Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61543
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเหมือนเดือน พิศาลพงศ์
dc.contributor.authorปัญญา วีรวัฒกพงศ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-02-26T13:59:35Z
dc.date.available2019-02-26T13:59:35Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61543
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
dc.description.abstractกระดูกอ่อนบริเวณส่วนหัวของปลาประกอบด้วยโปรติโอไกลแคนที่มีคุณสมบัติคล้ายสารกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวหนังที่สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของผิวหนังได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการขึ้นรูปโครงเลี้ยงเซลล์จากไฟโบรอินจากไหม (SF) และเจลาติน (G) โดยมีและไม่มีสารโปรติโอไกลแคน (E) ที่สกัดจากกระดูกอ่อนของปลาและทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ, เคมี และชีวภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ที่เตรียมได้ โดยการขึ้นรูปโครงเลี้ยงเซลล์จากไฟโบรอิน และเจลาตินในอัตราส่วนแตกต่างกันโดยมีและไม่มีโปรติโอไกลแคนเป็นองค์ประกอบโดยใช้เทคนิคการทำแห้งแบบเยือกแข็งปรากฎว่าทุกกลุ่มตัวอย่างสามารถถูกขึ้นรูปได้สำเร็จยกเว้นโครงเลี้ยงเซลล์ SF75G25E ดังนั้นจึงเลือกโครงเลี้ยงเซลล์ SF25G75, SF25G75E, SF50G50 และ SF50G50E มาทำการวิเคราะห์สมบัดิทางกายภาพ ทางเคมีและ ทางชีวภาพ ต่อไป ในด้านสมบัติทางกายภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่นำมาศึกษาทั้งหมดมีโครงสร้างที่มีรูพรุนและมีการเชื่อมต่อของรูพรุนสูง โดยโครงเลี้ยงเซลล์ SF25G75E มีขนาดของรูพรุนใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ โครงเลี้ยงเซลล์ SF25G75 มีความสามารถในการดูดซับน้ำได้สูงกว่าโครงสร้างเซลล์ในกลุ่มอื่นๆ ผลจากการวิเคราะห์โครงเลี้ยงเซลล์ด้วยฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีแสดงให้เห็นว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่มีโปรติโอไกล-แคนเป็นองค์ประกอบมีหมู่ฟังก์ชันเอไมด์และน้ำตาลอยู่ในโครงสร้าง ในด้านคุณสมบัติทางชีวภาพ พบว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่มีโปรติโอไกลแคนส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของเซลล์ไฟโบรบลาสได้สูงกว่าโครงเลี้ยงเซลล์ที่ไม่มีโปรติโอไกลแคนเป็นองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญ แต่รูปแบบการหายของแผลภายนอกร่างกายของโครงเลี้ยงเซลล์ทุกกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สุดท้ายยังพบว่าโปรติโอไกลแคนมีผลในการเพิ่มอัตราการย่อยสลายภาพทางชีวภาพของโครงเลี้ยงเซลล์ให้เร็วขึ้น สรุปได้ว่าโปรติโอไกลแคนที่สกัดจากกระดูกอ่อนของปลาสามารถนำมาผสมในการขึ้นรูปเป็นโครงเลี้ยงเซลล์ได้ และมีแนวโน้มในการนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยส่งเสริมการหายของแผลโดยการเร่งการเพิ่มจำนวนของเซลล์ผิวหนัง 
dc.description.abstractalternativeFish cartilage in head part contains epidermal growth factor-like proteoglycan which can stimulate the growth of skin. the objectives of this study were to fabricate silk fibroin (SF) - gelatin (G) scaffold, with and without fish cartilage extracted proteoglycan (E), and to investigate physical, chemical and biological properties of the scaffolds. The composite scaffolds with different blend ratios, with and without the proteoglycan, were fabricated using freeze drying technique. All scaffolds were successfully prepared except SF75G25E. Therefore, SF25G75, SF25G75E, SF50G50 and SF50G50E scaffolds were further characterized for physical, chemical and biological properties. In terms of physical properties, these scaffolds showed porous structures with high pore interconnectivity. SF25G75E scaffold had the largest average pore size. Furthermore, SF25G75 scaffolds had significantly higher water swelling ability than the others. Results from Fourier transform infrared spectroscopy assay showed that the fabricated scaffold containing the extracts had amide and sugar functional group. Regarding biological properties, the scaffold with proteoglycan promoted significantly higher fibroblast cell proliferation rate than those without it. However, the in vitro wound healing was not significantly different with respect to wound closure among all groups. Lastly, the proteoglycan increased biodegradration rate of the scaffold. In conclusion, proteoglycan from fish cartilage was successfully fabricated as the scaffold and had the potential to be used for promoting wound healing by increasing fibroblast cell proliferation. 
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1320-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subjectแผลไหม้
dc.subjectการสมานแผล
dc.subjectโปรตีโอไกลแคน
dc.subjectวัสดุทางการแพทย์
dc.subjectBurns and scalds
dc.subjectWound healing
dc.subjectProteoglycans
dc.subjectBiomedical materials
dc.subject.classificationEngineering
dc.titleการสกัดและประยุกต์ใช้สารโปรติโอไกลแคนจากกระดูกอ่อนของปลาเพื่อเร่งการหายของบาดแผลไหม้
dc.title.alternativeExtraction and Application of Proteoglycan from Fish Cartilage for the Treatment of Burn Wounds
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมชีวเวช
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keywordPROTEOGLYCAN
dc.subject.keywordFISH CARTILAGE
dc.subject.keywordBURN WOUNDS
dc.subject.keywordSILK FIBROIN
dc.subject.keywordGELATIN
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1320-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670278621.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.