Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62414
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกียรติ จิวะกุล | - |
dc.contributor.author | วิรัตน์ รัตตากร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-07-10T07:08:17Z | - |
dc.date.available | 2019-07-10T07:08:17Z | - |
dc.date.issued | 2538 | - |
dc.identifier.isbn | 9746314947 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62414 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะที่หลากหลายในพื้นที่ตามแนวถนนรัชดาภิเษก ช่วงอโศก-คลองเตย ซึ่งเป็นพื้นที่เมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ ปัจจัย และผลของการเปลี่ยนแปลงนั้น รวมทั้งได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่ รูปแบบการใช้ที่ดินในอนาคต ที่ประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีรูปแบบการใช้ที่ดินในลักษณะที่แตกต่างกันพอจะแยกออกได้เป็น 2 พื้นที่คือ พื้นที่ในย่านสุขุมวิทในตอนบน และพื้นที่ในแนวถนนพระราม 4 หรือย่านคลองเตยในตอนล่าง พื้นที่ในย่านสุขุมวิทในอดีตมีรูปแบบการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยแบบชานเมือง ในลักษณะของบ้านพักอาศัยคุณภาพดี และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นการใช้ที่ดินแบบผสม ทั้งที่เพื่อใช้อยู่อาศัยในแบบเมืองใหญ่ และประกอบธุรกิจการค้าบริการในระดับนานาชาติ และธุรกิจอาคารสำนักงานสมัยใหม่ จะเกิดขึ้นในลักษณะของการเปลี่ยนจากการใช้อาคารในแนวราบมาเป็นการใช้อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่สืบเนื่องตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเนื่องจากเป็นพื้นที่เมืองที่มีที่ดินราคาสูง มีทำเลที่สามารถสนองกับความต้องการทั้งด้านที่อยู่อาศัยและเพื่อการค้าบริการในเมืองซึ่งมีอยู่มากจากการขยายตัวออกมาจากเมืองชั้นในและจากในพื้นที่เอง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม สำหรับพื้นที่ในย่านคลองเตยมีรูปแบบการใช้ที่ดินในกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากท่าเรือคลองเตยที่มีความสำคัญแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น คลังสินค้า กิจการขนส่งสินค้า ลานกองคอนเทนเนอร์ คลังน้ำมัน รวมถึงย่านตลาดสดขนาดใหญ่ ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดที่เป็นแหล่งพักอาศัยของผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ใกล้แหล่งงานในพื้นที่ ปัจจุบันยังคงมีลักษณะกิจกรรมดังกล่าวดำเนินอยู่ แต่มีสภาพเสื่อมโทรม ขาดระเบียบและขาดการปรับปรุงฟื้นฟู ผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่ต่อเนื่องปรากฏผลดีที่เกิดขึ้นในแง่เศรษฐกิจต่อย่านสุขุมวิท เพราะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินในเกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการเป็นตัวดึงดูดกิจกรรมทางธุรกิจการค้าการบริการ การพักอาศัยในเมืองใหญ่เข้าสู่พื้นที่ จากศักยภาพที่ปรากฏในทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐที่จะเข้ามาสู่พื้นที่จะทำให้ย่านสุขุมวิทยังคงเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดกิจกรรมทางธุรกิจบริการต่าง ๆ ต่อไป ขณะเดียวกันก็จะต้องพิจารณาถึงปัญหาด้านสาธารณูปโภค สภาพแวดล้อม การจราจร จากการเพิ่มขึ้นของอาคารสูงเป็นจำนวนมาก ส่วนในพื้นที่ย่านคลองเตย ปัญหาสภาพแวดล้อม ความแออัดเสื่อมโทรม ยังคงมีแนวโน้มที่ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาอันควรโดยคาดว่าจะยังไม่ได้รับการพัฒนาแก้ไขจากการปล่อยปละละเลยมาโดยตลอด ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการฟื้นฟูบูรณะให้เกิดเร็วขึ้น แนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้เสนอแนะให้มีการพัฒนาย่านสุขุมวิทให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าที่สมบูรณ์โดยมีองค์ประกอบภายในที่สามารถเชื่อมโยงทั้งกับศูนย์กลางธุรกิจในปัจจุบันและพื้นที่ภายนอกอื่น ๆ ด้วยการประกอบกันเข้าของ ย่านศูนย์กลางอาคารสำนักงานสมัยใหม่ในแนวถนนอโศก-รัชดา ย่านศูนย์กลางการค้าบริการระดับนานาชาติในช่วงสุขุมวิทตอนต้น การพัฒนาพื้นที่ว่างบริเวณโรงงานยาสูบเดิมให้เป็นศูนย์กลางการบริการทางสังคมที่ให้บริการในระดับเมือง ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ย่านพักอาศัยคุณภาพดีบริเวณพื้นที่ตอนในของย่านสุขุมวิท รวมถึงการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ย่านคลองเตยให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น การจัดระเบียบกิจกรรมการใช้ที่ดิน การพัฒนาที่อยู่อาศัยหนาแน่นและการพัฒนาพื้นที่ชายน้ำเพื่อกิจกรรมทางการท่องเที่ยว โดยที่ต้องการให้การพัฒนาทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของการจัดองค์ประกอบภายในพื้นที่ที่ชัดเจนและสมบูรณ์ในตัว การเชื่อมโยงให้เข้ากันด้วยระบบสัญจรที่สะดวกทันสมัยและด้วยรูปแบบทางกายภาพที่สอดคล้องกัน เพื่อความสมบูรณ์ในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคต | - |
