Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62356
Title: การวิเคราะห์การปันส่วนต้นทุนสำหรับผลิตภัณฑ์ ที่ร่วมในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
Other Titles: Analysis on cost allocation for joint products in petrochemical industry
Authors: วรางคณา สุวรรณโณ
Advisors: ดวงมณี โกมารทัต
ไพฑูรย์ ปานสูง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การบัญชีต้นทุน
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
Petroleum chemicals industry
Cost accounting
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติในการรวบรวมต้นทุนของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พร้อมทั้งวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางการปันส่วนต้นทุนที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่าเกณฑ์การปันส่วนค่าใช้จ่ายทางอ้อมจากหน่วยงานในแผนกบริการสู่หน่วยงานในแผนกผลิตบางหน่วยงานใช้เกณฑ์ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาใช้เกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว ทำให้ได้ผลที่แตกต่างออกไป นอกจากนี้เมื่อใช้วิธีการปันส่วนค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่มีอยู่หลายแบบ ปรากฏว่าวิธีการปันส่วนค่าใช้จ่ายโรงงานของหน่วยบริการแบบเป็นขั้นๆ เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์พลอยได้เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตซึ่งเดิมไม่มีการคำนวณต้นทุนการผลิตให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ ทำให้การบันทึกต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ร่วมไม่ถูกต้อง สมควรที่จะเปลี่ยนมาคำนวณต้นทุนการผลิตให้แก่ผลิตภัณฑ์พลอยได้ด้วยวิธีมูลค่าสุทธิที่จะขายได้ สำหรับการปันส่วนต้นทุนให้แก่ผลิตภัณฑ์ร่วมนั้นมีหลายวิธี ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่าการปันส่วนหลายวิธี ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ในขั้นถัดไปคือ วีซีเอ็มและพลาสติกพีวีซี วิธีการปันส่วนต้นทุนร่วมที่เหมาะสมที่สุดคือ วิธีปันส่วนต้นทุนโดยใช้น้ำหนักโมลโมเลกุล การเลือกใช้วิธีปันส่วนต้นทุนที่แตกต่างกันส่งผลให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีต้นทุนการผลิตและกำไรขั้นต้นที่แตกต่างกัน ซึ่งกิจการควรตระหนักไว้เสมอว่าต้นทุนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ร่วมที่มีมูลค่าคงเดิมไม่ว่ากิจการจะเลือกวิธีทางบัญชีแบบใด
Other Abstract: The purpose of this research is to study allocation methods for cost calculation in petrochemical industry, analyse and suggest the allocation method which is appropriate for the petrochemical industry. It is found that some allocation bases for indirect expense allocation are not reasonable and the allocated costs are difference when using different allocation method. Besides, it is also found that the step method is appropriate for cost allocation in petrochemical industry. Costs are not assigned to by-product obtained from the production process thus, production costs of joint products are incorrect. It is suggested that production costs should be assigned to by-product by using net reliazable value method. There are several methods in allocating joint costs to joint products. From the analysis, it is found that each method used results in different allocated costs significantly and would affect the production costs of VCM and Plastic PVC. The appropriate method suggested is by using molecular weight. Different allocation methods used results in different production costs and gross profits while the total production costs for all joint products remain the same no matter which allocated method is used.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62356
ISBN: 974579393
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Warangkana_suw_front_p.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_suw_ch1_p.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_suw_ch2_p.pdf11.28 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_suw_ch3_p.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_suw_ch4_p.pdf29.19 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_suw_ch5_p.pdf12.77 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_suw_ch6_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Warangkana_suw_back_p.pdf34.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.