Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62049
Title: การติดตามการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาชายหาดจากหาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง
Other Titles: Monitoring beach morphology change from Mae Rampung Beach, Rayong province
Authors: กานต์กวี นิลสิทธิกุล
Advisors: มนตรี ชูวงษ์
สุเมธ พันธุวงค์ราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Montri.C@Chula.ac.th
Sumet.P@chula.ac.th
Subjects: สัณฐานวิทยา -- ไทย -- ระยอง
ธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง -- ไทย -- ระยอง
หาดแม่รำพึง (ระยอง)
Morphology -- Thailand -- Rayong
Coastal geomorphology -- Thailand -- Rayong
Mae Rampung beach (Rayong)
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หาดแม่รำพึง และลานหินขาวที่จังหวัดระยอง มีชื่อเสี่ยง และเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยว โดยเป็นหาดทรายยาวและมีแหลมหินเล็กบริเวณตอนกลางของหาด จากรายงาน ข้อมูลของกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปี 2558 ระบุว่า หาดแม่รำพึงเป็นหาดที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบกัด เซาะปานกลาง (กัดเซาะ 1-5 เมตร/ปี) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงธรณี สัณฐานและความสมดุลของตะกอนชายฝั่งในระยะยาวและระยะสั้น และวิเคราะห์ปัจจัยทางกาพภาพที่ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อกิจกรรมท่องเที่ยว โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 วิธี คือ การวิเคราะห์ ภาพถ่ายดาวเทียมในการดูระยะยาวโดยการวัดอัตราการเคลื่อนที่ของเส้นแนวชายฝั่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ถึง 2559 รวมระยะเวลา 13 ปี และอีกวิธีคือ ใช้กล้องสำหรับวัดระดับในการดูระยะสั้น โดยการวัดระดับ ชายหาด (Beach Profiling) ได้แก่ 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงเวลาต้นมรสุม ระหว่างฤดูมรสุม และหลังมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ และได้แบ่งพื้นที่ศึกษาเป็น 3 พื้นที่ย่อยได้แก่ ตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ ผลการวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม (ปี พ.ศ.2546-2559) พบว่า เส้นแนวชายฝั่งของหาดแม่ รำพึงอยู่ในความสมดุลระหว่างการสะสมตัวและการกัดกร่อน เนื่องจากเส้นแนวชายฝั่งในขณะน้าขึ้น สูงสุดมีรูปแบบคล้ายกันตลอดทั้งแนว ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และการพัดพาตะกอนมา สะสมตัวในแต่ละฤดูนั้นอยู่ในระดับใกล้เคียงกันมาก ไม่ได้ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในกิจกรรมทางทะเล โดยปัจจัยกายภาพที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง ได้แก่ ความลาดชันจากชายหาดสู่พื้นทะเล และหินแกรนิต ที่อยู่ใต้ระดับน้ำที่ทำให้พื้นทะเลมีระดับที่ไม่สม่ำเสมอกันที่เป็นผลทำให้กระแสน้ำผิดปกติในช่วงน้ำขึ้น
Other Abstract: Mae Rampung beach, Rayong province is one of famous and popular tourist places due to straight and clean beach with small rocky headland in the middle part. Under seawater rocks expose during low tide and submerge during high tide. According to Department of Marine and Coastal Resources reported in 2015, Mae Rampung beach was in moderate erosion rate (1-5 m/year). This study is aimed to monitor long- and short-terms morphological changes and coastal sediments balance in order to analyze possible factors that may affect the risk of tourism activity by two approaches. Firstly, analysis in satellite images was carried out in order to monitor horizontal spatial changes by measurement of shoreline moving rates from year 2003 to 2016. This longterm monitored for 13 years. Secondly, short-term beach profiling was set up to monitor sediments balance in the early, during and after northeast monsoon. The study area was divided into 3 coastal sectors: north, middle and south. As a result, comparison in shoreline position from satellite images (taken from 2003-2016) reveals that the shoreline in Mae Rampung beach is stable because the trend and morphology of the high tide shorelines shows similar pattern. There is no significant difference. Physical factors that may causes of dangerous in this beach include the difference in slope gradient and non-irregular beach face due to submerged granite leading to the occurrence of unusual current during high tide.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62049
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senior_project_Karnkawee Nilsittikul.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.