Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6163
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว-
dc.contributor.authorผณินทรา ธีรานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-03-06T06:40:53Z-
dc.date.available2008-03-06T06:40:53Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743464581-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6163-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาว่าหน่วยจังหวะมีอิทธิพลต่อสัทลักษณะของวรรณยุกต์ในคำพูดต่อเนื่องภาษาไทยหรือไม่ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้จัดรายการวิทยุ เพศหญิง อายุระหว่าง 26-30 ปี จำนวน 3 คน โดยไม่แจ้งให้ผู้บอกภาษาทราบล่วงหน้า หลังจากนั้นผู้วิจัยขอให้ผู้บอกภาษาออกเสียงคำในคำชุดทดสอบเสียงวรรณยุกต์ 2 ชุด คือ ชุดคำพยางค์เป็นและชุดคำพยางค์ตาย การวิเคราะห์เบื้องต้นทำโดยการฟังเพื่อจำแนกโครงสร้างหน่วยจังหวะ พยางค์เด่นและพยางค์ด้อย หลังจากนั้นผู้วิจัยเลือกพยางค์จำนวน 5 พยางค์ เพื่อเป็นตัวแทนของแต่ละหน่วยเสียงวรรณยุกต์ในบริบทต่างๆ ที่ศึกษา ได้แก่ พยางค์เด่นในหน่วยจังหวะ 1 พยางค์ พยางค์เด่นในหน่วยจังหวะ 2 พยางค์ พยางค์เด่นในหน่วยจังหวะ 3 พยางค์ พยางค์ด้อยในหน่วยจังหวะ 2 พยางค์ พยางค์ด้อยพยางค์แรกในหน่วยจังหวะ 3 พยางค์ และพยางค์ด้อยพยางค์ที่สองในหน่วยจังหวะ 3 พยางค์ ผู้วิจัยวิเคราะห์ค่าความถี่มูลฐานของทุกพยางค์ที่เลือกมาศึกษาด้วยโปรแกรม WINCECIL ประมวลผลพร้อมทั้งวาดกราฟด้วยโปรแกรม EXCEL และวิเคราะห์ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสัทลักษณะของวรรณยุกต์ที่ปรากฏในหน่วยจังหวะแบบต่างๆ ด้วยโปรแกรม WINPSY 0602 2000 (School of Psychology, University of New South Wales) ในการนำเสนอ ผู้วิจัยแบ่งหน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐาน 5 หน่วยเสียงออกเป็น 2 กลุ่ม คือ วรรณยุกต์ระดับ (วรรณยุกต์สามัญ วรรณยุกต์เอก และวรรณยุกต์ตรี) และวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (วรรณยุกต์โทและวรรณยุกต์จัตวา) ผลการวิจัยพบว่า ในกรณีของพยางค์เด่น หน่วยจังหวะมีอิทธิพลต่อการแปรของสัทลักษณะของวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับในคู่บริบทส่วนใหญ่ และมีอิทธิพลน้อยต่อการแปรของสัทลักษณะของวรรณยุกต์ระดับ ในกรณีของพยางค์ด้อย หน่วยจังหวะมีอิทธิพลน้อยต่อทั้งการแปรของสัทลักษณะของวรรณยุกต์ระดับและวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ผู้วิจัยพบว่ามีข้อยกเว้นที่น่าสนใจบางประการ คือ วรรณยุกต์ตรีที่ปรากฏในพยางค์ตายสระเสียงสั้นในหน่วยจังหวะ 2 พยางค์ และ 3 พยางค์ แตกต่างจากกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งในพยางค์เด่นและพยางค์ด้อย และหน่วยจังหวะมีอิทธิพลมากต่อการแปรของสัทลักษณะของวรรณยุกต์โทที่ปรากฏในพยางค์เป็นในบริบทต่างๆ แต่มีอิทธิพลน้อยต่อการแปรของสัทลักษณะของวรรณยุกต์จัตวาในบริบทต่างๆen
dc.description.abstractalternativeThis study aims at investigating whether rhythmic units influence tonal realizations in Thai connected speech. The informants in this study are three 26 to 30-year-old radio announcers. Their speech is recorded prior to informing them about this study. They are then asked to read 2 sets of tone checklist. The data are first analysed auditorily to indentify rhythmic units, salient syllables, and weak syllables. For each tone, five tokens are selected for each of the following contexts: salient syllable in one-syllable rhythmic unit, salient syllable in two-syllable rhythmic unit, salient syllable in three-syllable rhythmic unit, weak syllable in two-syllable rhythmic unit, the first weak syllable in three-syllable rhythmic unit, and the second weak syllable in three-syllable rhythmic unit. The fundamental frequency value of all of the tokens are analysed and recorded using WINCECIL and EXCEL. Line graphs are drawn. Tonal realizations in the different contexts are analysed statistically using WINPSY 0602 2000(School of Psychology, University of New South Wales). In the presentation of result, the five standard Thai tones are divided into two groups: level tones (mid, low, and high) and contour tones (falling and rising). The study finds that in the case of salient syllables, rhythmic units significantly influence the tonal realizations of contour tones in most contexts, but they do not have the same effect on level tones. In the case of weak syllables, rhythmic units significantly influence tonal realizations in either level or contour tones. However, there are a few interesting exceptions in both salient an dweak syllables. Tonal realizations of the high tone in short checked syllables differ significantly when ocurring in two-and three-syllable rhythmic units. The falling tone differs markedly from the rising tone. While the rhythmic units significantly influence the variation of the falling tone in unchecked syllables in most contexts, they have much less influence on the rising tone.en
dc.format.extent5473349 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.195-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย -- สัทศาสตร์en
dc.subjectภาษาไทย -- วรรณยุกต์en
dc.subjectภาษาไทย -- การออกเสียงen
dc.titleหน่วยจังหวะกับการแปรของวรรณยุกต์ในคำพูดต่อเนื่องภาษาไทยen
dc.title.alternativeRhythimc unit and tonal variation in Thai connected speechen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorkalaya.t@chula.ac.th, kalaya@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.195-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phanintra.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.