Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62054
Title: | ขอบเขตพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากการสูบน้ำ และการกระจายตัวทางอุทกธรณีเคมีในน้ำ บาดาล บริเวณรอบเหมืองทองทุ่งคำ จังหวัดเลย |
Other Titles: | Capture zone delineation and geochemical distribution in groundwater around Tungkum Gold Mine Area, Changwat Loei, Thailand |
Authors: | ณรงค์พนธ์ สำแดง |
Advisors: | ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Srilert.C@Chula.ac.th |
Subjects: | น้ำบาดาล -- ไทย -- เลย ธรณีเคมี -- ไทย -- เลย Groundwater -- Thailand -- Loei Geochemistry -- Thailand -- Loei |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวทางอุทกธรณีเคมี และอิทธิพลของการสูบน้ำบาดาลใน พื้นที่ เหมืองทองทุ่งคำ หมู่บ้านนาหนองบ่ง ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย โดยใช้วิธีการคำนวณเชิงสถิติ เพื่อใช้ใน การศึกษาการกระจายตัวทางอุทกธรณีเคมี ซึ่งฐานข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษานั้นมาจากการศึกษาข้อมูลที่มีการ บันทึกข้อมูลจากบ่อสังเกตการณ์ไว้ 24 บ่อในปี พ.ศ. 2539 และ 30 บ่อในปี 2555 จากนั้นจึงใช้การคำนวณเชิง สถิติด้วยวีธีการ 1) Cluster analysis 2) Friedman’s test, 3) Mann-Whitney test และวิธี 4) Spearman correlation were performed โดยผลจากวิธี CA ได้แบ่งกลุ่มของบ่อสังเกตการณ์ตามระดับความเข้มข้นของมล สารโดยกลุ่มบ่อที่มีค่าความเข้มข้นน้อยส่วนใหญ่จะอยู่นอกระยะ 1500 เมตรรอบบ่อทิ้งกากแร่ ส่วนบ่อ สังเกตการณ์ที่มีค่าความเข้มข้นมากจะอยู่ในระยะ 1500 เมตรรอบบ่อทิ้งกากแร่ ต่อมาเป็นผลจาก Friedman’s test โดยค่า Mean rank มากที่สุดอยู่ที่บ่อ P1 มีค่า 40.20 มีระยะทางของบ่อจากบ่อทิ้งกากแร่ ที่ 528 เมตร และ บ่อที่ค่า MR น้อยที่สุดคือบ่อ CGW30 ซึ่งมีค่า 15.40 และระยะทางของบ่อจากบ่อทิ้งกากแร่ 3,781 เมตร นอกจากนี้ผลของ Mann-Whitney test จะแสดงให้เห็นค่าความสัมพันธ์จาก Effect size ที่จะบอกอิทธิพลจาก ระยะทางที่จะส่งผลต่อมลสารซึ่งพบว่ามีลำดับคือ สารหนู (As), สังกะสี (Zn), ตะกั่ว (Pb) และทองแดง (Cu) และ สุดท้ายผลจาก Spearman correlation จะแสดงค่ามลสารที่มีค่า Correlation coefficients คือ สารหนู (As) - .443, สังกะสี (Zn) -.254, ตะกั่ว (Pb) -.103, ทองแดง (Cu) -.094 ซึ่งจากผลทางสถิติทั้งหมดสรุปได้ว่าการ กระจายตัวทางอุทกธรณีในพื้นที่นี้แน้วโน้มที่ความเข้มข้นของมลสาร จะมีค่าลดลงตามระยะทางจากบ่อทิ้งกากแร่ที่ เพิ่มขึ้น โดยลำดับของมลสารที่ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงตามระยะทางมากที่สุดคือ สารหนู (As) สังกะสี (Zn) ตะกั่ว (Pb) และทองแดง (Cu) ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำข้อมูลที่ได้ในปี พ.ศ.2555 ซึ่งมีค่าความเข้มข้นของมล สารโลหะหนัก เช่น สารหนู (As), แคดเมียม (Cd), ทองแดง (Cu), ปรอท (Hg), เหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), ซีลีเนียม (Se), ตะกั่ว (Pb), และสังกะสี (Zn) มาคำนวณหาค่าดัชนีโลหะหนัก (Heavy metal pollution index: HPI) พบว่า บ่อสังเกตการณ์ที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักและมีค่า HPI มากกว่า 100 คือ บ่อ CGW7, CGW9, CGW10, CGW11, CGW13, CGW19, CGW26, และ CGW27 ซึ่งเป็นบ่อสังเกตการณ์ ที่อยู่ทั้งในและนอกระยะ 1500 เมตรรอบบ่อทิ้งกากแร่ นอกจากนี้จากการสร้างแบบจำลองน้ำบาดาลด้วยโปรแกรมVISUALMODFLOW FLEX พบว่าการกระจายตัวของมลสารในบ่อทิ้งกากแร่จะมีการกระจายตัวอยู่รอบบ่อทิ้งกากแร่ไม่เกิน 500 เมตร และอิทธิพลจากการสูบน้ำบาดาลในพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบที่เกิดจากการกระจายตัวของมลสารบริเวณบ่อทิ้งกาก แร่ แต่บ่อสูบน้ำที่ควรเฝ้าระวังการปนเปื้อนโลหะหนักได้แก่บ่อสูบที่อยู่ใกล้กับบ่อ CGW19 เช่นบ่อสูบ JJ1053 |
Other Abstract: | In this study, the prospective geochemical distribution and capture zone delineation in groundwater around the Tungkum Gold Mine area, Loei province, Thailand. The observed data was conducted by the previous studies, consisting of the observed geochemical data from 24 wells in 1996 and 30 wells in 2012. To investigate the geochemical distribution, the multivariate statistical analyses, consisting of 1) Cluster analysis 2) Friedman’s test, 3) Mann-Whitney test, and 4) Spearman correlation were performed. According to CA method, the result showed that the observation wells were divided into 2 groups, responsible to the distance from the tailing dam: 1) observation wells were laid near the mine tailings dam not < 1500 meter and 2) observation wells were laid far from the tailings dam > 1500 meter. The Friedman’s test showed that well P1, located approx. 528 meters downstream from the tailings dam, had the highest mean rank value of 40.20, while well CGW30, located approx. 3,781 meters downstream from the tailing dam, had the lowest mean rank value of 15.40. The Mann-Whitney test revealed that the concentration of trace elements in groundwater appeared to be in the descending order: Arsenic (As), Zinc (Zn), Lead (Pb), and Copper (Cu). Futhermore, the Spearman correlation showed that correlation coefficients values of four elements presented in the following order: As (-.443), Zn (- .254), Pb (-.103), and Cu (-.094). The statistical analysis can conclude that the relationships between trace elemental concentrations in the groundwater samples and distance of a sampling site from the mine tailings dam were negative relationship. Eight trace elements (i.e, As, Cd, Cu, Hg, Fe, Mn, Se, Pb, and Zn) that were recorded during 2012 were determined by used heavy metal pollution index (HPI), the result showed that the wells with HPI > 100 were approx. 27% of the observation wells, consisting of CGW7, CGW9, CGW10, CGW11, CGW13, CGW19, CGW26, and CGW27. Finally, a Visual MODFLOW FLEX showed that particles generated move not more than 500 meters around tailing dam and a capture zone delineation from pumping wells appeared to be not interfered by mining area, including the tailing dam, but the pumping well, JJ1053, was laid near CGW19 should be further monitored for water quality before use. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62054 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Senior_project_Narongpon Sumdang.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.