Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62463
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิกร อินทุโสภณ | - |
dc.contributor.advisor | ธารี หิรัญรัศมี | - |
dc.contributor.author | วิสัณห์ ยิ่งยงพันธ์สกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-07-19T02:36:37Z | - |
dc.date.available | 2019-07-19T02:36:37Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745674125 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62463 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาต้นทุนและอัตราผลตอบแทนในการลงทุนทำไร่เก๊กฮวยเพื่อผลิตดอกเก๊กฮวยแห้งในฤดูการผลิต 2526 และ 2528 ผู้วิจัยได้สำรวจข้อมูลจากเกษตรกรโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในระหว่างเดือนเมษายน 2526 ถึงเดือนมีนาคม 2529 มีจำนวนตัวอย่างเกษตรกรและพื้นที่ในการสำรวจโดยเฉลี่ยปี 2526 และ 2528 แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 เกษตรกรที่ปลูกและเก็บดอกสดจำหน่ายในอำเภอสะเมิงและสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย พื้นที่สำรวจ 16 ไร่ 3 งาน กลุ่มที่ 2 เกษตรกรที่ปลูกและเก็บดอกสดจำหน่ายในอำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรี จำนวน 13 ราย พื้นที่ปลูก 39 ไร่ 1 งาน กลุ่มที่ 3 เกษตรกรที่ปลูกและเก็บดอกสดจำหน่ายในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 นำมาหาค่าเฉลี่ยโดยมีจำนวนเกษตรกรรวม 18 ราย พื้นที่ปลูก 56 ไร่ กลุ่มที่ 4 เกษตรกรที่ทำไร่เพื่อผลิตดอกเก๊กฮวยแห้งจำหน่ายในอำเภอสะเมิงและสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 26 ราย พื้นที่ปลูก 97 ไร่ จาการสำรวจพบว่าดอกเก๊กฮวยที่มีอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันมี 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ กน. 1 (กองอนุรักษ์ต้นน้ำ 1) และ กน. (กองอนุรักษ์ต้นน้ำ 2 หรือ พันธุ์หันโจ) ซึ่งมีลักษณะคล้านกันเพียงแต่ขนาดของดอกและใบที่แตกต่างกัน ส่วนวิธีการปลูกเหมือนกัน โดยเริ่มจากเพาะกล้าเก๊กฮวยในแปลเพาะหรือเรือเพาะชำ เตรียมดินที่เหมาะสม และลงมือปลูกในพื้นที่ทีมีอากาศค่อนข้างเย็น ดินมีการระบายน้ำดี มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งมีการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชเป็นอย่างดี เกษตรกรสามารถเก็บดอกเก๊กฮวยได้หลังจากลงมือปลูกในช่วงเดือนพฤษภาคม และบำรุงรักษาต่อไปอีก 5-6 เดือนนำไปจำหน่ายเป็นดอกสด หรือนำไปนิ่ง 4-5 นาทีแล้วนำไปตากหรืออบให้แห้งในอุณหภูมิประมาณ 60 องศาเซลเซียส นาน 6 ชั่วโมงก็จะได้ดอกเก๊กฮวยแห้งซึ่งสามารถนำไปจำหน่ายได้อีกรูปแบบหนึ่ง ผลสรุปของต้นทุน รายได้กำไรสุทธิ และอัตราผลตอบแทนในการลงทุนต่อไร่เฉลี่ยปี 2526 และ 2528 ของเกษตรกรแต่ละกลุ่ม (เรียงลำดับ กลุ่มที่ 1 ; กลุ่มที่ 2 ; กลุ่มที่ 3 ; กลุ่มที่ 4) เป็นดังนี้ รายได้เฉลี่ยต่อไร่ (บาท) (14,020.90 ; 16,778.60 ; 15,953.75 ; 14,423.25) -- ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อไร่ (บาท) (-4,894.51 ; -4,855.20 ; -4,766.49 ; -6,997.72) -- กำไรสุทธิต่อไร่ (บาท) (9,126.39 ; 11,923.40 ; 11,187.26 ; 7,425.53) -- เงินลงทุนต่อไร่ (บาท) (5,105.61 ; 5,075.53 ; 4,984.06 ; 8,918.30) -- อัตราผลตอบแทนต่อยอดขาย (%) (65.09 ; 71.06 ; 70.12 ; 51.48) -- อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนรวม (%) (186.46 ; 245.58 ; 234.71 ; 106.11) -- อัตราผลตอบแทนในการลงทุน (%) (178.75 ; 234.92 ; 224.46 ; 83.26) -- ระยะเวลาคืนทุน (%) (6 เดือน 17 วัน ; 5 เดือน ; 5 เดือน 7 วัน ; 11 เดือน 13 วัน) -- กำไรสุทธิต่อคน/ต่อเดือน (บาท) (เฉลี่ยจำนวนเกษตรกรที่ใช้ไร่ละ 4 คน) (190.13 ; 248.4 ; 233.07 ; 154.7) ในการทำวิจัยพบว่าในฤดูการผลิตปี 