Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6171
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดวงเดือน อ่อนน่วม | - |
dc.contributor.author | วารี ถิระจิตร | - |
dc.contributor.author | รุจิระ สุภรณ์ไพบูลย์ | - |
dc.contributor.author | พิตรวัลย์ โกวิทวที | - |
dc.contributor.author | ดาริกา ยศวัฒน | - |
dc.contributor.author | มลิวัลย์ ลับไพรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-03-06T09:40:05Z | - |
dc.date.available | 2008-03-06T09:40:05Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6171 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะสร้างรูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา โดยใช้โปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษที่สร้างขึ้นในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) เป็นตัวแบบ วิธีดำเนินการ: การวิจัยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ 1. สร้างรูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา โดยใช้หลักการ/แนวคิดที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กสามารถพิเศษ เป็นแนวทางในการสร้าง 2. ทดลองรูปแบบที่สร้างขึ้นในข้อ 1 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) โดยคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมในโปรแกรมได้ 9 คน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบส่งเสริมการเรียน (enrichment activities) รวมทั้งหมด 13 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ในเวลาเย็นหลังเลิกเรียนแล้ว คือ เวลา 15.30 -16.30 น. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองรูปแบบได้แก่ แบบสอบสมรรถภาพทางสมอง Standard Progressive Matrices ของ Raven แบบสอบการคิดอย่างสร้างสรรค์ Torrance Test of Creative Thinking ของ Torrance แบบสอบถามครู แบบสอบถามผู้ปกครอง แบบสอบถามนักเรียน แบบสำรวจตนเองของนักเรียน และแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียน 3. สังเคราะห์รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษตามหลักการ/แนวคิด และการทดลองในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประดม เข้าด้วยกัน แล้วสร้างเป็นรูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา) ผลการวิจัย: 1. ได้รูปแบบโปรแกรมการศึกษาตามหลักการ/แนวคิด ด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษ 2. จากการทดลองรูปแบบโปรแกรมในโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) ผลการประเมินโปรแกรมสรุปได้ดังนี้ 2.1 สถานที่นักเรียนทุกคนพอใจสภาพห้องเรียนมาก 2.2 ระยะเวลา นักเรียนทุกคนเห็นว่าการเรียนสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง ตลอดภาคการศึกษาเหมาะสมดีแล้ว ส่วนผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นว่า ทุกอย่างเหมาะสมเช่นกัน ยกเว้นมีผู้ปกครอง 1 คน เห็นว่าควรเพิ่มเป็นเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และควรเรียนตลอดปี และมีผู้ปกครอง 3 คนเห็นว่า ควรขยายเวลาเป็น สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง ครึ่ง หรือ 2-3 ชั่วโมง 2.3 ลักษณะของโปรแกรม จากลักษณะของโปรแกรมที่ถาม 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบเรียนพร้อม ๆ กันเป็นกลุ่มเล็กประมาณ 10 คน แบบเรียนตัวต่อตัวกับอาจารย์ในวิชาที่สนใจ และแบบแยกนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-3 คน แล้วเรียนวิชาที่สนใจร่วมกัน พบว่าแบบสุดท้ายเป็นแบบที่มีนักเรียนชอบมากที่สุด 2.4. ความเหมาะสมของนักเรียนในโปรแกรม นักเรียน 3 คน เห็นว่าตนเองเหมาะสมที่จะอยู่ในโปรแกรม อีก 8 คน เห็นว่าเหมาะสมปานกลาง ส่วนอาจารย์ประจำชั้นเห็นว่านักเรียน 8 คน เหมาะสมมากที่อยู่ในโปรแกรมส่วนอีก 1 คน เหมาะสมปานกลาง 2.5. ด้านการเรียนการสอน นักเรียนทุกคนพอใจการเรียนการสอนในระดับมาก ส่วนผู้ปกครอง 2 คน มีความพอใจระดับมาก และ 6 คน พอใจระดับปานกลาง 2.6 ลักษณะของกิจกรรมที่นักเรียนชอบ นักเรียนชอบกิจกรรมที่มีลักษณะแปลกใหม่ ไม่เคยพบเห็นในชั้นเรียน เรียนสนุกเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้คิดและได้ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ได้ความรู้ทางวิชาการ เช่น คิดคำนวณได้ รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 2.7 การนำบทเรียนไปใช้ นักเรียนส่วนใหญ่ คือ 6 คน เคยได้มีโอกาสนำเรื่องที่เรียนไปใช้ ได้แก่ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ การสร้างงานศิลปะโดยอาศัยหลักคณิตศาสตร์ การใช้เครื่องคิดเลข 2.8 ประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ปกครอง 3 คน เห็นว่านักเรียนได้รับประโยชน์มากจากการเข้าร่วมในโปรแกรมอีก 5 คน เห็นว่าได้รับประโยชน์ปานกลาง ส่วนอาจารย์ประจำชั้นเห็นว่านักเรียนได้รับประโยชน์มาก อีก 2 คน เห็นว่าได้รับประโยชน์ปานกลาง 2.9 ความต้องการเข้าร่วมในโปรแกรม หากโรงเรียนจัดกิจกรรมเช่นนี้อีก นักเรียนทุกคนต้องการเข้าร่วมในโปรแกรมอีก ผู้ปกครองทุกคนก็ต้องการให้บุตรหลานเข้าร่วมในโปรแกรมอีกเช่นเดียวกัน 3. การสังเคราะห์รูปแบบโปรแกรมฯ ตามหลักการ/แนวคิดกับการทดลองเข้าด้วยกัน ทำให้ได้รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา | en |
dc.format.extent | 4861866 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาพิเศษ | en |
dc.title | รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กสามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา : รายงานการวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Duangduen.O@chula.ac.th | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangduen.pdf | 5.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.