Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61922
Title: การยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบโดยใช้อนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งที่บรรจุไนซินร่วมกับกรดแลคติค
Other Titles: Anti-gram negative bacteria using nisin-lactic acid loaded solid-lipid nanoparticles
Authors: พิมลพร ศรีราช
Advisors: สุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: แบคทีเรียแกรมลบ
อนุภาคนาโน
กรดแล็กติก
Lactic acid
Gram-negative bacteria
Nanoparticles
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองนี้เตรียมอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งที่ไม่บรรจุสารออกฤทธิ์ บรรจุไนซิน กรด แลคติค และไนซินร่วมกับกรดแลคติค ด้วยวิธีฮอโมจีไนเซชันความดันสูงแบบร้อน และวัดขนาดด้วยเครื่องนาโนไซเซอร์ พบว่าอนุภาคที่เตรียมได้มีขนาดเฉลี่ย 52.27± 0.43, 113.80 ± 1.63, 528.53 ± 7.19 และ 362.86 ± 28.05 นาโนเมตร ตามลำดับ (PDI < 0.5) และมีค่าความต่างศักย์ฟ้าที่ผิวเฉลี่ยเท่ากับ -15.56 ± 0.81, -6.12 ± 0.11, -3.83 ± 0.30 และ -2.07 ± 0.02 มิลลิโวลต์ ตามลำดับ อนุภาคดังกล่าวมีลักษณะสัณฐานวิทยาเป็นผลึกไขมัน พื้นผิวเรียบ รูปร่างคล้ายเกล็ดเลือดเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และประสิทธิภาพการบรรจุไนซิน และกรดแลคติคในอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งที่บรรจุไนซิน และกรดแลคติค ที่เตรียมได้พบว่ามีค่าเท่ากับ ร้อยละ 66.20 และ 58.62 ตามลำดับ ส่วนอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งที่บรรจุไนซินร่วมกับกรดแลคติคจะมีประสทธิภาพในการบรรจุไนซินร้อยละ 65.86 และประสิทธิภาพในการบรรจุกรดแลคติคร้อยละ 59.57 และพบว่าความเป็นกรด-เบสและความเข้มข้นของเกลือต่ออนุภาคมีผลต่อขนาดและค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ผิวของอนุภาคทั้ง 4 ชนิด ส่วนไนซินและกรดแลคติคถูกปลดปล่อยออกจาอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็งประมาณวันที่ 30 ของการทดลอง นอกจากนี้ยังพบว่าอนุภาคที่บรรจุไนซินและกรดแลคติคสามารถยับยั้ง Listeria monocytogenes DMST 17303 และ Escherichia coli ATCC 25922 ได้ดีที่ 4 องศาเซลเซียส และการทดสอบในนม พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อทดสอบได้ประมาณ 3 ถึง 5 logCFU ต่อมิลลิลิตร และพบว่า ไขมันในนมจืดไม่มีผลต่อการทำงานของอนุภาคนาโนชนิดไขมันแข็ง
Other Abstract: Unloaed, nisin, lactic acid and nisin-lactic acid loaded solid lipid nanoparticles (SLN) was prepared by hot high pressure homogenization. Dynamics light scattering (DLS) analysis showed particle sizes average were 52.27± 0.43, 113.80 ± 1.63, 528.53 ± 7.19 and 362.86 ± 28.05 nm (PDI < 0.5), respectively. and zeta potential average were -15.56 ± 0.81, -6.12 ± 0.11, -3.83 ± 0.30 and -2.07 ± 0.02 mV. The scanning electron micrographs demonstrated that platelet shape SLN with smooth surface was produced. The entrapment efficiency of nisin and lactic acid loaded SLNs were 66.20% and 58.62%, respectively. And nisin and lactic acid in nisin-lactic acid loaded SLN was 65.86% and 59.57%, respectively. The difference in pH and salt concentrations also affected size and zeta-potential averages of SLN. Nisin-lactic acid loaded SLN was initially tested for antimicrobial activity in PYG medium and found to confer inhibitory effect on the growth of both indicator strains, Listeria monocytogenes DMST 17303 and Escherichia coli ATCC 25922, at 4°C. Nisin-lactic acid loaded SLN was also tested in whole and skim milk. It was found that the presence of such a SLN could result in the reduction of 3–5 logCFU/ml in L. monocytogenes DMST 17303 or E. coli ATCC 25922 counts. And fat in whole milk not affected to SLNs.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61922
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1725
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1725
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5172386623_2553.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.