Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61438
Title: | การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษเยื่อไม้ ขี้เลื่อย และด้าย |
Other Titles: | Production of fuel briquette from wood mill sawdust and thread |
Authors: | กัณมณี แสงสุข |
Advisors: | นุตา ศุภคต เสกสรร พาป้อง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ขี้เลื่อย ด้าย ชีวมวล เชื้อเพลิงขี้เลื่อย Wood waste Thread Biomass Wood waste as fuel |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ผลิตจากเศษเยื่อไม้ ขี้เลื่อย และด้าย ตามเกณฑ์คุณสมบัติของเสียที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (2555) 2) ประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของก้อนเชื้อเพลิงอัดแท่ง 1 กิโลกรัม ของการใช้เศษเหลือทิ้ง ได้แก่ เศษเยื่อไม้ ขี้เลื่อย และด้าย เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง เปรียบเทียบกับการจัดการวัตถุดิบของโรงงานในปัจจุบัน 3) ประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง โดยนำเศษเยื่อไม้ ขี้เลื่อย และด้าย มาผสมกันทั้งหมด 11 อัตราส่วนดังนี้ 50:50:0, 50:45:5, 50:40:10, 50:35:15, 50:30:20, 50:25:25, 45:50:5, 40:50:10, 35:50:15, 30:50:20 และ 25:50:25 ด้วยวิธีการอัดเย็นและใช้แรงอัดต่ำ โดยผลการทดลองทำให้ทราบว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด คืออัตราส่วนเศษเยื่อไม้ต่อขี้เลื่อยต่อด้ายที่ร้อยละ 40:50:10 มีคุณสมบัติทางกายภาพดีที่สุด ได้แก่ มีปริมาณความชื้น 8.64% เถ้า 2.79% สารระเหย 69.63% คาร์บอนคงตัว 18.92% ค่าความร้อน 4,010 แคลอรี/กรัม ความยาวการขยายตัวด้านความยาว 0.77% และความสูง 0.58% ค่าการทนแรงอัด 26.1 กก./ตร.ซม. และดัชนีการแตกร่วน 0.9997 ผลการประเมินประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของเชื้อเพลิงอัดแท่งโดยใช้โปรแกรม SimaPro 7.3 พบว่ามีผลกระทบในด้านศักยภาพการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุด โดยการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่ง มีผลกระทบด้านศักยภาพการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนเท่ากับ 0.13 กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์-เทียบเท่า และการจัดการเศษเยื่อไม้และขี้เลื่อยมีผลกระทบด้านศักยภาพการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนรวมเท่ากับ 2.45 กิโลกรัมของคาร์บอนไดออกไซด์-เทียบเท่า ส่วนผลกระทบด้านอื่น ๆ มีปริมาณน้อยมาก การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษเยื่อไม้ ขี้เลื่อย และด้ายในอัตราส่วน 40:50:10 ทำให้ทราบว่าการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งมีต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งต่อก้อนที่ราคา 0.63 บาท/ก้อน และสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 1.2 ปี สาเหตุหลักของการเกิดภาวะโลกร้อนคือเกิดมลพิษทางอากาศ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในกระบวนการขนส่งและจากการใช้ไฟฟ้าระหว่างการเตรียมวัตถุดิบและการอบแห้งเชื้อเพลิงอัดแท่ง |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to study the optimum ratio of fuel briquette from wood mill, sawdust and thread for according to Department of Industrial Works (2012) the criteria of waste properties for fuel briquette; 2) to assess the life cycle of fuel briquette 1 kg using waste including wood mill, sawdust and thread as raw materials for fuel briquette by comparing with traditional waste management; and 3) to evaluate the economic feasibility of fuel briquette production. Wood mill, sawdust and thread were mixed in 11 ratios: 50:50:0, 50:45:5, 50:40:10, 50:35:15, 50:30:20, 50:25:25, 45:50:5, 40:50:10, 35:50:15, 30:50:20 and 25:50:25 by using cold press process and low compression. The results showed that briquette made from 40% wood mill 50% sawdust and 10% thread was the most efficient renewable energy resource because it obtained the highest physical properties (moisture content 8.64%, ash content 2.79%, volatile matter 69.63%, fixed carbon 18.92%, calorific value 4,010 cal/g, 0.77% and 0.58% of length and height elongation, compressive strength 26.10 g/cm2 and shatter index 0.9997). Life cycle assessment of fuel briquette using the SimaPro 7.3 program showed that global warming impact of using waste including wood mill, sawdust and thread to produce fuel briquette was equal to 0.13 kg CO2 eq less than traditional waste management by disposal to dump site which had global warming impact equal to 2.45 kg CO2 eq. An economic analysis showed that the cost of producing briquette from wood mill, sawdust and thread was 0.63 baht/piece; the payback period was 1.2 years. The main cause of global warming impact was air emission from transportation fuel combustion and from the electricity used during raw material preparing and briquette drying. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61438 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.846 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.846 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5787105720.pdf | 3.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.