Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61703
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตราภา หิมะทองคำ
dc.contributor.advisorศิรินันท์ ธนิตยวงศ์
dc.contributor.advisor
dc.contributor.authorศรีสุดา วงศ์เยาวรักษ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2019-05-08T08:30:25Z
dc.date.available2019-05-08T08:30:25Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745614734
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61703
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en_US
dc.description.abstractการประกันชีวิตเป็นธุรกิจหนึ่งที่มีบทบาทมากในสังคม เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งที่มาจากเงินทุนระยะยาวในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังเป็นสถาบันที่ให้ความคุ้มครองแก่ประชาชน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นแก่ครอบครัว เมื่อหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตหรือในยามที่เกิดทุพพลภาพโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังช่วยปลูกฝังให้เกิดความรัก และความรู้สึกรับผิดชอบต่อครอบครัว ฉะนั้นการปลูกฝังทัศนคติที่ดีของคนไทยต่อธุรกิจประกันชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีเจตนาที่จะศึกษาถึงลักษณะการดำเนินงานและการจัดการด้านการเงินของอุตสาหกรรมการประกันชีวิต ตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อรัฐบาลในการควบคุมและส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงและเจริญก้าวหน้าในธุรกิจนี้ และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทประกันชีวิตโดยศึกษาถึงบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการและจดทะเบียนในประเทศทั้งหมด 11 บริษัท แยกเป็นบริษัทประกันชีวิตจดทะเบียนในประเทศ 9 บริษัท บริษัทประกันชีวิตสาขาต่างประเทศ 2 บริษัท นอกจากนี้ศึกษาถึงแห่งที่มาและใช้ไปของเงินทุนและการควบคุมการลงทุนของรัฐบาลภายใต้กฎกระทรวงต่างๆ ประวัติของการประกันชีวิตในประเทศไทย เริ่มมีการควบคุมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2472 และ พ.ศ. 2473 มีบริษัทปรกันภัยต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ดำเนินการประกันชีวิตในประเทศไทยถึง 5 บริษัท และต่อมาเมื่อเกิดสงคราม บริษัทประกันชีวิตต่างประเทศทั้ง 5 แห่ง ได้หยุดประกอบการประกันชีวิตในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสให้คนไทยริเริ่มทำการประกันชีวิตขึ้นครั้งแรก พ.ศ. 2485 มี 2 บริษัท คือบริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด และบริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด สำหรับทุนจดทะเบียนเริ่มแรกไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ปัจจุบันนี้กำหนดให้บริษัทประกันชีวิตที่จะตั้งขึ้นใหม่จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ทั้งนี้แสดงว่ารัฐบาลได้พยายามควบคุมธุรกิจประกันชีวิตมิให้มีมากขึ้น โดยไม่มีทุนสำรองไว้ เพื่อความมั่นคงของกิจการประกันชีวิต ซึ่งมีความรับผิดชอบต่อผู้เอาประกัน จึงกำหนดทุนจดทะเบียนไว้สูงดังกล่าว ในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของธุรกิจประกันชีวิต ปรากฏว่าอุตสาหกรรมประกันชีวิตมีการดำรงสภาพคล่องในอัตราค่อนข้างสูง กล่าวคือโดยเฉลี่ยปี พ.ศ. 2518-2522 เท่ากับ 3.29 โดยมีบริษัทประกันชีวิตในประเทศดำรงสภาพคล่องสูงกว่าบริษัทประกันชีวิตสาขาต่างประเทศเล็กน้อย ทางด้านนโยบายการจัดหาเงินทุนอุตสาหกรรมนี้มีนโยบายการใช้เงินทุนจากหนี้สินสูงมาก โดยเฉลี่ยปี พ.ศ. 2518-2522 เท่ากับ 96 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทประกันชีวิตในประเทศดำเนินนโยบายการใช้เงินทุนจากหนี้สินสูงกว่าบริษัทประกันชีวิตสาขาต่างประเทศ กล่าวคือในประเทศเท่ากับ 98 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สาขาต่างประเทศ เท่ากับ 89 เปอร์เซ็นต์ ส่วนทางด้านอัตราการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ พบว่าบริษัทประกันชีวิตในประเทศดำรงสินทรัพย์ประจำไว้ในอัตราสูงกว่าบริษัทประกันชีวิตสาขาต่างประเทศ เช่นมีนโยบายการลงทุนสูงในอาคารที่ทำการ เป็นต้น ดังนั้นบริษัทประกันชีวิตในประเทศจึงมีการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ประจำยังไม่เต็มที่เท่ากับบริษัทประกันชีวิตสาขาต่างประเทศ ส่วนทางด้านประสิทธิภาพในการหากำไร บริษัทประกันชีวิตสาขาต่างประเทศสามารถหาผลตอบแทนได้ในอัตราที่สูงกว่าบริษัทประกันชีวิตในประเทศ จากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของที่มาและการใช้เงินทุน ปรากฏว่าบริษัทประกันชีวิตมีแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ได้จากเงินสำรอง ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนระยะยาว โดยใช้ไปในการลงทุนระยะยาวเป็นส่วนใหญ่และเหมาะสมตามนโยบายการเงินที่ดี กล่าวคือการนำเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาวเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ประจำ และสินทรัพย์ระยะยาวตลอดจนการนำเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมประกันชีวิตโดยส่วนรวมมีการจัดหาเงินทุน และการใช้เงินทุนซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ดี สำหรับทางด้านกฎกระทรวงเกี่ยวกับการลงทุนของรัฐในปัจจุบันมีข้อกำหนดบางอย่างซึ่งก่อให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติ ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและเอื้ออำนวยต่อการลงทุนอีกด้วย กล่าวคือ ในการปรับปรุงแก้ไขหรือออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ควรจะให้ส่วนราชการในหน่วยงานนี้ คือ สำนักงานประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ร่วมพิจารณาปัญหาปัญหากับบริษัทประกันชีวิต เพื่อจะได้เห็นถึงปัญหาต่างๆ กว้างขวางขึ้น อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าสืบต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeLife assurance plats a significant role in any economy and society. As a