Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61826
Title: การเพิ่มค่าความร้อนของเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทางใบและเปลือกนอกต้นปาล์มน้ำมัน
Other Titles: Heating value enhancement of fuel pellets from frond and trunk of oil palm
Authors: กฤติย์ภรณ์ ตรังคประสิทธิ์
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th,Orathai.c@chula.ac.th
Subjects: พลังงานชีวมวล
ปาล์มน้ำมัน
Biomass energy
Oil palm
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเพิ่มค่าความร้อนของเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทางใบปาล์มและเปลือกนอกต้นปาล์มด้วยการแปรผันวัสดุประสาน 4 ชนิดได้แก่ ของเสียกลีเซอรอล แป้งเปียก น้ำกากส่าและตะกอนกลีเซอรอล อัตราส่วนในการผสม ปริมาณวัสดุ 4 ค่าตั้งแต่ร้อยละ 50 ถึง 80 ปริมาณน้ำ 3 ค่า ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึง 10 ปริมาณของเสียกลีเซอรอล 7 ค่าตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึง 50 การทดลองแปรผันวัสดุประสานในเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทางใบปาล์มทำการผสมในอัตราส่วน ทางใบปาล์มต่อน้ำต่อของเสีย กลีเซอรอลเท่ากับ 70-0-30 พบว่า เชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทางใบปาล์มที่ใช้ของเสียกลีเซอรอลเป็นวัสดุประสานให้ค่าความร้อนสูงที่สุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 19.22 เมกะจูล/กก. ในการทดลองแปรผันอัตราส่วนผสมโดยเลือกใช้ของเสียกลีเซอรอลเป็นวัสดุประสานพบว่าในอัตราส่วนที่มีปริมาณร้อยละของเสีย กลีเซอรอลเท่ากับร้อยละ 30 ให้ค่าความร้อน 19.22-19.30 เมกะจูล/กก. ค่าร้อยละอัดเม็ด 91.84-94.71 ความหนาแน่น 996.01-996.35 กก./ลบ.ม. ความชื้นร้อยละ 2.12-3.13 สารระเหยร้อยละ 82.01-83.11 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 1.09-2.31 และเถ้าร้อยละ 12.46-13.58 และเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากเปลือกนอกต้นปาล์มในอัตราส่วนที่มีปริมาณร้อยละของเสียกลีเซอรอลเท่ากับ 20-30 ซึ่งมีค่าความร้อน 19.02-19.80 เมกะจูล/กก. ค่าร้อยละอัดเม็ด 80.19-84.13 ความหนาแน่น 894.74-941.33 กก./ลบ.ม. ความชื้นร้อยละ 3.39-6.32 สารระเหยร้อยละ 75.88-81.80 คาร์บอนคงตัวร้อยละ 4.66-8.82 และเถ้าร้อยละ 8.97-10.14 ซึ่งค่าความร้อน ความหนาแน่น ปริมาณความชื้น มีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานเชื้อเพลิงอัดเม็ด เว้นแต่ปริมาณเถ้าของเชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทางใบปาล์มและเปลือกนอกต้นปาล์มยังคงมีค่าสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เชื้อเพลิงอัดเม็ดจากทางใบปาล์มและเปลือกนอกต้นปาล์มโดยใช้ของเสียกลีเซอรอลเป็นวัสดุประสานเหมาะสมที่จะเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกให้กับอุตสหกรรม
Other Abstract: The heating value enhancement of fuel pellet from frond and trunk of oil palm was studied here. Waste glycerol, glue, spent wash liquor, and glycerol residue were used as adhesive. The aim was to find the optimum ratio of raw material by using the suitable adhesive. Raw material ratios were varied of 4 values from 50 to 80%, water ratios were varied of 3 values from 0 to 10%, and waste glycerol ratios were varied for 7 values from 20 to 50%. Adhesive variation in fuel pellet production from oil palm frond was produced by ratio, frond to water to waste glycerol : 70-0-30. The results showed that ratio of pelletized fuel from frond mixed with waste glycerol gave the highest heating value equal to 19.22 MJ/kg. While the pellet of frond with other adhesives offered heating value of 16.23–16.39 MJ/kg which was lower than the pellet standard (>17 MJ/kg). Such, waste glycerol was chosen as a suitable adhesive for varying ratio of mixture which was the next step. The optimum ratio of frond to water to waste glycerol was the quantity of wasteglycerol 30% which gave heating value of 19.22-19.30 MJ/kg, pelletizing ratio of 91.84-94.71%, specific density of 996.01-996.35 kg/m3, moisture content of 2.12-3.13%, volatile matter of 82.01-83.11%, fix carbon content of 1.09-2.31%, and ash content of 12.46-13.58%. The optimum ratio of trunk to water to wasteglycerol was the quantity of wasteglycerol 20-30% which gave heating value 19.02-19.80 MJ/kg, pelletizing ratio of 80.19-84.13%, specific density of 894.74-941.33 kg/m³, moisture content of 3.39-6.32%, volatile matter of 75.88-81.80%, fixed carbon content of 4.66-8.82% and ash content of 8.97-10.14% which ash content of frond and trunk were higher than the standard. Results showed that the mixing of fuel pellets from frond and trunk of oil palm with waste glycerol was suitable for use as fuel which was an alternative for industries.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61826
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5170209921_2553.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.