Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61441
Title: การบำบัดสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรโดยใช้ผักตบชวา
Other Titles: Phytoremediation of zinc oxide nanoparticles by water hyacinth
Authors: เอกภพ บุญเครือ
Advisors: นัยนันทน์ อริยกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ผักตบชวา
สังกะสีออกไซด์
อนุภาคนาโน
การบำบัดโดยพืช
Water hyacinth
Zinc oxide
Nanoparticles
Phytoremediation
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรโดยใช้ผักตบชวา (Eichhornia crassipes) และผลกระทบของสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรที่มีต่อปริมาณคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และแอกทิวิตีของเอนไซม์คะตะเลสในผักตบชวา  การวิจัยนี้ปลูกพืชในสารละลายที่มีความเข้มข้นของสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตร เท่ากับ 0, 3.5, 5 และ 7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 15 วัน ผลการศึกษาพบว่า ผักตบชวาในชุดการทดลองที่มีความเข้มข้นของสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตร 3.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพืชที่ปลูกในชุดการทดลองที่มีสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรความเข้มข้น 5 และ 7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า มวลชีวภาพไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตลอดระยะเวลา 15 วัน ประสิทธิภาพของผักตบชวาในการบำบัดสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรในความเข้มข้น 3.5, 5 และ 7.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าเท่ากับ 93%, 91% และ 87% ตามลำดับ ส่วนการสะสมสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรในผักตบชวา พบว่าจะสะสมในส่วนราก > ลำต้น > ใบ ตามลำดับ โดยผักตบชวาจะสะสมสังกะสีได้มากที่สุดในราก ลำต้น และใบ เท่ากับ 945.83 ± 73.69, 129.11 ± 5.93 และ 61.44 ± 3.13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ พืชที่ปลูกในสารละลายสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรความเข้มข้น 3.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีลักษณะแข็งแรง แต่มีปริมาณคลอโรฟิลล์ และแคโรทีนอยด์ น้อยกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนปริมาณไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และ แอกทิวิตีของเอนไซม์คะตะเลสของพืชที่ได้รับสังกะสีออกไซด์ขนาดนาโนเมตรจะมีค่ามากกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ  
Other Abstract: The objective of this research is to study the efficiency of zinc oxide nanoparticle (ZnO NPs) removal by water hyacinth (Eichhornia crassipes). The effects of ZnO NPs on chlorophyll, carotenoid, hydrogen peroxide and catalase activity were also investigated. In this experiment, plant was grown in the ZnO NPs at the concentration of 0, 3.5, 5 and 7.5 mg/L, from day 0 to day 15. The results showed that biomass of water hyacinth grown in the ZnO NPs at the concentration of 3.5 mg/L significantly increased. The biomass of plant grown in the ZnO NPs at the concentrations of 5 and 7.5 mg/L were not significantly different during 15 days. The removal efficiency of ZnO NPs at the concentrations of 3.5, 5 and 7.5 mg/L by water hyacinth were 93%, 91% and 87%, respectively.  The accumulation of ZnO NPs in water hyacinth was in order: roots > stems > leaves. The maximum + SD concentrations of zinc in roots, stems and leaves were   945.83 ± 73.69, 129.11 ± 5.93 and 61.44 ± 3.13 mg/kg dry weight, respectively.  Plant grown in the ZnO NPs at the concentration of 3.5 mg/L was healthy but chlorophyll content and carotenoid were significantly lower than a control group. The hydrogen peroxide and catalase activity of plant absorbed ZnO NPs were significantly higher than a control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61441
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.851
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.851
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787276320.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.