Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61296
Title: | การระงับข้อพิพาทการบริหารงานบุคคลของพนักงานตามสัญญาจ้างภายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
Other Titles: | The dispute resolution of contracted public personnel management in public higher education institutions |
Authors: | ชวลิต สีหลิ่ง |
Advisors: | ปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Panthip.P@chula.ac.th |
Subjects: | การบริหารความขัดแย้ง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การบริหารงานบุคคล Conflict management Public universities and colleges Personnel management |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของระบบการระงับข้อพิพาทการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เนื่องจากปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแต่ละแห่งสามารถกำหนดระเบียบข้อบังคับบริหารจัดการได้เองและนำระบบสัญญาเข้ามาใช้แทนการใช้อำนาจฝ่ายเดียวตามกฎหมายเหมือนกับกรณีข้าราชการ เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลเกิดขึ้น กระบวนการระงับข้อพิพาทจึงเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งแตกต่างกัน ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในหลากหลายด้าน นับตั้งแต่การกำหนดรูปแบบองค์กรผู้ทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์ สัดส่วนของคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ เหตุแห่งการคัดค้านกรรมการ สิทธิในการที่จะมีผู้แทนหรือตัวแทนดำเนินการและสิทธิที่จะมีผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การใช้ระบบไต่สวนในกระบวนการพิจารณา ความเชี่ยวชาญทางกฎหมายและการระงับข้อพิพาท หน่วยงานที่ทำหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน และกรอบระยะเวลาในระบบการพิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์ ซึ่งเหล่านี้ สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้กำหนดไว้โดยมีมาตรฐานแตกต่างกัน นอกจากนี้ วิธีพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์เกือบทุกแห่งยังขาดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาผู้ยื่นคำร้องอุทธรณ์หรือคำร้องทุกข์ในระหว่างรอคำวินิจฉัยชี้ขาด ทำให้คำสั่งทางการบริหารงานบุคคลที่มีผลต่อการสิ้นสุดสถานภาพการเป็นพนักงาน เช่น การเลิกจ้างหรือการไม่ต่อสัญญาจ้าง มักจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคลากรดังกล่าวเป็นอย่างมากจึงทำให้เกิดปัญหาในการเยียวยาภายหลัง เมื่อทำการศึกษาเทียบเคียงกับวิธีพิจารณาข้อพิพาทการบริหารงานบุคคลภาครัฐของสหรัฐอเมริกาและประเทศออสเตรเลียแล้ว จึงได้แนวทางการกำหนดมาตรฐานกลางให้องค์กรผู้ทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์มีสถานะทางกฎหมายเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทและพัฒนาวิธีพิจารณาของคณะกรรมการในด้านต่าง ๆ ให้มีความเป็นอิสระจากองค์กรหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจการบริหารงานบุคคลมากขึ้น เพื่อไม่ให้มีบทบาทที่ขัดแย้งกันอันอาจทำให้ระบบขาดประสิทธิภาพ ส่วนวิธีการชั่วคราวและการเยียวยาความเสียหายนั้น ควรนำมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของศาลปกครองและวิธีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาใช้เป็นแนวทางการกำหนดเพื่อป้องกันและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต |
Other Abstract: | This main purpose of this thesis is to study problems of the dispute settlement system of personnel administration in higher education institutions. Due to the fact that each institution is currently allowed to create its own system and, similarly to the civil servant sector, replace the unilateral power with contact system to solve dispute. Therefore, dispute settlement system of each institution is governed by its own rule which creates various problems including the problem of determining the form of corporate agent who is in charge of the hearing of appeals and grievances, the problem of proportion of the committee, the problem of objection of the committee, rights to be represented by agent and receive legal advice, the use of inquisitorial procedure to examine legal expertise and solve dispute, organization which is authorized to find fact or support the operation, and the timeframe of the hearing system of appeals and grievances. Each institution sets different standards for this whole system. Moreover, most of the appeals and grievances procedure is lack of temporary protection method for staff in higher education institutions during the hearing process. As a result, the personnel administration orders such as lay off or procedure non-renewal of contract often cause damage to staff which cause the future remedy problems. After comparing the system in Thailand with the United States of America and Australia, it was found that legal status as dispute resolution committee should be granted to the organization which is in charge of the hearing of appeals and grievances, the procedure should be developed in various ways to make it independent from the organization or the person who is using personal administration power to avoid conflict of interest which might lead to inefficiency of the system. Regarding the temporary method and remedies, the method of the Administrative Court and the procedure revocation of administrative orders in the Administrative Procedure Act, B.E. 2539 should be used as a guideline to control and to remedy any future damage. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61296 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.947 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.947 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5885957834.pdf | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.