Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61875
Title: | สีย้อมธรรมชาติจากใบไม้สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง |
Other Titles: | Natural dyes from leaves for dye sensitized solar cells |
Authors: | ณิชาภา เจนกสิกิจ |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Advisors: | ณัฐพร โทณานนท์ ชัญชณา ธนชยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nattaporn.T@Chula.ac.th,Nattaporn.t@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง สีย้อมจากพืช Dye-sensitized solar cells Dye plants |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสงเตรียมขึ้นโดยใช้สารสกัดจากใบไม้เป็นสีย้อมไวแสง ใบไม้ที่นำมาสกัดสีย้อม คือ มะม่วงหิมพานต์ (Anacardium occidentale Linn.) คริสตินา (Syzygium campanulatum Korth.) หว้า (Syzygium cumini (L.) Skeels) ชมพู่มะเหมี่ยว (Syzygium malaccense (L.) Merrill & Perry.) และเทียนกิ่ง (Lawsonia inermis Linn) สกัดโดยใช้สารละลาย 2 ชนิด คือ น้ำ และ เอทานอล สีย้อมที่สกัดได้มีการดูดกลืนแสงของสีย้อม การดูดกลืนแสงของสีย้อมบนไททาเนียมออกไซด์ในช่วงความยาวคลื่นสั้น เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้สีย้อมสกัดจากใบไม้มีกระแสไฟฟ้าลัดวงจร( Isc ) 0.08-0.78 มิลลิแอมแปร์ ความต่างศักย์เปิดวงจร(Voc) 0.23-0.64 โวลต์ ฟิลล์แฟกเตอร์(FF) 0.30-0.88 และประสิทธิภาพรวม 0.013-0.3 % ภายใต้สภาวะแสงจำลอง AM 1.5 เมื่อเปรียบเทียบสีย้อมไวแสงจากใบไม้ทั้ง 6 ชนิด เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้สารสกัดจากใบมะม่วงหิมพานต์เป็นสีย้อมไวแสงให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยสีย้อมไวแสงที่สกัดโดยใช้น้ำให้ประสิทธิภาพสูงกว่าเอทานอล เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้สีย้อมไวแสงสกัดจากใบมะม่วงหิมพานต์โดยใช้น้ำมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจร 0.78 มิลลิแอมแปร์ ความต่างศักย์เปิดวงจร 0.63 โวลต์ ฟิลล์แฟกเตอร์ 0.60 และประสิทธิภาพรวม 0.3 % นอกจากนี้มีการใช้สารส้ม(อะลูมิเนียมซัลเฟต)เป็นสารเติมเพื่อช่วยในการย้อมสี พบว่าเซลล์ไฟฟ้าที่ใช้สีย้อมที่สกัดจากใบไม้ 3 ชนิดคือ คริสตินา หว้า และชมพู่มะเหมี่ยว เมื่อมีการใช้สารเติมมีฟิลล์แฟกเตอร์ และประสิทธิภาพรวมของเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น |
Other Abstract: | Dye sensitized solar cells (DSSCs) were assembled using natural dyes extracted from leaves as sensitizers. Cashew (Anacardium occidentale Linn.), Christina (Syzygium campanulatum Korth.), Jambolan Plum(Syzygium cumini (L.) Skeels), Pomerac (Syzygium malaccense (L.) Merrill & Perry.) and Henna (Lawsonia inermis Linn) leaves are extracted by 2 kinds of solvent; water and ethanol. The short circuit current (Isc) from 0.08 mA/cm² to 0.78 mA/cm², the open circuit voltage (Voc) from 0.23 V to 0.64 V, the fill factor (ff) from 0.30 to 0.88, and conversion efficiency from 0.013 to 0.3 % were obtained from the DSSCs sensitized with natural dye extracted from leaves. It was found that dyes extracted by using water were more efficient than ethanol. The best solar energy conversion efficiency (0.30%) was obtained by cashew leaf dye that, under AM 1.5 illumination, achieved up to Isc 0.78mA/cm², Voc 0.68 V and fill factor 0.60. Moreover, Alum (Aluminum sulfate) were added as additive. It was found that fill factor and the overall efficiency of DSSCs using dye extracted from 3 kind of leaves; Christina ,Jambolan Plum and Pomerac , were enhanced by Alum. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเคมี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61875 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5170566921_2551.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.