Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62357
Title: การปรับปรุงสายพันธุ์ Streptomyces sp. 190-1 ที่ผลิตกลูโคลไอโซเมอเรส โดยการเชื่อมโปรโตพลาสท์กับ Streptomyces sp. 42-9 ที่ผลิตไซแลนเนส
Other Titles: Strain improvement of glucose isomerase producing Streptomyces sp.190-1 by protoplast fusion with xylanase producing Streptomyces sp.42-9
Authors: วรางคณา อินทรเสน
Advisors: ไพเราะ ปิ่นพานิชการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สเตรปโตมัยซิส
แบคทีเรีย
โปรโตพลาสต์
Streptomyces
Bacteria
Protoplasts
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้รายงานวิธีการปรับปรุงสายพันธุ์ Streptomyces sp.190-1 ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ผลิตกลูโคสไอโซเมอเรสได้สูงประมาณ 1200 หน่วยต่อกรัม น้ำหนักแห้ง ให้ผลิตไซแลนเนสได้ด้วย โดยการเชื่อมโปรโตพลาสท์กับ Streptomyces sp.42-9 ที่ผลิตไซแลนเนส ทั้งนี้เพราะ การผลิตกลูโคสไอโซเมอเรส ต้องการไซโลสเป็นการชักนำ ถ้าจุลินทรีย์นี้ผลิตไซแลนเนสได้ก็จะสามารถเจริญได้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งมีวัสดุทีมีไซแลนเป็นองค์ประกอบ โดยจะย่อยไซแลนไปเป็นไซโลส และมีผลชักนำการสร้างกลูโคสไอโซเมอเรส ผลการศึกษาปัจจัยต่างๆ ต่อการสร้างและการรีเจนเนอเรทโปรโตพลาสท์ของเชื้อทั้งสอง พบว่า การเติมไกลซีนลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ไม่มีผลต่อการเกิดโปรโตพลาสท์ของเชื้อทั้งสอง แต่มีผลยับยั้งการเจริญของเซลล์ นอกจากนั้นพบว่า อายุของเชื้อไม่มีผลต่อการรีเจนเนอเรทโปรโตพลาสท์ โดยพบว่า ไมซีเลียมของทั้ง Streptomyces sp.190-1 และ Streptomyces sp.42-9 ที่ช่วงอายุ 50-55 ชั่วโมง เป็นช่วงที่เหมาะสมต่อการเตรียมโปรโตพลาสท์ โดยให้ความถี่ของการรีเจนเนอเรทสูงสุด คือ 12.83% สำหรับ Streptomyces sp.190-1 และ 1.60% สำหรับ Streptomyces sp.42-9 การคัดเลือกลูกผสมโดยใช้ความสามารถในการต้านยาเตตราชัยคลินร่วมกับแอมพิซิลิน พบว่าความถี่ของรีคอมบีเนชัน โดยการเชื่อมโปรโตพลาสท์และการคอนจูเกชัน ระหว่าง Streptomyces sp.190-1 กับ Streptomyces sp.42-9 มีค่าเป็น 1.46 x 10⁻³ และ 4.54 x 10⁻⁷ ตามลำดับ ส่วนความถี่ของรีคอมบิเนชัน โดยการเชื่อมโปรโตพลาสท์และคอนจูเกชัน ระหว่าง Streptomyces sp.190-1 กับ Streptomyces sp.42-9 ที่ได้รับพลาสมิด PIJ 4027 ซึ่งมียีนต้านยาอิริโทรมัยซิน มีค่าสูงขึ้นเป็น 4.15 x 10⁻² และ 8.41 x 10⁻⁶ ตามลำดับ เมื่อคัดเลือกลูกผสมโดยใช้ความสามารถในการต้านยาเตตราซัยคลินร่วมกับอีริโทรมัยซิน จากการสุ่มตัวอย่างลูกผสมมา 60 สายพันธุ์ พบว่ามี 20 สายพันธุ์ผลิตเอนไซม์กลูโคสไอโซเมอเรสได้ในช่วง 600 – 900 หน่วยต่อกรัมน้ำหนักแห้งของเซลล์ และพบว่าทั้ง 20 สายพันธุ์นี้ ผลิตไซแลนเนสได้อยู่ในช่วง 0.30 – 1.04 หน่วยต่อ มล. เมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีกากรำข้าวเป็นองค์ประกอบ และเมื่อเลี้ยงในอาหารที่มีไซแลนเป็นองค์ประกอบจะผลิตไซแลนเนสได้อยู่ในช่วง 3.97 – 8.64 หน่วยต่อ มล.
Other Abstract: Strain improvement of Steptomyces sp.190-1, an organism capable to produce glucose isomerase at a high level of 1200 units per gram of dry cells, has been carried out in order to generate xylanase by protoplast fusion with xylanase producing Streptomyces sp.42-9. Since the production of glucose isomerase required xylose, if Streptomyces sp.190-1 could produce xylanase, it would then be able to grow in medium with xylan containing material by hydrolyzing xylan to xylose which subsequently acted as inducer for glucose isomerase production. Optimal condition for formation and regeneration of protoplasts were investigated. Addition of glycine to the culture medium had no effect on protoplast formation of both species but markedly reduced cell growth. Age of mycelium also had no effect on protoplast formation, however, affected the regeneration of protoplasts. The mycelial age of 50-55 hours was optimum for protoplast regeneration in both species. With this mycelial age, the protoplast regeneration frequencies of 12.83% and 1.60% were obtained with Streptomyces sp.190-1 and Streptomyces sp.42-9, respectively. Recombination frequencies obtained through protoplast fusion and conjugation between Streptomyces sp.190-1 and Streptomyces sp.42-9 were 1.46 x 10⁻³ and 4.64 x 10⁻⁷ , respectively by using their resistance to tetracycline in combination with ampicillin as markers. Higher recombination frequencies which were 4.14 x 10⁻² for protoplast fusion and 8.41 x 10⁻⁵ for conjugation of Streptomyces sp.190-1 with Streptomyces sp.42-9 harboring plasmid PIJ4027 were obtained by using resistant ability to tetracycline and erythromycin for recombinant selection. Twenty recombinants from 60 randomly selected recombinants could produce glucose isomerase at the level ranging from 600 – 900 units per gram of dry cells. They could produce xylanase in the range of 0.30 – 1.04 units per ml. when grow in a medium containing defatted rice bran and 3.97 – 8.64 units per ml. when grown in a medium containing xylan.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62357
ISBN: 9745785997
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varangkana_in_front_p.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open
Varangkana_in_ch1_p.pdf6.47 MBAdobe PDFView/Open
Varangkana_in_ch2_p.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open
Varangkana_in_ch3_p.pdf10.21 MBAdobe PDFView/Open
Varangkana_in_ch4_p.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Varangkana_in_back_p.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.