Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62027
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพร้อมพรรณ อุดมสิน-
dc.contributor.authorวรรธนพงศ์ สิทธิโชค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-05-30T07:12:17Z-
dc.date.available2019-05-30T07:12:17Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745673773-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62027-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร ในด้านต่อไปนี้ 1.1 ความบกพร่องทางกายภาพ 1.2 สภาพแวดล้อมทางบ้าน 1.3 วิธีการเรียนของนักเรียน 1.4 เจตคติของนักเรียนต่อการเรียนคณิตศาสตร์ 1.5 ประสิทธิภาพการสอนของครู 1.6 สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน 2. เปรียบเทียบระดับของสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2529 ที่มีความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 480 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยวิธีของตูกี ผลการวิจัย 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร มีสาเหตุที่สำคัญซึ่งเป็นสาเหตุอยู่ในระดับมากขึ้นไปดังนี้คือ 1.1 สาเหตุในด้านความบกพร่องทางกายภาพ คือ ขาดสมาธิในการเรียนขาดความพวกเพียรพยามยาม ขาดความกระตือรือร้น ชอบผัดวันประกันพรุ่ง และขาดความละเอียดรอบคอบ 1.2 สาเหตุในด้านวิธีการเรียนของนักเรียน คือ เร่งอ่านหนังสือ เมื่อใกล้เวลาสอบเพียงเล็กน้อย ไม่ศึกษาบทเรียนคณิตศาสตร์ที่จะเรียนมาล่วงหน้า ไม่พยามยามคิดแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อน ไม่ทบทวนเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียนไปแล้ว ไม่ศึกษาหาความรู้คณิตศาสตร์เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน ไม่ตรวจทานคำตอบในข้อสอบคณิตศาสตร์ให้ถี่ถ้วนก่อนออกจากห้องสอบ ไม่ได้ทำความเข้าใจกับแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ที่ทำผิด แบ่งเวลาในการทำข้อสอบคณิตศาสตร์ไม่เหมาะสม ไม่ศึกษาความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเรียนคณิตศาสตร์แต่ละเรื่อง ไม่รู้จักแบ่งเวลาในการเรียนให้เหมาะสม และไม่ค่อยทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง 1.3 สาเหตุในด้านเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนคณิตศาสตร์ คือ ไม่ชอบศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ไม่ชอบทำแบบฝึกหัดหรืออ่านหนังสือคณิตศาสตร์ ไม่ชอบคิดแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ และไม่ชอบวิธีการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ 1.4 สาเหตุในด้านประสิทธิภาพการสอนของครู คือ ครูไม่มีกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์ที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด 1.5 สาเหตุในด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน คือ โรงเรียนเคร่งครัดระเบียบมากเกินไป และไม่มีห้องเรียนประจำ ต้องเปลี่ยนห้องเรียน เมื่อเปลี่ยนคาบ 1.6 สาเหตุในด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน ไม่พบสาเหตุที่สำคัญ เนื่องจากนักเรียนระบุว่า เป็นสาเหตุอยู่ในระดับน้อยจนถึงระดับน้อยที่สุด 2. เมื่อเปรียบเทียบระดับของสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีระดับของสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีระดับของสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีระดับของสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were : 1. To study the causes of the mathematics learning underachievement of the upper secondary school students in Bangkok Metropolis in the following aspects: 1.1 Students’ physiological defects 1.2 Home environment 1.3 Students’ learning styles 1.4 Students’ attitude towards mathematics learning 1.5 Teachers’ teaching effectiveness 1.6 School environment 2. To compare the levels of the causes of the mathematics learning underachievement among mathayom suksa four, mathayom suksa five and mathayom suksa six students in Bangkok Metropolis. The subjects were 480 upper secondary school mathematics under achievement students in the academic year of 1986 which were multi-stage stratified randomly sampled from schools under The General Education Department, Ministry of Education, Bangkok Metropolis. The research instrument was the questionnaire concerning the causes of the mathematics learning underachievement which was constructed by the researcher himself. The obtained data was analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, one way analysis of variance and the Tukey test. The finding 1. The important causes of the upper secondary school mathematics learning underachievement students in Bangkok Metropolis which were at the high level were as follows : 1.1 Causes concerning students’ physiological defects were lack of concentration, lack of making effort, lack of enthusiasm, the habit of postponing, and carelessness. 1.2 Causes concerning students’ learning styles were speeding in studying only before the examination, not preparing the lessons before class, not trying to solve complicated mathematics problems, not reviewing the lessons after class, not studying for any additional knowledge in mathematics out of class, not rechecking the answer carefully before leaving the examination room, not paying any attention to incorrect exercise, not able to manage the time during the test suitably, not studying the essential basic knowledge of each mathematics lesson, not knowing how to manage the studying time properly and not doing mathematics exercises themselves. 1.3 Causes concerning students’ attitude towards mathematics learning were disliking to search for mathematics knowledge, to do mathematics exercises or to read mathematics textbooks, to solve mathematics problems and the method of mathematics proof. 1.4 Causes concerning teachers’ teaching effectiveness was lack of mathematics teaching activities to release students’ tension. 1.5 Causes concerning school environment were the schools were too serious with rules and there were no fixed classroom, therefore, students had to move to another classroom for another subjects. 1.6 There was no important causes concerning home environment since the students thought that the problem of this aspect was at the low to lowest level. 2. In comparing the levels of the causes of mathematics learning underachievement among mathayom suksa four, mathayom suksa five and mathayom suksa six students, there was difference at the 0.01 significant level. In comparing the level of the causes of the mathematics learning underachievement between mathayom suksa four and five students, and mathayom suksa five and six students, there were difference at the 0.01 significant level. In comparing the level of the causes of mathematics learning underachievement between mathayom suksa four and mathayom suksa six students, there was no difference.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectความด้อยสัมฤทธิ์-
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน-
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)-
dc.titleสาเหตุของความด้อยสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeCauses of mathematics learning underachievement of the upper secondary school students in Bangkok Metropolis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattanapong_Si_front.pdf321.93 kBAdobe PDFView/Open
Wattanapong_Si_ch1.pdf216.98 kBAdobe PDFView/Open
Wattanapong_Si_ch2.pdf727 kBAdobe PDFView/Open
Wattanapong_Si_ch3.pdf208.21 kBAdobe PDFView/Open
Wattanapong_Si_ch4.pdf616.34 kBAdobe PDFView/Open
Wattanapong_Si_ch5.pdf308.25 kBAdobe PDFView/Open
Wattanapong_Si_back.pdf585.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.