Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61545
Title: | การศึกษาสมบัติเชิงกลและความสามารถในการเจียระไนของวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์ |
Other Titles: | Study of the mechanical properties and grinding ability of Al2O3-TiC composite materials |
Authors: | กมลพัชร ศรีทอง |
Advisors: | ธาชาย เหลืองวรานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | วัสดุเชิงประกอบ วัสดุ -- การทดสอบ วัสดุ -- การทดสอบทางพลศาสตร์ Composite materials Materials -- Testing Materials -- Dynamic testing |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสมบัติของวัสดุ และความสามารถในการเจียระไนของวัสดุผสมอะลูมินา-ไทเทเนียมคาร์ไบด์ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นส่วนรองรับในหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ การศึกษาสมบัติของวัสดุประกอบด้วยสมบัติเชิงกล ได้แก่ ความแข็ง ความต้านทานการแตกหัก ความต้านทานการดัดโค้ง และสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน และสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความหนาแน่น สัมประสิทธิ์การขยายตัวทางความร้อน และสภาพการนำไฟฟ้า โดยศึกษาวัสดุผสม 4 ชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันของโครงสร้างจุลภาคและปริมาณความเค้นคงค้าง วัสดุเกรนหยาบมีขนาดเกรนเฉลี่ย 0.570-0.577 ไมโครเมตร และวัสดุเกรนละเอียดมีขนาดเกรนเฉลี่ย 0.386-0.397 ไมโครเมตร ปริมาณความเค้นคงค้างศึกษาด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ จากการศึกษาสมบัติของวัสดุพบว่าโครงสร้างจุลภาค ขนาดเกรน และการกระจายตัวของเฟสไทเทเนียมคาร์ไบด์ ส่งผลต่อความต้านทานการแตกหัก ความต้านทานการดัดโค้ง และสภาพการนำไฟฟ้า สำหรับความแข็งขึ้นอยู่กับปริมาณความเค้นคงค้างภายในวัสดุ และจากการศึกษาความสามารถในการเจียระไน ซึ่งพิจารณาจากพลังงานจำเพาะในการเจียระไนและการสึกหรอของล้อเจียระไน พบว่าวัสดุผสมเกรนหยาบที่มีความเค้นคงค้างสูงมีความสามารถในการเจียระไนต่ำที่สุด เนื่องจากมีพลังงานจำเพาะในการเจียระไนและการสึกหรอของล้อเจียระไนสูง โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อพลังงานจำเพาะในการเจียระไน ได้แก่ พารามิเตอร์ในกระบวนการเจียระไน และสมบัติของวัสดุ ซึ่งความแข็งและความต้านทานการแตกหักส่งผลโดยตรงต่อพลังงานจำเพาะในการเจียระไน และสำหรับความเค้นคงค้างในวัสดุไม่มีนัยสำคัญต่อการเจียระไน |
Other Abstract: | This research studies material properties and grinding ability of Al2O3-TiC composite materials that used in hard disk drive as a substrate of read-write head. Study of material properties consist of the mechanical properties are measured by Vickers hardness, fracture toughness, flexural strength and coefficient of friction. For physical properties are measured by density, coefficient of thermal expansion and electrical conductivity. Samples with four different of microstructure and residual stress. Coarse grained materials with an average grain size of 0.570-0.577 micron and fine grained materials with an average size of 0.386-0.397 micron. Residual stress on the surface of wafers are measured using X-ray diffraction method. The experiment results show that microstructure, grain size and distribution of TiC particles have effect on fracture toughness, flexural strength and electrical conductivity. Hardness depends on the type and level of the residual stress. Specific grinding energy and wheel wear are parameter for characterizing the grinding ability. Coarse grained materials with high residual stress result in highest specific grinding energy and thickness loss of wheel wear. Therefore, specific grinding energy correlates with process parameter and material properties, especially hardness and brittleness index while the residual stress has no significant influence to the grinding ability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโลหการและวัสดุ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61545 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.932 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.932 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770103521.pdf | 10.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.