Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61395
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา ไชยูปถัมภ์ | - |
dc.contributor.advisor | อนันต์ชัย คงจันทร์ | - |
dc.contributor.author | อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T13:38:22Z | - |
dc.date.available | 2019-02-26T13:38:22Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61395 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตนักศึกษาข้ามเพศและการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศของสถาบันอุดมศึกษาไทย (2) วิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการที่ดีของสถาบันอุดมศึกษากรณีศึกษาของไทยต่อนิสิตนักศึกษาข้ามเพศและเปรียบเทียบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ และ (3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย นิสิตนักศึกษาข้ามเพศจำนวน 52 คน อาจารย์ 20 คนและผู้บริหารจำนวน 24 คนจาก 24 สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศไทย ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การศึกษาเอกสารและภาพถ่าย การประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสัมภาษณ์นิสิตนักศึกษาข้ามเพศ แบบสัมภาษณ์อาจารย์ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ และเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. นิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับและมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อบุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้นำในกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัย นิสิตนักศึกษาข้ามเพศสามารถแสดงออกโดยการใช้คำพูดเพื่อแสดงถึงเพศที่ตนเองต้องการได้ รวมถึงการแต่งกายข้ามเพศในการเข้าเรียน การเข้าสอบและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรได้ในขณะที่บางมหาวิทยาลัยยังไม่มีแนวปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว นิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่เลือกใช้ห้องน้ำเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากเหตุผลด้านความปลอดภัยและความสะอาด นิสิตนักศึกษาข้ามเพศมีการจัดสรรเงินบางส่วนในการดูแลตนเองทางด้านรูปร่างและผิวพรรณเป็นพิเศษ นิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดเลือกที่จะปรึกษาเรื่องส่วนตัวกับเพื่อนและรุ่นพี่ที่เป็นบุคคลข้ามเพศมากกว่าอาจารย์และเจ้าหน้าที่ภายในมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาข้ามเพศส่วนใหญ่ต้องอาศัยอยู่ในหอพักที่มีการแบ่งแยกตามเพศกำเนิด มีการส่งเสริมการให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเพศวิถีและความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อความหลากหลายในสังคมมหาวิทยาลัย 2. สถาบันอุดมศึกษาไทยที่มีแนวปฏิบัติที่ดีให้เสรีภาพต่อนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในการเข้าร่วมและจัดกิจกรรมต่างๆ การออกประกาศหรือแนวทางปฏิบัติในการแต่งกายของนิสิตนักศึกษาข้ามเพศอย่างชัดเจน การจัดสรรห้องน้ำเสมอภาคซึ่งเป็นห้องน้ำที่นิสิตนักศึกษาทุกคนสามารถเข้าใช้บริการร่วมกันได้รวมถึงนิสิตนักศึกษาพิการ บุคลากรหรืออาจารย์ผู้สูงอายุต่างๆ การบริการให้คำปรึกษาและสุขภาพแก่นิสิตนักศึกษาโดยความร่วมมือกับทางคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมีนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเพศคอยให้บริการในศูนย์การให้คำปรึกษาและสุขภาพแก่นิสิตและนักศึกษาข้ามเพศ การเปิดรายวิชาและหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเพศวิถีและบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้กับนิสิตนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา 3. รูปแบบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทย (FICE Model) ประกอบด้วยการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การบริหารจัดการด้านเสรีภาพ การแสดงออกและกิจกรรม (F: Freedom, Gender Expression, and Activity Management) ด้านที่ 2 การบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก (I: Infrastructure and Facility Management) ด้านที่ 3 การบริหารจัดการด้านการให้คำปรึกษาและสุขภาพ (C: Counselling and Healthcare Service Management) และด้านที่ 4 การบริหารจัดการด้านการส่งเสริมการให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเพศวิถีและความหลากหลายทางเพศ (E: Educational and Training Program Management) | - |
dc.description.abstractalternative | This policy research aimed to (1) study the life experience of transgender college students and its management of Thai higher educational institutions, (2) analyze the best practice of Thai higher educational institutions in managing transgender college students and compare them with its management of higher educational institutions in other countries, and (3) develop a model of managing transgender college students in Thai higher educational institutions. Participants were 52 transgender college students, 20 lecturers, and 24 administrators from 24 Thai higher educational institutions nationwide. An informal interview, document and site study were used to collected data. Research instruments were interview forms for transgender college students, lecturers, and administrators, content analysis form and voice recorder. A content analysis was used to analyze qualitative data. The results revealed that 1. Most of transgender college students are accepted by others in the campuses. They are equally able to join all activities in the campuses and some of them are sometime selected to be the leader of the activity. They are able to use words and expressions to express their gender expression. Having a guideline of managing the student uniform in some universities, they are allowed to dress the student uniforms in their preferred sex to attend class, testing room, and the graduation ceremony whereas there are no guidelines on the student uniforms in many universities. They prefer using the female toilets rather than male toilets as the reasons of their safety and cleanliness. They spends much on their body and skin. They tends to consult their personal problems with their senior transgender rather than lecturers and staff. They inevitably have to live in the assigned dormitory within the campuses where are divided by gender. A promotion on sexual diversity knowledge to others are found in many universities. 2. Thai higher educational institutions with their best practice in managing transgender college students have guidelines on transgender college student uniforms as well as providing toilets for all within the campuses, counselling center with experts, and courses on the sexual diversity offered to both undergraduate and graduate students. 3. A model of managing transgender college students in Thai higher educational institutions (FICE Model) is consisted of 4 managerial areas which are (1) F: Freedom, Gender Expression, and Activity Management, (2) I: Infrastructure and Facility Management, (3) C: Counselling and Healthcare Service Management, and (4) E: Educational and Training Program Management respectively. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1524 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | นักศึกษาข้ามเพศ | - |
dc.subject | บุคคลข้ามเพศ | - |
dc.subject | กิจการนักศึกษา -- การบริหาร -- ไทย | - |
dc.subject | Transgender students | - |
dc.subject | Transgender people | - |
dc.subject | Student affairs services -- Administration -- Thailand | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | รูปแบบการบริหารจัดการนิสิตนักศึกษาข้ามเพศในสถาบันอุดมศึกษาไทย | - |
dc.title.alternative | A model of managing transgender college students in Thai higher education institutions | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | TRANSGENDER STUDENTS | - |
dc.subject.keyword | MODEL OF MANAGEMENT | - |
dc.subject.keyword | STUDENTS AFFAIRS | - |
dc.subject.keyword | LIFE EXPERIENCE | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1524 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884233927.pdf | 10.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.