve stress for patients with amphetamine use disorder. They were shown as the increased FFMQ-SF score and the decreases ST-5 score. And this program can be applied to patients in all groups, have experienced the practice and have never experienced the practice of mindfulness.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1425-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเอง-
dc.subjectคนติดยาเสพติด -- การฝึกอบรม-
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)-
dc.subjectSelf-consciousness (Awareness)-
dc.subjectDrug addicts -- Training-
dc.subjectStress (Psychology)-
dc.subjectMindfulness-based cognitive therapy-
dc.subject.classificationPsychology-
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกการตระหนักรู้ในตนเองต่อระดับการรับรู้สติ 5 ด้านและความเครียดของผู้ป่วยมีความผิดปกติของการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีนที่เข้ารับการรักษาในสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี-
dc.title.alternativeEffect of self-awareness training program on 5 factors of mindfulness and stress to patients with amphetamine use disorder in the Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorAtapol.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordโปรแกรมการฝึกการตระหนักรู้ในตนเอง-
dc.subject.keywordระดับการรับรู้สติ-
dc.subject.keywordความเครียด-
dc.subject.keywordความผิดปกติของการใช้สารกลุ่มแอมเฟตามีน-
dc.subject.keywordSelf-awareness training program-
dc.subject.keywordMindfulness-
dc.subject.keywordStress-
dc.subject.keywordAmphetamine use disorder-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1425-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974256830.pdf10.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.