Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61343
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรงพยาบาลทั่วไป
Other Titles: Selected factors related to depression in patients with acute coronary syndrome, general hospital
Authors: เกื้อกูล โอฬารวัฒน์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: chanokporn.j@chula.ac.th
Subjects: กล้ามเนื้อหัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย
ความซึมเศร้า
Myocardium -- Diseases -- Patients
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้การเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม สมรรถนะแห่งตน ความแปรปรวนการนอนหลับ และประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่แผนกหัวใจและหลอดเลือด ณ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ เขตภาคกลาง ได้แก่ โรงพยาบาลอานันทมหิดล และโรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีทั้งหมด 7 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ 3) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 4) แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย 5) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตน และ7) แบบสอบถามความแปรปรวนการนอนหลับ ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.96, 1.0. 1.0, 1.0, 1.0 และ 1.0 ตามลำดับ และจากการตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินได้เท่ากับ 0.89, 0.71, 0.91, 0.81 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มีคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเท่ากับ 80.02 (SD = 25.43) 2.  สถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (χ2 = 246.147, p < .05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพศ รายได้ โรคประจำตัว/ โรคร่วม และระดับความรุนแรงของโรคไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การรับรู้การเจ็บป่วย ความแปรปรวนการนอนหลับ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .69, p < .05 และ r = .63, p < .05 ตามลำดับ) 4. การสนับสนุนทางสังคม สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.18, p < .05 และ r = -.29, p < .05) 5. ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The objective of this study were to study the depression in patients with acute coronary syndrome. A purposive sampling was used to get sample of 120 patients who met inclusion criteria were recruited from Cardiovascular outpatient department in secondary hospital. Data were collected using 7 questionnaires for acute coronary syndrome patients: 1) Demographic data from, 2) Left Ventricular Ejection Fraction Form 3) Cardiac Depression Scale, 4) Brief-Illness perception questionnaire, 5) Social support, 6) Cardiac Self-efficacy Scale, 7) General Sleep Disturbance Scale. The instruments were validated by 5 experts. Their CVI were 0.96, 1.0. 1.0, 1.0, 1.0 and 1.0 The Cronbach’ s alpha coefficients for reliability test were 0.89, 0.71, 0.91, 0.81 and 0.89 respectively. Statistical techniques used in data analysis were descriptive statistic,  and Pearson’ s Product Moment correlation coefficient at the significant level .05. Results: 1. Mean of  depression scores in patients with acute coronary syndrome was 80.02 (SD = 25.43) 2. Status related to depression in patients with acute coronary syndrome at the levwl .05 (χ2 = 246.147, p < .05). There are no significant association between sex, income, comorbidity, illness severity and depression in patients with acute coronary syndrome. 3. There were positively statistical correlation between illness perception, sleep disturbance, and depression in patients with acute coronary syndrome at the level of .05 (r = .69, p < .05, r = .63, p < .05 respectively) 4. There were negatively statistical correlation between social support, self-efficacy and depression in patients with acute coronary syndrome at the level of .05 (r = -.18, p < .05, r = -.29, p < .05) 5. There are no significant association between left ventricular ejection fraction and depression in patient with acute coronary syndrome.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61343
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.955
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.955
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977157936.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.