Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6170
Title: การเฝ้าระวังการดื้อยาของซาลโมเนลล่าในสุกร : รายงานการวิจัย
Other Titles: Monitoring of antimicrobial resistant Salmonella isolated from swine
Authors: ธงชัย เฉลิมชัยกิจ
Email: Thongchai.C@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: การดื้อยา
ซาลโมเนลลา
สุกร
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการตรวจตัวอย่างอุจจาระสุกรของเกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงแบบหลังบ้านในชนบท (อุจจาระสุกรชนบท) จำนวน 114 ตัวอย่าง ตัวอย่างอุจจาระสุกรฟาร์มที่เลี้ยงในระบบอุตสาหกรรม (อุจจาระสุกรฟาร์ม) จำนวน 772 ตัวอย่าง ตัวอย่างเนื้อสุกรจากซุปเปอร์มาร์เก็ต (เนื้อสุกรธรรมดา) จำนวน 154 ตัวอย่าง และ ตัวอย่างเนื้อสุกรที่ได้มาจากการเลี้ยงในโรงเรือนปลอดเชื้อและจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ต (เนื้อสุกรอนามัย) จำนวน 39 ตัวอย่าง พบเชื้อซาลโมเนลล่า 6.1, 3.1, 77.9 และ 82.1% ตามลำดับ แสดงว่าน่าจะมีการปนเปื้อนเชื้อซาลโมเนลล่าสูงมากบนเนื้อสุกรในขั้นตอนการฆ่า การขนส่ง และ/ หรือตัดแต่งเนื้อ ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงสุขศาสตร์ในขั้นตอนจากโรงงานฆ่าสัตว์ถึงการจำหน่ายในตลาดและซุปเปอร์มาร์เก็ต ทั้งนี้ซีโรวาร์ที่พบบ่อยได้แก่ Salmonella Anatum, S. Rissen, S. Panama, S. Derby, S. Agona, S. Typhimurium, S. Worthington, S. Schwarzengrund, S. Hadar, S. Stanley และ S. Albany โดยอัตราการดื้อต่อยา Ampicillin, Chloramphenicol, Kanamycin, Nitrofurantoin, Tetracycline, Nalidixic acid, Ciprofloxacin, Furazolidone, Sulfamethoxazole และ Sulfamethoxazole + Trimethoprim ของเชื้อซาลโมเนลล่าที่แยกได้จากตัวอย่างอุจจาระสุกรชนบทเท่ากับ 0, 14.3, 14.3, 0, 28.6, 14.3, 28.6, 0 และ 0% ตามลำดับ แต่เชื้อที่แยกได้จากอุจจาระสุกรฟาร์มมีอัตราการดื้อยาที่ค่อนข้างสูงคือ 77, 16.7, 25, 4.2, 95.8, 45.8, 20.8, 4.2, 70.8 และ 6.7% ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับเชื้อที่แยกได้จากเนื้อสุกรธรรมดาเท่ากับ 55.8, 16.7, 3.3, 4.2, 72.5, 33.3, 2.5, 0, 55.8 และ 51.7% ตามลำดับ และเชื้อที่แยกได้จากเนื้อสุกรอนามัยเท่ากับ 59.4, 34.4, 15.6, 0, 81.3, 37.5, 0, 0, 62.5 และ 43.8% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อที่แยกได้จากอุจจาระสุกรฟาร์มและบนเนื้อสุกรธรรมดาและเนื้อสุกรอนามัยมีรูปแบบการดื้อต่อยา 4 ชนิดขึ้นไปเท่ากับ 70.8, 56.3 และ 46.7% ตามลำดับ สูงกว่าเชื้อที่แยกได้จากอุจจาระสุกรชนบทซึ่งดื้อต่อยา 4 ชนิดขึ้นไปเพียง 14.3% แสดงว่าการใช้ยาต้านจุลชีพในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรมีผลทำให้เกิดอัตราการดื้อต่อยาสูงขึ้น ดังนั้นจึงควรมีการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรอบคอบและเหมาะสมเพื่อป้องกันหรือชะลอปัญหาการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรีย และทำให้สามารถใช้ยาต้านจุลชีพที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิผลได้ยาวนานออกไป
Other Abstract: Rectal swab samples of 114 pigs from rural area (Rural-Pigs) and 772 pigs from industrialized farms (Farm-Pigs), including 154 pork samples from supermarkets (Regular-Porks) and 39 pork samples which originated from specific-free pathogens farm and sold in supermarkets (SPF-Porks) were examined for Salmonella. The results Found Salmonella 6.1, 3.1, 77.9, and 82.1%, respectively. The causes of contamination of Salmonella on pork should be from impropered slaughtering process, transportation, cutting and handling. Therefore, it should be improve slaughter-house hygiene, proper transportation as well as cutting and handling processes. Salmonella Anatum, S. Rissen, S. Panama, S. Derby, S. Agona, S. Typhimurium, S. Worthington, S. Schwarzengrund, S. Hadar, S. Stanley, and S. Albany were frequenty found serovars in this study. The antimicrobial resistance of Salmonella isolates were tested with Ampicillin, Chloramphenicol, Kanamycin, Nitrofurantoin, Tetracycline, Nalidixic acid, Cipro-floxacin, Furazolidone, Sulfamethoxazole, and Sulfamethoxazole+Trimethoprim. Salmonella isoltes from Rural-Pigs were found 0, 14.3, 14.3, 0, 28.6, 28.6, 14.3, 28.6, 0, and 0%, respectively. Salmonella isoltes from Farm-Pigs were found higher resistances which were 77, 16.7, 25, 4.2, 95.8, 45.8, 20.8, 4.2, 70.8, and 6.7%, respectively. As well as, Salmonella isoltes from Regular-Porks were found 55.8, 16.7, 3.3, 4.2, 72.5, 33.3, 2.5, 0, 55.8, and 51.7%, respectively; and Salmonella isoltes from SPF-Porks were found 55.8, 16.7, 3.3, 4.2, 72.5, 33.3, 2.5, 0, 55.8, and 51.7%, respectively. Besides, multiple-drug resistance ([is more than or equal to] 4 antimicrobial drugs) of Salmonella isolated from Farm-Pigs, Regular-Porks, and SPF-Porks were found 70.8, 56.3, and 46.7%, respectively. While multiple-drug resistance of Salmonella isolated from Rural-Pig was only 14.3%. The non-prudent use of antimicrobial drugs in pig producers has caused antimicrobial resistance pathogens. Therefore, the judicious use of antimicrobial drugs must be concerned to prevent or delay the problem of emerging antimicrobial resistance pathogens and prolong the use of present antimicrobial drugs.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6170
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thongchai_swine.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.