Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61530
Title: การผลิตไฮโดรเจนและการขจัดสารมลพิษจากน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยพร้อมกันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง TiO2 ที่เจือด้วยโลหะ
Other Titles: Simultaneous hydrogen production and pollutant removal from biodiesel wastewater using metal-doped TiO2 photocatalyst
Authors: พชรสกล ประยูรพันธุ์รัตน์
Advisors: มะลิ หุ่นสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด
การเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง
Sewage -- Purification
Photocatalysis
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตไฮโดรเจนและการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยพร้อมกันด้วยกระบวนการออกซิเดชันด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เจือโลหะ โดยใช้น้ำเสียที่เจือจาง 3.3 เท่า ความเป็นกรด-เบสเริ่มต้นเท่ากับ 3.10 ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 4 กรัมต่อลิตร ความเข้มแสง 5.93 มิลลิวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร เป็นเวลา 4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 30 องศาเซลเซียส) ส่วนแรกเป็นการศึกษาชนิดของโลหะ (Au Pt Pd และ Ni) ที่เจือลงบนไทเทเนียมไดออกไซด์ในปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก (M1/T400) พบว่าชนิดของโลหะไม่ส่งผลต่อการลดค่าซีโอดี บีโอดี น้ำมันและไขมันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ส่งผลต่อการผลิตไฮโดรเจน โดยกัมมันตภาพในการผลิตไฮโดรเจนของตัวเร่งปฏิกิริยาสามารถเรียงได้ดังนี้ Pt1/T400 > Pd1/T400 > Au1/T400 > Ni1/T400 เนื่องจากผลของความต่างของ Work function ระหว่างโลหะเจือและตัวเร่งปฏิกิริยา T400 ในส่วนที่สองเป็นการศึกษาปริมาณโลหะเจือแพลเลเดียม (ร้อยละ 1 – 4 โดยน้ำหนัก) บนไทเทเนียมไดออกไซด์ (Pdx/T400) พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยา Pd3/T400 มีกัมมันตภาพในการผลิตไฮโดรเจนสูงที่สุด โดยสามารถผลิตไฮโดรเจนได้สูงถึง 135 มิลลิโมลต่อชั่วโมง และลดค่าซีโอดี บีโอดี น้ำมันและไขมันเท่ากับร้อยละ 31.9 81.5 และ 58.2 ตามลำดับ
Other Abstract: This research aimed to study the simultaneous H2 production and pollutant removal from biodiesel wastewater by the photooxidation process via metal-doped TiO2 using wastewater with 3.3-dilution, initial pH of 3.10, photocatalyst dosage of 4 g/L, UV light intensity of 5.93 mW/cm2 and irradiation time of 4 h at ambient temperature (~30°C). Firstly, the different metal nanoparticles (Au, Pt, Pd and Ni) doped on TiO2 photocatalyst at metal content of 1 wt.% (M1/T400) was investigated. It was found that types of doped metal provided insignificantly for the COD, BOD and Oil & grease removal. However, the H2 production rate was enhanced and ranked in order of Pt1/T400 > Pd1/T400 > Au1/T400 > Ni1/T400 due to the different work function between doped metal and T400 photocatalyst. Additionally, the effect of Pd content (1 – 4 wt.%) on T400 photocatalyst (Pdx/T400) was performed. The results revealed that the Pd3/T400 photocatalyst showed the highest photocatalytic activity for hydrogen production (135 mmol/h) and COD, BOD and Oil & grease removal of 31.9%, 81.5% and 58.2%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61530
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.559
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.559
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5972018423.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.