Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6189
Title: การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคม
Authors: อมรา พงศาพิชญ์
ศิริเชษฐ์ สังขะมาน
กอบกุล สามัคคี
นภัส กอร์ดอน
อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา
สุริยา วีรวงศ์
ประโยชน์ เจริญสุข
นฤมล บรรจงจิตร์
นฤมล อรุโณทัย
อเนกพล เกื้อมา
จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี
พินิจ ลาภธนานนท์
Email: Amara.P@chula.ac.th
ssiriche@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Abha.S@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
naruemol.b@chula.ac.th
hnarumon@chula.ac.th
kanagpon@chula ac.th
ไม่มีข้อมูล
plapthananon@hotmail.com.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
Subjects: คุณภาพชีวิต -- ไทย
การพัฒนาสังคม -- ไทย
ชุมชน -- ไทย
ไทย -- ภาวะสังคม
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยเพื่อการสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและการพัฒนาสังคมนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการที่นักวิจัยและชุมชนร่วมกันเรียนรู้และจัดทำตัวชี้วัด เพื่อประเมินทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละชุมชน โดยมีเป้าหมายสุดท้ายที่การเชื่อมโยงตัวชี้วัดระดับชุมชนและระดับพื้นที่ไปสู่ความเข้าใจและการพัฒนาตัวชี้วัดระดับชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาของประเทศในอนาคต กระบวนการทำวิจัยในโครงการนี้เน้นการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชน ผู้นำชุมชน และแกนนำของกลุ่มหรือองค์ชุมชนต่างๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการร่วมกันคิดและร่วมกันปฏิบัติในกิจกรรมการสร้างและพัฒนาตัวชีวัด โดยมีคณะวิจัยทำหน้าที่เสมือนเป็นพี่เลี้ยงในการทำงานร่วมกันของชุมชน ผลการทำงานตลอดทุกกระบวนการนอกจากจะคาดหวังให้ได้ประเด็นและตัวชี้วัดด้านต่างๆ ที่จะสามารถใช้ในการประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน กำหนดทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมต่อชุมชน และสมาชิกชุมชนเข้าใจถึงวิธีทางการพัฒนาตนเองแล้ว คณะผู้วิจัยยังมีความคาดหวังว่าฐานข้อมูลตัวชี้วัดที่ชุมชนได้สร้างขึ้นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ชุมชนสามารถสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการวางแผนและจัดการการพัฒนาชุมชนของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาการสนับสนุนทั้งด้านความรู้และงบประมาณจากภายนอกได้ในที่สุด ผลการดำเนินงานวิจัยโครงการนี้พบว่าแต่ละชุมชนในแต่ละพื้นที่ศึกษามีศักยภาพในการพัฒนาตัวชี้วัดของชุมชนที่แตกต่างกัน และมีจุดแข็งจุดอ่อนต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจในแนวทางการจัดทำตัวชี้วัดและการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามผลการวิจัยในทุกพื้นที่ศึกษาชี้ให้เห็นว่าสมาชิกชุมชนจะเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการสร้าง "ตัวชี้วัด" ได้ชัดเจนมากขึ้นก็ต่อเมื่อเข้าร่วมในกระบวนการสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดอย่าต่อเนื่องจนถึงขั้นตอนสุดท้าย เพราะเมื่อผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้วย่อมทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และคิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น อันจะมีผลให้สมาชิกชุมชนสามารถมองเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของ "ตัวชี้วัด" ได้ชัดเจน โดยภาพรวมกล่าวได้ว่าการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการสร้างและพัฒนาตัวชี้วัด โดยชุมชนมีส่วนร่วมนั้น ในขั้นต้นจะต้องมองหากลไกการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้เกิดขึ้นก่อน ซึ่งผลจากการศึกษาในโครงการนี้พบว่าการมีกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง จะเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะเสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็งขึ้นมาได้ นอกจากนี้เพื่อให้ข้อมูลตัวชี้วัดที่สร้างและพัฒนาขึ้นมาสามารถนำไปใช้ในการกำหนดเป้าหมายและนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนได้ดี คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าควรมีการสร้างเครือข่ายที่มีศักยภาพในการที่จะเป็นศูนย์รวมข้อมูลตัวชี้วัดในระดับพื้นที่ โดยอาจใช้องค์กรระดับท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว อย่างเช่น เทศบาลสำหรับพื้นที่ในเขตเมือง และ อบต. สำหรับพื้นที่ใน เขตชนบท เพื่อให้เป็นฐานในการดำเนินการปรับตัวชี้วัดไปสู่การสร้างนโยบาย และแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาทั้งในระดับชุมชนและระดับพื้นที่ ข้อเท็จจริงที่สำคัญและสามารถยืนยันได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ การจัดทำตัวชี้วัดระดับชุมชนและระดับชาติมีความแตกต่างกันมาก คณะวิจัยเริ่มกระบวนการวิจัยเพื่อจัดทำตัวชี้วัดในระดับชุมชนด้วยการเลือกชุมชนที่ศึกษาเพื่อดำเนินการวิจัยในพื้นที่ศึกษาที่แตกต่างกันเป็น 8 ลักษณะพื้นที่ หลังจากที่ได้ตัวชี้วัดระดับชุมชน 8 ด้านจากทุกพื้นที่ศึกษาแล้วจึงได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างผู้วิจัยจากทุกพื้นที่เพื่อหาตัวชี้วัดร่วมและตัวชี้วัดเฉพาะพื้นที่ โดยมีสมมติฐานเบื้องต้นว่าตัวชี้วัดร่วมที่พบในพื้นที่ต่างๆ จะสามารถใช้เป็นตัวแทนของตัวชี้วัดระดับชาติได้ในที่สุด ขณะที่ตัวชี้วัดเฉพาะพื้นที่จะเป็นกลุ่มตัวชี้วัดที่น่าจะถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาได้สอดคล้องและเหมาะสมต่อลักษณะทางกายภาพและสังคมของพื้นที่ศึกษานั้นๆ ทั้งนี้โดยพื้นฐานการได้มาและวิธีการศึกษาแล้วชุดตัวชี้วัดระดับชาติของคณะวิจัยมีความแตกต่างจากตัวชี้วัดการพัฒนาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมที่มีการจัดเก็บอยู่แล้วในแต่ละกระทรวงทบวงกรม ขณะที่การจัดทำตัวชี้วัดของคณะวิจัยซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในระดับพื้นที่ (Bottom-up) ดังนั้นเมื่อคณะวิจัยได้จัดทำตัวชี้วัดระดับชาติขึ้นมาชุดหนึ่งแล้วและนำลงไปทดสอบในพื้นที่อีกครั้ง พบว่าตัวชี้วัดชุดระดับชาติของคณะวิจัยแม้จะสะท้อนทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมในระดับชาติได้ระดับหนึ่ง แต่ในขณะนี้ยังไม่มีระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลตัวชี้วัดจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะเป็นตัวชี้วัดชุดใหม่ที่ยังไม่เคยมีการจัดเก็บมาก่อน ตัวชี้วัดหลายตัวยากที่จะหาข้อมูลระดับชาติได้ ดังนั้นการจะนำตัวชี้วัดระดับชาติชุดนี้ไปใช้จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลใหม่ และยังจำเป็นต้องปรับระบบแนวคิดและกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลระดับชาติใหม่ไปในขณะเดียวกันด้วย โดยเปรียบเทียบแล้วโครงการจัดทำตัวชี้วัดของคณะวิจัยได้ตัวชี้วัดระดับชาติที่มีลักษณะเป็นผลลัพธ์ที่เน้นกระบวนการและผลกระทบระยะยาว (Impacts) มากกว่า ผลผลิต (Inputs) และผลกระทบระยะสั้น (Effects) ของโครงการพัฒนา ขณะที่ตัวชี้วัดระดับชาติของ สศช. เน้นการวัดผลผลิตโดยใช้ตัวเลขจากกระทรวงต่างๆ เป็นตัวชี้วัด ซึ่งไม่นัยสำคัญในระดับพื้นที่ อย่างไรก็ตามเนื่องจากตัวชี้วัดระดับชาติของคณะวิจัยเป็นตัวชี้วัดเชิงคุณค่าและมีคุณสมบัติในการประเมินสภาพชุมชน ดังนั้นสมาชิกชุมชนควรจะต้องเป็นผู้จัดเก็บฐานข้อมูลเองจึงจะได้ข้อมูลที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงมีความเห็นร่วมกันว่าชุดตัวชี้วัดระดับชาติที่นำเสนอในรายงานนี้อาจยึดถือเป็นข้อเสนอเบื้องต้น ซึ่งควรจะต้องมีปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นและชัดเจนขึ้นในโอกาสต่อไป และคณะผู้วิจัยยังมีความเห็นว่ากระบวนการวิจัยดังกล่าวน่าจะพัฒนาสืบต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นตัวชี้วัดระดับชาติได้อย่างสมบูรณ์และมีความแม่นตรงมากขึ้น โดยใช้ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นฐานในการปรับปรุงกลยุทธการสร้างตัวชี้วัดในระดับพื้นที่และระดับชาติในขั้นตอนต่อไป
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6189
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pol - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amara.pdf29.79 MBAdobe PDFView/Open
Charas(dev2).pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.