Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61404
Title: แนวทางการออกแบบโมบายแอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้พิการทางการเห็น
Other Titles: Guidelines for mobile application design with active learning for visual impairment
Authors: ปรเมศวร์ เบญจวรรณ
Advisors: ประกอบ กรณีกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: สายตาผิดปกติ
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ -- การออกแบบ
การเรียนแบบมีส่วนร่วม
Vision disorders
Mobile apps -- Design
Active learning
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบโมบายแอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้พิการทางการเห็น 2) เพื่อรับรองแนวทางฯ 3) เพื่อประเมินโมบายแอพลิเคชันทางการศึกษาตามแนวทางฯ และ 4) เพื่อสร้างต้นแบบโมบายแอพลิเคชันทางการศึกษาตามแนวทางฯ ประชากร คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ โมบายแอพลิเคชันทางการศึกษา ตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาหรือการเรียนรู้สำหรับผู้พิการทางการเห็น หรือด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หรือด้านการเรียนผ่านโมบายแอพลิเคชัน หรือด้านการบริหารองค์กรซึ่งทำหน้าที่ดูแลสิทธิของผู้พิการทางการเห็น จำนวน 21 ท่าน และโมบายแอพลิเคชันทางการศึกษา จำนวน 82 แอพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองแนวทางฯ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม และ ตารางประเมินโมบายแอพลิเคชันทางการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ คะแนนรวม ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการออกแบบโมบายแอพลิเคชันในการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับผู้พิการทางการเห็น สรุปเป็นประเภทได้ดังนี้ 1) ด้านการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2) ด้านการเรียนแบบร่วมมือ 3) ด้านการจูงใจผู้เรียนโดยไม่เน้นการวัดประเมินผล และ 4) ด้านความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง ผลการประเมินโมบายแอพลิเคชันทางการศึกษาตามแนวทางฯ มีดังนี้ 1) คะแนนเฉลี่ยด้านการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 2.98 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน 2) คะแนนเฉลี่ยด้านการเรียนแบบร่วมมือ 1.45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 3) คะแนนเฉลี่ยด้านการจูงใจผู้เรียนโดยไม่เน้นการวัดประเมินผล 4.21 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน และ 4) คะแนนเฉลี่ยด้านความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง 2.18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ผลการประเมินต้นแบบโมบายแอพลิเคชันทางการศึกษาตามแนวทางฯ มีดังนี้ 1) คะแนนเฉลี่ยด้านการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 19.2 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน 2) คะแนนเฉลี่ยด้านการเรียนแบบร่วมมือ 9.8 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน 3) คะแนนเฉลี่ยด้านการจูงใจผู้เรียนโดยไม่เน้นการวัดประเมินผล 12 คะแนน จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน และ 4) คะแนนเฉลี่ยด้านความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง 5 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
Other Abstract: This study aimed to (1) to develop guidelines for mobile application design with active learning for visual impairment, (2) to validate the created guidelines, (3) to evaluate the educational mobile applications based on the guidelines and (4) to create the prototype of educational mobile applications according to the guidelines. The population in this study were 21 experts in related fields, such as educational mobile applications, content and learning for visual impairment, educational technology and communications, learning through mobile applications and visual impairment-related organizational management as well as 82 educational mobile applications. The research instruments included an expert interview form, a guideline validation form, a focus group form and a table for educational mobile application evaluation. The statistical method employed in the analysis was the collection of scores, means and standard deviation. A summary of the findings regarding the guidelines for mobile application design with active learning for visual impairment is as follows: (1) the mean score for learner-centeredness was 2.98 out of 20, (2) the mean score for collaborative lessons was 1.45 out of 10, (3) the mean score for intrinsically motivating student work as depicted by a lack of focus on assessment was 4.21 out of 12 and (4) the mean score for self-learning responsibility was 2.18 out of 5. In addition, there results of the evaluation of educational mobile applications based on the guidelines are as follows: (1) the mean score for learner-centeredness was 19.2 out of 20, (2) the mean score for collaborative lessons was 9.8 out of 10, (3) the mean score for intrinsically motivating student work as depicted by a lack of focus on assessment was 12 out of 12 and (4) the mean score for self-learning responsibility was 5 out of 5.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61404
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.587
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.587
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983846527.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.