Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6221
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา รัชชุกูล-
dc.contributor.authorชวไล ชุ่มคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-03-11T07:41:47Z-
dc.date.available2008-03-11T07:41:47Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741798504-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6221-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบการทดลองเบื้องต้น ศึกษาในกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการฝึกอบรมการป้องกันความเสี่ยงด้านการบริหารยาและเวชภัณฑ์ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลเลิดสิน จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยแผนการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง แนวทางป้องกันความเสี่ยงด้านการบริหารยาและเวชภัณฑ์ในหอผู้ป่วยและแบบตรวจเยี่ยมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันความเสี่ยงด้านการบริหารยาและเวชภัณฑ์ในหอผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบอัตนัยประยุกต์ (เอ็ม อี คิว) วัดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตรวจสอบค่าความเที่ยงของแบบสอบด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอรนบาคเท่ากับ 0.746 ค่าดัชนีความยากของแบบสอบเท่ากับ 0.43 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพภายหลังการฝึกอบรมการป้องกันความเสี่ยงด้านการบริหารยาและเวชภัณฑ์ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThis research was conducted as a pre-experimental research, with one group pretest-posttest research design. The purpose of this research was to explore the difference of risk management ability among professional nurses at before and after risk prevention-related training program on risk management in medical unit. The subjects were 22 professional nurses in the medical unit of Lerdsin Hospital. The study tools consisted of risk management study plan, medical risk prevention guidelines and visiting form. The data were collected by using the Modified Essay Question (MEQ) for risk management ability of professional nurses. The reliability of study tools was also tested by Cronbach' Alpha Coefficient. It was found that the coefficient, the index of difficulty and the discrimination power were 0.746, 0.43 and 0.75 respectively. Statistical variables used in data analysis were mean, standard deviation and dependent t-test. The major findings were as follows: The risk management ability of professional nurses inmedical units after the risk prevention-related training program was significant higher than before the training at the .05 confidential level.en
dc.format.extent916510 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารความเสี่ยงen
dc.subjectพยาบาลen
dc.subjectยา -- การบริหารen
dc.titleผลของการฝึกอบรมการป้องกันความเสี่ยงต่อความสามารถในการจัดการความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลเลิดสินen
dc.title.alternativeThe effect of risk prevention training program on risk management ability of professional nurses, a case study Lerdsin Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchada.Ra@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chavalai.pdf895.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.