dc.description.abstractalternative | The primary goal of this study is to look at the land use patterns along the Rajchadapisek Road on Asoke-Klogtoey section in order to examine causes, affects, and results of those changes. The study include the suggestion for the future development, the future land use patterns, and recommendation for a new Central Business District (CBD) in Bangkok. The result if this study found that the land use patterns have separate to two sections, upper on Sukhumvit area and area along Rama IV road of Klongtoey. The land use patterns at the Sukhumvit area have been changed from suburban and high quality resident to the mixed of residential, business district and office buildings from the last ten years. These changes are from the increasing of the land value and the expansion of the services both from inside and outside the area so the land use patterns have changed from horizontal use to vertical use with the tall buildings and more intensive use of land. On Rama IV or Klongtoey area, the development is mainly from the Klongtoey itself. This port is important to businesses in Bangkok from the past to present such as warehouses, shipping, oil & gas storages and a big open market. Another use of this area is low-income housing for local workers and these houses are low-quality houses and fail to meet the basic requirements. The changes as describe above has a benefits for the Sukhumvit area. The government projects will persuaded businesses, services, and high density of housing to this area but this area will face the problems of public utilities, environment and traffic in Klongtoey area, the problem of environment and congestion still remain because this is no further improvement project for this area. The suggestion for these areas are ; the Sukhumvit area should become a business center that can join the businesses from inside and outside areas including major office buildings along Asoke-Rajchadapisek Road and international business and service area in upper Sukhumvit area, The tobacco plant area will change to a social service center along with the preservation of high quality residential area for inner of Sukhumvit area section The Klongtoey area should improve to a better environment, better land use patterns, better development of high density housing and the development of waterfront for tourism. All of the developments are based on the perfect land use plan along with a better traffic system and related physical characteristics of the land in order to turn these land to be a new Central Business District of Bangkok. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ | - |
dc.subject | การฟื้นฟูเมือง | - |
dc.subject | ถนนรัชดาภิเษก | - |
dc.subject | Land use, Urban -- Thailand -- Bangkok | - |
dc.subject | Urban renewal | - |
dc.subject | Ratchadaphisek Road | - |
dc.title | แนวทางการปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ในแนวถนนรัชดาภิเษก ช่วงอโศก-คลองเตย | - |
dc.title.alternative | Urban renewal concept for inner ringroad (Rajchadapisek) area between | - |
dc.title.alternative | การปรับปรุงฟื้นฟูพื้นที่ในแนวถนนรัชดาภิเษก ช่วงอโศก-คลองเตย | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ภูมิสถาปัตยกรรม | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Virat_ra_front_p.pdf | 4.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch1_p.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch2_p.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch3_p.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch4_p.pdf | 42.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch5_p.pdf | 16.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch6_p.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch7_p.pdf | 10.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_ch8_p.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Virat_ra_back_p.pdf | 35.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.