financial institution, it is the sources of long-term capital funds that can be utilized for the economic development through both private and public sectors. As a social security haven, it contributes a great deal of social services by offering family’s financial protection to the public, i.e. protecting family’s income if the breadwinner dies or is disable. Therefore, it is a must for the government to control this industry for the best interest of the public and build good public attitude toward life assurance. One of the most critical sections of this business that the government always keeps its eyes on is investment management of life assurance companies. The purpose of this thesis is first to study the characteristics, criteria and problems of financial management of life assurance companies in Thailand. The results are hoped to be supporting information for the government in controlling and promoting life assurance industry. Then, financial ratios of eleven life assurance companies; i.e. nine local and two foreign branches, are discussed and analyzed. The remaining of the thesis is devoted to study the sources and uses of funds and the roles of the regulatory body in controlling the used of funds. The history of life assurance industry in Thailand shows the development of government regulation. The first regulation was proclaimed in 1929. One year after, five foreign companies were granted to open their branches in Thailand. Their operation seemed so far satisfied until there were forced to close down by the breakout of World War II. Two local companies, Thai Life and Thai Sethakit were then established in 1942. During that period the government regulation required only five million baht of registered capital. It jumps up to 100 million baht nowsaday because the government wants to limit the number of life assurance firms as well as to make sure that the newly established company has enough liquidity for its operation. The second part of the thesis is the analysis of financial ratios during the period of 1975-1979 and it shows that average liquidity ratio of whole industry was relatively high, i.e. 3.29. Local companies tended to hold a little higher liquidity than foreign companies. It also shows that the main portion of investment funds came from liabilities which consisted of 96% of total funds. While 98% of local companies’ funds were liabilities, foreign companies’ ratio was only 89%. Another finding in this analysis indicates that local companies’ fixed assets ratio was higher than foreign companies’. This indication reflected the policy of local firms in using higher portion of the funds in fixed assets such as offices building, and resulting in less effective utilization of the funds. It therefore shows that the rate of return on investments of foreign companies was higher than local counterparts. The study of the relationship between sources and uses of funds in the latter part of this thesis shows that the main sources of funds come from life insurance policy reserves which are the long-term commitment between the companies and policyholders. Therefore the funds could be efficiently used in long-term and fixed assets investment. This finding indicated that life assurance companies have more advantage than any other financial institutions in allocating funds for long-term and short-term projects. The analysis concludes that the management of sources and used of funds of life assurance industry as a whole met the criteria of efficient investment. The thesis also finds that the government regulation creates constraints that obstruct the efficient utilization of investment of life assurance business. The regulation should be revised in order to stimulate the investment efficiency. Before doing so, the office of Insurance commissioner, Ministry of Commerce, which is the regulatory body of insurance industry, should discuss the maters with life assurance companies in studying all problems and finding the best solutions for the best interest of the industry and the public.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectประกันชีวิตen_US
dc.subjectบริษัทประกันภัยen_US
dc.subjectบริษัท -- การเงินen_US
dc.subjectสถาบันการเงิน -- การจัดการen_US
dc.subjectLife insuranceen_US
dc.subjectInsurance companiesen_US
dc.subjectCorporations -- Financeen_US
dc.subjectFinancial institutions -- Managementen_US
dc.titleการจัดการด้านการเงินของบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeFinancial management of life assurance companies in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบัญชีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisuda_Vo_front.pdf417.07 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_ch1.pdf247.07 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_ch2.pdf657.16 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_ch3.pdf768.88 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_ch5.pdf906.38 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_ch6.pdf717.64 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_ch7.pdf328.14 kBAdobe PDFView/Open
Srisuda_Vo_back.pdf589.44 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.