Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62349
Title: การจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด : ศึกษากรณีครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลสันทรายหลวงจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Solid waste management at the source : a case study of households in san sai luang municipality, chiang mai province
Authors: ทิพย์รัตน์ สุภา
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: วิพรรณ ประจวบเหมาะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การกำจัดของเสีย -- ไทย -- เชียงใหม่
การกำจัดขยะ -- ไทย -- เชียงใหม่
Waste disposal -- Thailand -- Chiang Mai
Refuse and refuse disposal -- Thailand -- Chiang Mai
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด : ศึกษากรณีครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลสันทรายหลวง จังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด และศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมดังกล่าวในพื้นที่ที่ศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ได้สัมภาษณ์ประชากรที่เป็นตัวแทนจากครัวเรือนเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 550 เลือกตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย การวิเคราะห์ถดถอยพหุและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ประชากรตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ผลการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับคะแนนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดไปในทางที่เหมาะสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤0.05 คือ จำนวนปีที่ศึกษา อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ รายได้ คะแนนการรับสารเกี่ยวกับการจัดการขยะ มูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด คะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด ความตระหนัก และความคาดหวังประโยชน์จากการจัดการดังกล่าว ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อระดับคะแนนพฤติกรรมการจัดการขยะ มูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดไปในทางที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ เพศหญิง อายุ ผู้ปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่วิชาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุพบว่า พบว่าตัวแปริสระทั้ง 10 ตัวสามารถร่วมอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมที่เหมาะสมในการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดได้ร้อยละ 62.2 และมีเพียง 7 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมการจัดการดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนพบว่า ตัวแปรความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด สามารถอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดได้ดีที่สุด รองลงมาคือ คะแนนการรับสาร คะแนนความรู้ เพศ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิด และผู้ปฏิบัติงานด้านวิชาชีพ ตามลำดับ ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่ได้เพิ่มอำนาจในการอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤0.05
Other Abstract: The purpose of the study on Solid Waste Management at the Source: A Case Study of Households in San Sai Luang Municipality, Chiang Mai Province is to investigate behavior in solid waste management at the source of the factors affecting such behavior in the studied area. Five hundred and fifty persons representing the target households were interviewed. Simple Regression Analysis, Multiple Regression Analysis and Stepwise Multiple Regression Analysis were used for analyzing the data. The result reveals that the sample populations have pretty low score on the proper behavior in solid waste management at the source. The result of simple regression analysis shows that years of education, professional worker, income, communication score, awareness score, and benefit expectation of such management have statistically significant impact on proper behavior in solid waste management at the source. On the other hand, factors influencing on improper management behavior are female, age, nonprofessional worker, and duration of residence in the community. The result of multiple regression analysis indicates that ten independent variables can explain the variation of behavior in solid waste management at the source by 62.2 percent, and only 7 factors have statistically significant impact on proper management behavior. In addition, when using stepwise multiple regression analysis shows that the variables about the awareness on solid waste management at the source can be the best explanation for the variation of the solid waste management at the source followed by communication score, knowledge score, gender, benefit expectation, and professional worker respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62349
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2051
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.2051
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thiparat_su_front_p.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Thiparat_su_ch1_p.pdf5.65 MBAdobe PDFView/Open
Thiparat_su_ch2_p.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Thiparat_su_ch3_p.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Thiparat_su_ch4_p.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Thiparat_su_back_p.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.