Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61492
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิรีรัตน์ จารุจินดา
dc.contributor.authorประภัสสร ดีแจ่ม
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2019-02-26T13:51:01Z
dc.date.available2019-02-26T13:51:01Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61492
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการเตรียมและปรับปรุงสมบัติของฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดด้วยสารเสริมแรงเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสจากซังข้าวโพดซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เหลือใช้ทางเกษตรที่พบมากในประเทศไทย โดยนำเซลลูโลสที่สกัดได้จากซังข้าวโพดมาผสมกับสารละลายผสมโซเดียมไฮดรอกไซด์/ยูเรีย และปั่นกวนผสมด้วยเครื่องปั่นกวนผสมความเร็วสูง โดยปรับเปลี่ยนเวลาในการปั่นกวนผสม (10, 20, 30, 40 และ 50 นาที) แล้วนำสารแขวนลอยที่ได้มาแช่แข็งที่อุณหภูมิ -13 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นนำออกมาปั่นกวนช้าๆจนถึงอุณหภูมิห้อง ได้สารละลายไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส จากนั้นนำสารละลายไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสกับสารละลายพอลิไวนิลแอลกอฮอล์มาเชื่อมขวางทางกายภาพหรือเชื่อมขวางทางเคมีโดยใช้อิพิคลอโรไฮดรินเป็นสารเชื่อมขวาง ก่อนนำไปผสมกับสารละลายพอลิแล็กติกแอซิดในอัตราส่วนต่างๆ (99:1, 97:3, 95:5) และขึ้นรูปเป็นฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดคอมพอสิตโดยเทคนิคการหล่อแบบด้วยตัวทำละลาย เมื่อนำฟิล์มพอลิแล็กติกคอมพอสิตที่เตรียมได้ไปทดสอบสมบัติเชิงกลพบว่าความทนแรงดึงและความยืด ณ จุดขาดของฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดเพิ่มขึ้นและดีที่สุดเมื่อเสริมแรงด้วยเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสที่ใช้เวลาการปั่นกวนผสม 20 นาที ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเลือกเวลาในการปั่นกวนผสม 20 นาทีเพื่อเตรียมเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ผ่านและไม่ผ่านการเชื่อมขวางและศึกษาผลของสารเสริมแรงที่แตกต่างกันดังกล่าวต่อสมบัติเชิงกลของฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิด พบว่าฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดที่เสริมแรงด้วยเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่เชื่อมขวางทางเคมีมีความทนแรงดึงและความยืด ณ จุดขาดสูงสุด นอกจากนี้อัตราส่วนระหว่างพอลิแล็กติกแอซิดกับเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลส/พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ 99 ต่อ 1 ในฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดคอมพอสิตทุกสูตร มีสมบัติเชิงกลดีที่สุด อย่างไรก็ตามการเสริมแรงด้วยเส้นใยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสในฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดทุกสูตรไม่สามารถช่วยปรับปรุงเสถียรภาพทางความร้อนเนื่องจากการเข้ากันไม่ดีระหว่างเฟส
dc.description.abstractalternativeThis research aims to prepare and improve properties of poly(lactic acid) (PLA) film by using microfibrillated cellulose (MFC) from corn cob, which is an abundant agricultural waste in Thailand, as a reinforcing filler. Extracted cellulose from corn cob was mixed with sodium hydroxide/urea mixed solution and followed by homogenizing with high-speed homogenizer in various times (10, 20, 30, 40 and 50 minutes). The MFC suspension was then frozen at -13°C for 24 h and thawed and stirred at room temperature to obtain MFC solution. Then the MFC solution and polyvinyl alcohol (PVA) solution were physical crosslinked (freeze/thaw cycle) or chemical crosslinked (epichlorohydrin as a crosslinking agent). MFC/PVA solution was mixed with PLA solution in various ratios (99:1, 97:3, 95:5) and was immediately subjected to cast film on glass plate. The tensile strength and elongation at the break of PLA composite film reinforced with MFC/PVA increased when the homogenized time is 20 minutes. Therefore, the homogenized time at 20 minutes was selected to prepare MFC/PVA with and without crosslinking and to study the effects of different types of MFC/PVA on the mechanical properties of PLA composite film reinforced with MFC/PVA. The results showed that the PLA composite film reinforced with chemical crosslinked MFC/PVA exhibited the highest tensile strength and elongation at the break. Moreover, the weight ratio of PLA and reinforcing filler was 99:1 improved the mechanical properties of PLA film. However, MFC reinforcing filler cannot improve the thermal properties of PLA film due to poor interfacial adhesion between phase.
dc.language.isoth
dc.publisherChulalongkorn University
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.836-
dc.rightsChulalongkorn University
dc.subjectกรดโพลิแล็กติก
dc.subjectโพลิไวนิลแอลกอฮอล์
dc.subjectการเชื่อมขวาง (โพลิเมอไรเซชัน)
dc.subjectพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย
dc.subjectPolylactic acid
dc.subjectPolyvinyl alcohol
dc.subjectCrosslinking (Polymerization)
dc.subjectFiber-reinforced plastics
dc.subject.classificationMaterials Science
dc.titleสมบัติฟิล์มพอลิแล็กติกแอซิดเสริมแรงด้วยไมโครไฟบริลเลเตดเซลลูโลสจากซังข้าวโพด
dc.title.alternativeProperties of poly(lactic acid) film reinforced with microfibrillated cellulose from corn cobs
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.836-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672009523.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.