Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62376
Title: สหประชาชาติกับการได้เอกราชของโรดีเซียใต้ (ค.ศ. 1962-คศ.1980)
Other Titles: The united Nations and the Independence of Southen Rhodesior
Authors: วราภรณ์ จุลปานนท์
Advisors: สมพงษ์ ชูมาก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สหประชาชาติ
โรดีเซีย -- การเมืองและการปกครอง
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งเน้นศึกษาถึงการดำเนินการของสหประชาชาติเพื่อให้โรดีเซียใต้ ได้รับเอกราช ในช่วงปี ค.ศ. 1962-1980 ทั้งนี้จะศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้การดำเนินการของสหประชาชาติได้รับผลสำเร็จ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับกำหนดเจตจำนงของตนเอง (Right of Self-Determination) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลของการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ พบว่า องค์กรของสหประชาชาติที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ ได้แก่ สมัชชาสหประชาชาติ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และพบว่า การที่สหประชาชาติสามารถดำเนินการได้อย่างบรรลุผลนั้นมาจากปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรกได้แก่ความร่วมมืออย่างจริงจังของกลุ่มประเทศโลกที่สามที่คุมเสียงส่วนใหญ่ในสมัชชาสหประชาชาติโดยกลุ่มประเทศโลกที่สามเสนอแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง และได้พยายามผลักดันให้สหประชาชาติแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด ประการที่สอง ได้แก่ ประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสนับสนุนการดำเนินการของสหประชาชาติ โดยปฏิบัติตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงในการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลชนกลุ่มน้อยผิวขาว จนทำให้รัฐบาลชนกลุ่มน้อยผิวขาว ซึ่งสหประชาชาติถือว่าเป็นรัฐบาลที่ผิดกฎหมาย และถูกโดดเดี่ยวโดยสมาชิกส่วนใหญ่ของสหประชาชาติต้องยินยอมมอบอำนาจการปกครองให้กับชนพื้นเมืองผิวดำ ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ ตามแนวทางข้อเสนอแนะของสหประชาติ
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the efforts and activities carried out by the United Nations for the independence of Southern Rhodesia from 1962 to 1980 by using the concept of the right of self-determination as the framework of analysis. It is found that the organs of the United Nations which played an important roles in solving this problem are the General Assembly and the Security Council. It is also found that the success of the United Nations in this case depends on two factors. The first factor is that the General Assembly’s role in favouring the independence of Southern Rhodesia has been strongly and insistently supported by third world countries that control the majority votes in this organ. The second is that the Security Council’s role in imposing economic sanction on the white minority government was implemented by superpower, particularly the United Kingdom and the United States. Consequently the white minority government, which was considered illegal by the United Nations and isolated by majority of its members was forced to give in and hand over the power of government to the native black which constitute the majority of the population of the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62376
ISBN: 9745689874
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_ju_front_p.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ju_ch1_p.pdf6.75 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ju_ch2_p.pdf10.68 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ju_ch3_p.pdf20.27 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ju_ch4_p.pdf9.98 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ju_ch5_p.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ju_ch6_p.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_ju_back_p.pdf16.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.