Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61400
Title: แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
Other Titles: Guidelines for enhancing self-development for better practices of elderly home-care volunteers
Authors: ภัสราภรณ์ ศรีอาจนันทโชติ
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การพัฒนาตนเอง
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
Self-culture
Older caregivers
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 2. เพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน  การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งหมด 753 คน และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ความเหมาะสมในการนำไปใช้และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของ (ร่าง) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน           ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพ พบว่าเหตุผลส่วนใหญ่ในการเป็นอาสาสมัครคือ ต้องการช่วยเหลือผู้สูงอายุ และเหตุผลส่วนใหญ่ในการพัฒนาตนเองคือ นำความรู้และวิธีการใหม่ๆมาดูแลและแนะนำผู้สูงอายุและครอบครัวโดยส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และวิธีการพัฒนาตนเองส่วนใหญ่ใช้วิธีการเข้ารับฝึกอบรม และเนื้อหาที่เรียนรู้ได้แก่ เรื่องการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น และส่วนใหญ่เรียนรู้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปัญหาและความต้องการแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ บ้านวิธีการพัฒนาตนเอง และด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าปัญหาทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับน้อย ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาด้านแรงจูงใจโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.8 และความต้องการทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งความต้องการที่พบมากที่สุดคือ ความต้องการด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 และผลการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05          แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ประกอบด้วยแนวทาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจส่งเสริมในเรื่องสวัสดิการสำหรับอาสาสมัคร และการคัดเลือกอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานดีเด่น ด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน และออกแบบคู่มือการปฏิบัติงานและการดูแลผู้สูงอายุให้เข้าใจง่ายสนับสนุนสัญญาณเครือข่ายให้มีความเสถียรและจัดโครงการเพื่อสร้างความสนิทสนมระหว่างอาสาสมัครและผู้สูงอายุ ด้านวิธีการพัฒนาตนเองเน้นการลงมือปฏิบัติจริงและเห็นของจริง จัดประชุมสรุปงานทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจัดพื้นที่เป็นศูนย์รวมให้อาสาสมัครได้ศึกษาเรียนรู้ จัดหลักสูตรฝึกอบรมที่หลากหลาย และด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ และมีเนื้อหาที่ทันสมัยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้
Other Abstract: The objectives of this research were to study state, problems, and needs for self-development of elderly home-care volunteers and to compare their needs for self-development, and to propose guidelines for enhancing self-development of elderly home-care volunteers. This study was a survey research. The samples were selected based on purposive sampling from Phra Nakhon Si Ayutthaya, Saraburi, Suphan Buri, and Phetburi provinces. The sample size was 753. Besides, 12 experts validated the draft guidelines for enhancing self-development of elderly home-care volunteers. Research instruments were interview forms for interviewing the suitability of appropriate and feasible draft guidelines. The results of this study could be summarized as follows evaluation forms: 1. In term of self-development state, the samples mostly gave a reason to become elderly home-care volunteers because they were happy to help elderly and had self-development because of applying knowledge and new practices and giving recommendations to elderly. They spent free time for self-development and took the training programs as a method for self-development. They learned the content of basic elderly care.  Sub-district health promoting hospital was their learning source. Their problems and needs for self-development could be divided into four areas including motivation, promoting environment, self-development methods, and learning content. Four areas of the problems were evaluated at low levels. The most commonly found problem was motivation at a mean score of 2.8. Four areas of needs were evaluated at high levels. The most needed area was learning content with a mean score of 3.67. By comparing the needs for self-development, the samples differently needed four areas of self-development with a statistical significance level of .05  2. The guidelines for enhancing self-development of elderly home-care volunteers consisted of four areas. For motivation, welfare for volunteers should be promoted and volunteers with outstanding performance should be selected. For promoting environment, tools and equipment used for elderly care should be supported and a user-friendly and simple operational manual should be designed. Networks should be supported. Volunteer- elderly relationship building projects should be organized. For self-development methods, self-development should be promoted with various methods by focusing on real practices and learning from real situations. Monthly meeting should be organized to exchange knowledge. Learning centers should be provided for volunteer learning. Various trainings should be held. For learning content, the content should cover knowledge on elderly well-being by using modern and applicable content. 
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61400
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.719
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.719
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983348327.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.