Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6196
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวราภรณ์ จิวชัยศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันไทยศึกษา-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2008-03-07T09:04:42Z-
dc.date.available2008-03-07T09:04:42Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6196-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาถึงนโยบายทางด้านเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนปัญหา อุปสรรคของการดำเนินนโยบาย และผลของการดำเนินนโยบายที่มีต่อประชาชนและรัฐโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสามารถพิ่มพูรรายได้ให้แก่รัฐอย่างมากจนทำให้ภาวะเศรษฐกิจของรัฐดีกว่าในรัชการก่อนๆและดีกว่ารัฐใกล้เคียง โดยที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเป็นแบบเดิม คือ ขณะเดียวกัน รัฐก็มุ่งการค้าขายกับต่างประเทศโดยการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ตลอดจนการจัดเก็บภาษีอากรโดยระบบเจ้าภาษีที่ทำให้เกิดกลุ่มพ่อค้าคนจีนซึ่งมีบทบาทในการค้า การผลิต และเป็นแรงงานที่สำคัญ นโยบายของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่เพียงแต่มุ่งส่งเสริมการค้าและการจัดเก็บภาษีเท่านั้น แต่ยังทรงใช้กลยุทธ์ทางการเมืองเข้าช่วยเสริมอีกทางหนึ่งด้วย เช่น การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ ขุนนางที่มีอิทธิพล หรือมีอำนาจบทบาททางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ตลอดจนการแสวงหาทรัพยากรจากรัฐใกล้เคียงอย่างไรก็ตามแม้ว่านโยบายทางด้านเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะช่วยทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น แต่ความเจริญทางเศรษฐกิจกลับอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในเมืองหลวง ไม่ได้กระจายไปอย่างทั่วถึงทุกท้องถิ่นทุกหมู่อาชีพ รัฐยังไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องการชลประทาน หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตอย่างจริงจังที่จะช่วยส่งเสริมให้ราษฎรส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเกษตรกรได้รับความสะดวก หรือเกิดแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิต อีกทั้งวิธีการจัดเก็บภาษีที่ดูเหมือนว่ารัฐได้เงินเป็นกอบเป็นกำกว่าแต่ก่อนก็ไม่ใช่ลักษณะการจัดเก็บที่เป็นธรรมเท่าที่ควร แม้ว่ารัฐจะดูเหมือนเป็นผู้ได้รับประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวก็ตาม แต่ความขัดแย้งระหว่างคนสองกลุ่มในสังคม คือ ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองไม่ได้เกิดขึ้น เนื่องจากประชาชนถูกผูกมัดไว้ด้วยระบบศักดินา และระบบไพร่ มีความคิดความเชื่อในเรื่องของกรรมและการสร้างสมบุญตามแนวคิดของศาสนาพุทธ-พราหมณ์ อีกทั้งทรัพยากรธรรมชาติยังมีความอุดมสมบูรณ์มากพอที่ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ สภาพเศรษฐกิจที่พัฒนาและเจริญขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 อันเป็นผลจากการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าออยู่หัว แม้จะยังไม่พัฒนาถึงขั้นที่ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปเป็นทุนนิยมในเวลานั้นแต่ก็กล่าวได้ว่าเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบในสมัยต่อมาen
dc.description.abstractalternativeThis research examines the economic policies instituted during the reign of King Rama III, the problems, obstacles and results upon the Government and citizenry. The study showed that the economic policies of King Rama III’s government increased government earnings drastically and improved economic conditions when compared to the previous and neighboring government which followed an economic structure based on self-sufficiency while the previous governments focus on the production and export of agricultural products form which the Government would collect duties, or taxes. For this reason a merchant class composed of persons of Chinese descent. Involved in trade, or commerce, and manufacturing, this group become a very important economic force. The policy of King Rama III was not to just support and promote trade and collect duties but to use political strategy and tactics to focus on another important area, i.e. building stronger relations within the Royal family, its relatives and nobility, or aristocracy with political or economic power. At the same time, King Rama III’s government searched for natural resources from neighboring regimes. Based on these, the monarch developed an economic policy that would help his government increase its earnings. Still, this meant economic development remained within the confines of the capital and did not reach all regions on the kingdom or all trades, professions or industries. The government did not yet show interest in becoming involved in irrigation projects or machinery and equipment that could help develop industries, especially the largest sector, agriculture to make them more efficient and productive. The government’s method of tax collection was also not systematic, but seemed like collection at random rather than set fees. Thus, it appears that only Rama III and his government benefited while the division between the two major social groups, those with political power and those under their power, did not appear to take place. The common man remained under the dominance of a feudal and caste system. This was also reinforced by beliefs in karma, or fate, based on Buddhist and Brahmin teachings. Finally, there were still an abundance of natural resources upon which the people could sustain themselves. Economic development that took place during the reign of King Rama III was the result of policies initiated by the king. This also served as a foundation upon which the country’s economic structure began to from and has evolve based on the principles of capitalism, the economic system the country has continued to follow up to current times.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัย เงินทุนเฉลิมฉลอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีen
dc.format.extent16733965 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2330-2394en
dc.subjectนโยบายเศรษฐกิจ -- ไทยen
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 3en
dc.subjectไทย -- ภาวะเศรษฐกิจen
dc.titleนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว : รายงานผลการวิจัยen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Thai Std - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn(eco).pdf16.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.