Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6153
Title: | รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนในประเทศไทย : กรณีศึกษาสำนักงานสถาปนิกในช่วงปี พ.ศ. 2538-2545 |
Other Titles: | Management in private architecture officies in Thailand : a case study of offices during A.D. 1998-2002 |
Authors: | สุมลทิพย์ ฟังกังวาลวงศ์ |
Advisors: | อวยชัย วุฒิโฆสิต ไตรวัฒน์ วิรยศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาิวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล vtraiwat@chula.ac.th |
Subjects: | การจัดการสำนักงาน สถาปัตยกรรม สถาปนิก -- สมาคม |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยถดถอยในช่วงปี พ.ศ. 2538-2540 ส่งผลให้สำนักงานสถาปนิกส่วนใหญ่ต้องมีการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านต่างๆ ที่มีผลในการบริหารจัดการสำนักงาน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนั้น เนื่องจากข้อจำกัดของรายรับที่ลดลง รวมทั้งการแข่งขันด้วยวิธีการต่างๆ ในวงการวิชาชีพด้วยกันเอง ทำให้สำนักงานที่ไม่มีการเตรียมพร้อมและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ต้องลดขนาดกิจการและหลายแห่งปิดกิจการลง จนในปัจจุบันเหลือสำนักงานไม่มากนักที่เปิดให้บริการ แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม ดังนั้นการบริหารจัดการสำนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง เนื่องจากหากสำนักงานไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ดี องค์กรไม่มีเสถียรภาพและขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ย่อมทำให้สำนักงานไม่สามารถอยู่รอดในระยะยาวและพัฒนาต่อไปในอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิก เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการบริหารจัดการสำนักงานสถาปนิกในสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อดีและข้อเสียของรูปแบบการบริหารจัดการและการจัดโครงสร้างองค์กรในแต่ละรูปแบบ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาการดำเนินงาน และการบริหารจัดการของสำนักงานสถาปนิกภาคเอกชนต่อไป วิธีการศึกษาเป็นการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างสถาปนิกแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มสำนักงานขนาดเล็ก บุคลากรน้อยกว่า 10 คน 2) กลุ่มสำนักงานขนาดกลาง บุคลากร 11-30 คน 3) กลุ่มสำนักงานขนาดใหญ่ บุคลากรมากกว่า 30 คน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ ประกอบการวิเคราะห์และหาสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสำนักงานในแต่ละกลุ่มและในกลุ่มเดียวกันเอง จะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทัศนคติส่วนตัว วิธีการบริหารงานของผู้บริหารและประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพเป็นสำคัญ รวมทั้งลักษณะโครงการ กลุ่มลูกค้าและบุคลากร ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สำนักงานมีศักยภาพในการทำงาน ในด้านองค์กร จากภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น สำนักงานสถาปนิกทุกกลุ่มมีนโยบายที่จะขยายตัวอย่างมีขีดจำกัด และมีแนวโน้มจะมีขนาดเล็กลงในอนาคต โดยมีการใช้ระบบ Joint venture เข้ามาแทน รวมทั้งมีการใช้ระบบพนักงานแบบ Part Time และแบบ Contract เข้ามาช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประจำภายในสำนักงาน รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพื่อช่วยลดจำนวนบุคลากรลงในอนาคตด้วย ดังนั้นสำนักงานสถาปนิกทุกแห่ง ควรให้ความสำคัญและมีการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ ควบคู่ไปกับการดำเนินงานสำนักงานในด้านอื่นด้วย เพื่อให้สำนักงานสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง และตัวสถาปนิกเองควรมีการพัฒนาพื้นฐานด้านการบริหารจัดการ เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมด้วย |
Other Abstract: | The economic regression in Thailand during 1998-2002 has affected most private architecture offices to restructure. These involved changes in office administration management suited the new economic situation. As a result of decreased business revenues, together with the fierce competition in the industry, many offices that had not prepared for this abrupt change had to downsize, or even eventually closed down. Not were able to continue business through this economic downturn as their office administration management was poor. It was important to consider the office administration management. This was because a lack of an effective management resulted in instability and ineffectiveness of the organizations, which requires remedies if stability is to be achieved. The objectives of this study were to study current directives given in architecture office management today, to study advantages and disadvantages of a variety of management models and the organization structures, and to study the problems that havearisen for improving office operation and management of private architecture offices in the future. An interview based study method was employed. The sample group was selected by using a specified sampling. The sample group was divided into three groups: small-sized offices with the maximum of 10 staff, medium-sized offices with 11-30 staff, and large-sized offices with the minimum of 30 staff. The data were collected by structured questionnaires, and were descriptively analyzed in terms of frequency and percentiles. Based on the study, it was found that there were differences among and within the three groups of offices, depending on attitudes, management strategies, and career experiences. This also included important elements of each organization, namely project profiles, as well as customer and staff members characteristics. When the economic situation improved, all architecture offices expected to more carefully control and limit their expansion by utilizing a joint venture system, part-time staff, contract system, and a decrease of regular expenses in the offices. The utilization of more high technology would also facilitate staffing levels. The findings of this study points out that all architecture offices should be aware and improve the administration management together with the office operation so as to attain their stability and efficiency. Architects themselves should also develop basic skills in management and recognize the importance of this to their career's success. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6153 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1236 |
ISBN: | 9741734611 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1236 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumoltip.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.