Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61579
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิตติชัย รุจนกนกนาฏ | - |
dc.contributor.author | ทรงพร สุวัฒิกะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-02-26T14:06:53Z | - |
dc.date.available | 2019-02-26T14:06:53Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61579 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์และออกแบบระบบการขนส่งให้กับผู้สูงอายุเพื่อการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาคือชุมชนในเขตวังทองหลางและชุมชนในตำบลบึงยี่โถ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศูนย์กิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ งานวิจัยนี้แบ่งการสำรวจเป็น 2 ขั้นตอน โดยขั้นแรกเป็นการสำรวจพฤติกรรมการเดินทาง การเลือกรูปแบบการบริการขนส่ง และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลจากการสำรวจขั้นแรกนำไปสู่แบบสอบถามการจำลองสถานการณ์การเลือกระบบขนส่งภายในชุมชน โดยทำการสอบถามกับผู้สูงอายุรวม 400 ท่าน โดยระบบขนส่งที่ผู้สูงอายุต้องการมีรูปแบบการบริการที่คล้ายกัน โดยทั้งสองชุมชนต้องการการบริการขนส่งที่มีตารางเวลาที่แน่นอน ต้องการค่าโดยสารที่มีราคาต่ำ ส่วนรูปแบบรถแตกต่างกันออกไป ชุมชนวังทองหลางซึ่งอยู่ในเขตเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำ สนใจรถสี่ล้อเล็ก ส่วนชุมชนบึงยี่โถซึ่งเป็นชุมชนชานเมือง ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำเช่นเดียวกัน สนใจรถกอล์ฟและนำผลจากการสำรวจมาวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นเพื่อหาปริมาณการเดินทางในแต่ละระบบขนส่ง และผลจากแบบจำลองพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกระบบขนส่งภายในชุมชนที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับชุมชนในเขตเมืองได้แก่ เพศหญิง รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถบริการ และค่าโดยสาร ส่วนชุมชนชานเมืองได้แก่ เพศหญิง อายุ รายได้ ระยะการเดินทาง รูปแบบการเดินรถ รูปแบบรถ และค่าโดยสาร และผลจากการสำรวจนี้สามารถนำมาใช้ประมาณการต้นทุนและรายรับที่คาดว่าจะเกิดขึ้น สามารถหาระบบขนส่งที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุภายในชุมชน ทั้งนี้หน่วยงานที่ดูแลผู้สูงอายุสามารถนำมาวางแผนและเตรียมงบประมาณในการสนับสนุน หรือเป็นข้อเสนอแนะในการวางแผนการจัดระบบขนส่งที่มีความยั่งยืนให้กับชุมชน และงานวิจัยนี้จะเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis focuses on the analysis and design of transportation system for elderly persons to participate in local activities. The study areas include communities in Wangthonglang and Bungyitho where each has its own senior citizen center and tries to facilitate transportation service for elderly persons in its community to join their services. The study has two survey steps. First, pilot survey of elderly persons’ travel demand and characteristics were collected along with the interview of center officers. The data from this survey were used to create the questionnaire for simulating of transport system selection in the community from the broader sample of 400 elderly persons totally. It was found that two communities require similar transport service with a fixed schedule, lowest possible fare; however, the preferred vehicle types are different. The results of the survey were analyzed with linear regression model to determine the transportation demand for each transport system. The result shows that factors significantly affecting their travel decision are: gender, income, distance, route type, vehicle type and fare for urban community and another factor for suburb area is age. The findings can be further used to estimate fare revenue and expected cost if the systems were implemented and finding optimal transport system for the elderly persons. Finally, this research will be used as a model for other communities in surveying elderly transport demand and planning transport system as well. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1206 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | - |
dc.subject | การขนส่ง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | - |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
dc.subject | Older people | - |
dc.subject | Transportation -- Thailand -- Bangkok | - |
dc.subject | Consumer behavior | - |
dc.subject.classification | Engineering | - |
dc.title | การออกแบบระบบขนส่งผู้สูงอายุเพื่อกิจกรรมในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนวังทองหลางและบึงยี่โถ | - |
dc.title.alternative | Design of elderly transport system for community activities : a case study of communities in Wangthonglang and Bueng yitho | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | การขนส่งผู้สูงอายุ | - |
dc.subject.keyword | พฤติกรรมการเดินทาง | - |
dc.subject.keyword | ระบบขนส่งสาธารณะ | - |
dc.subject.keyword | ELDERLY TRANSPORT | - |
dc.subject.keyword | TRAVEL BEHAVIOR | - |
dc.subject.keyword | PUBLIC TRANSPORT | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1206 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5970435021.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.