Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6208
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ | - |
dc.contributor.author | จริยา ชีรนรวนิชย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2008-03-07T10:17:49Z | - |
dc.date.available | 2008-03-07T10:17:49Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741750005 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6208 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็นและความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสหมวดเดียวกันระหว่างการมองเห็นและการมองเห็นของเด็กอายุ 3-4 ปี 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็นและความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสหมวดเดียวกันระหว่างการมองเห็นและการมองเห็นของเด็กที่มีความสามารถในการนับแตกต่างกัน 3. เพื่อทำนายความสามารถที่ไม่ได้เป็นไปโดยโอกาสในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็น และในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสหมวดเดียวกันระหว่างการมองเห็นและการมองเห็นของเด็กอายุ 3-4 ปี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลที่มีอายุ 3-4 ปีของโรงเรียนฤทธิไกรศึกษา จำนวน 120 คน แบ่งเป็น 3 ระดับอายุ คือ 3 ปี 3 1/2 ปี และ 4 ปี ระดับอายุละ 40 คน เป็นเด็กชาย 60 คน และเด็กหญิง 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบดัดแปลงมาจากการศึกษาของ Mix et al. (1996) เพื่อให้เหมาะสมกับเด็กไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กอายุ 3 ปี 3 1/2 ปี และ 4 ปี มีความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็นและความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสหมวดเดียวกันระหว่างการมองเห็นและการมองเห็นเพิ่มขึ้นตามระดับอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เด็กอายุ 3-4 ปีมีความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสหมวดเดียวกันระหว่างการมองเห็นและการมองเห็นสูงกว่าความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เด็กอายุ 3-4 ปีที่มีความสามารถในการนับมากกว่ามีความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็นและความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสหมวดเดียวกันระหว่างการมองเห็นและการมองเห็นสูงกว่าเด็กที่มีความสามารถในการนับน้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็นและความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลจากประสาทสัมผัสหมวดเดียวกันระหว่างการมองเห็นและการมองเห็นที่ไม่ได้เป็นไปโดยโอกาสมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามระดับอายุ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this thesis were to compare auditory visual intermodal numerical correspondence and visual visual numerical correspondence ability in three to four year old children, to compare auditory visual intermodal numerical correspondence and visual visual numerical correspondence ability between the more proficient counters and the less proficient counters, and to predict their above chance auditory visual intermodal numerical correspondence and visual visual numerical correspondence ability. The subjects consisted of 120 children, 60 boys and 60 girls. The instrument was modified from the study of Mix et al. (1996). Two-way ANOVA was used for statistical analysis. The study shows that : 1. Auditory visual intermodal numerical correspondence and visual visual numerical correspondence ability in three to four year old children increased in accordance with their increasing age (p < .05). 2. Three to four year old children had significantly better visual visual numerical correspondence ability than auditory visual intermodal numerical correspondence ability (p < .05). 3. The more proficient counters had significantly better auditory visual intermodal numerical correspondence and visual visual numerical correspondence ability than the less proficient counters (p < .05). 4. The proportion of children{174}s above chance auditory visual intermodal numerical correspondence and visual visual numerical correspondence ability increased in accordance with their increasing age. | en |
dc.format.extent | 2440742 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การรับรู้ทางสายตาในเด็ก | en |
dc.subject | เด็กวัยก่อนเข้าเรียน | en |
dc.subject | การได้ยิน | en |
dc.subject | การเห็น | en |
dc.subject | การนับ | en |
dc.subject | ประสาทสัมผัส | en |
dc.title | ความสามารถในการตัดสินความสมนัยทางด้านจำนวนโดยใช้ข้อมูลข้ามหมวดประสาทสัมผัสระหว่างการได้ยินและการมองเห็นในเด็กอายุ 3-4 ปี | en |
dc.title.alternative | Auditory-visual intermodal numerical correspondence ability in three-to-four-year-old children | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Penpilai.R@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jariya.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.