Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62267
Title: ผลของการใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of using concept - mapping teaching technique on learning achievement and attitude towards biology of mathayom suksa five students
Authors: วิภา เกียรติธนะบำรุง
Advisors: จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ชีววิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
แผนผังมโนทัศน์
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- ทัศนคติ
Biology -- Study and teaching (Secondary)
Concept mapping
High school students -- Attitudes
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ระหว่างนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์กับการสอนตามแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียน 1ก โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 40 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 คน กลุ่มทดลองสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมสอนตามแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดเจตคติต่อวิชาชีววิทยา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ, มัชฌิมเลขคณิต, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิคการสอนแบบจัดกรอบมโนทัศน์มีเจตคติต่อวิชาชีววิทยาทางบวก
Other Abstract: The purpose of this research were to study the effects of using concept mapping teaching technique on learning achievement and attitude towards biology of mathayom suksa five students, and to compare biology learning achievement between the experimental group learned by using concept mapping teaching [technique] and the controlled group using traditional teaching [technique]. The sample of this study were 40 mathayom suksa five (1n) program students of Chulalongkorn University Demonstration (Secondary school). The students divided into two group, one was experimental group and the other was controlled group. The research instruments were biology learning achievement test and attitude towards biology inventory. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1.The experimental group had the biology learning achievement scores not less than 60 percentage. 2.The biology learning achievement mean scores of the experimental group was higher than the controlled group at the .05 level of significance. 3.The experimental group had positive attitude towards biology.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62267
ISBN: 9746319876
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipha_ki_front.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_ki_ch1.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_ki_ch2.pdf15.04 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_ki_ch3.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_ki_ch4.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_ki_ch5.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_ki_back.pdf18.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.