2527 ระหว่างเดือนเมษายน 2527 ถึงมีนาคม 2528 เกิดโรคระบาดและมีแมลงศัตรูพืชทำความเสียหายแก่ไร่เก๊กฮวยในจังหวัดเชียงใหม่เป็นจำนวนมากจึงไม่นำข้อมูลมาสรุปและเฉลี่ยเป็นต้นทุนในการทำไร่ดังกล่าวด้วยและจากอัตราผบตอบแทนในการลงทุนที่ได้รับเฉลี่ยปี 2526 และ 2528 สูงเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ เฉลี่ยร้อยละ 11.60 จะเห็นได้ว่าน่าที่จะลงทุนในการทำไร่แต่ปัญหาสภาพพื้นที่ภูมิอากาศที่จำเป็นในการปลูกเก็กฮวย ปัญหาเกี่ยวกับการทำแห้งซึ่งยังไม่ทันสมัย ปัญหาการจำหน่าย การแข่งขันด้านคุณภาพของดอกเก็กฮวยแห้งทีนำเข้ามาจากต่างประเทศ รวมทั้งปัญหาด้านราคาจำหน่ายดอกเก๊กฮวยแห้ง เป็นเงื่อนไขให้การลงทุนทำไร่เก๊กฮวยเพื่อผลิตดอกเก๊กฮวยแห้งจำหน่ายไม่อาจทำได้แพร่หลายทั่วประเทศ นอกจากนั้นปัญหาที่ประสบอยู่สำหรับเกษตรกรที่ทำไร่เก๊กฮวยในปัจจุบันคือ กำไรสุทธิจากการทำไร่เก๊กฮวยเพื่อผลิตดอกเก๊กฮวยแห้งจำหน่ายไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่ตลอดปีของเกษตรกรเพราะเกษตรกรที่ปลูกและเก็บดอกสดจำหน่ายจะมีกำไรสุทธิที่ดำรงชีพได้ต่อคนต่อเดือนเฉลี่ยปี 2526 และ 2528 ต่อไร่ 233.07 บาท และเกษตรกรที่ทำไร่เพื่อผลิตดอกแห้งจำหน่ายมีกำไรสุทธิต่อเดือนเฉลี่ยปี 2526 และ 2528 เพียง 154.70 บาท ซึ่งยังคงต่ำกว่าการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการจ้างแรงงานในอัตราค่าจ้างที่ต่ำเพียงวันละ 20-30 บาทส่งผลให้เกษตรกรยังอยู่ในสภาพที่ยากจน และมักจะเกิดการโยกย้ายแรงงานไปสู่ในเมือง หรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีค่าจ้างขั้นต่ำที่สูงกว่ากำไรที่ได้รับจากการทำไร่เก๊กฮวยเพื่อผลิตดอกเก๊กฮวยแห้งจำหน่าย ดังนั้นในการส่งเสริมการทำไร่เก๊กฮวยเพื่อผลิตดอกแห้งจำหน่ายจึงจำเป็นที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการปลูกเก๊กฮวยควรร่วมมือกันพัฒนาวิธีการปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ปรับปรุงกรรมวิธีในการทำดอกแห้งให้สะอาดทันสมัย สามารถเก็บผลิตดอกแห้งได้นานด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ดี รวมทั้งสนับสนุนการลงทุนในการทำไร่โดยให้สินเชื่อแก่เกษตรกรมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะมีผลให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น มีกำไรสุทธิจากการทำไร่ต่อคนต่อเดือนสูงขึ้น เป็นการกระจายรายได้สู่ชนบททั้งยังช่วยป้องกันการย้ายถิ่นทำกินเข้าสู่เมืองอีกทางหนึ่งด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | A study on cost and rate of return on investment in chrysanthemum growing for dried chrysanthemum flowers for the season 1983 and 1985 was conducted by gathering the data from the farmers, using Purposive Sampling Method during April 1983 – March 1986. The farmers sampling size and average plantation area surveyed in 1983 and 1985 can be classified into 4 groups as follows: The first group: five farmers who grow and sell fresh chrysanthemum in Amphur Sa Moeng and San Pa Tong, Chieng Mai Province, with the surveyed plantation area of 16¾ rai. The second group: thirteen farmers who grow and sell fresh chrysanthemum in Amphur Muag Lhek, Saraburi Province, with the surveyed plantation area of 39¼ rai. The third group: eighteen farmers, the combination of the first group and the second group with the surveyed plantation area of 56 rai. The fourth group: twenty-six farmers who produce and sell dry chrysanthemum in Amphur Sa Moeng and San Pa Tong, Chieng Mai Province, with the surveyed plantation area of 97 rai. There are two varieties of chrysanthemum, Kor Nor 1 (Source Conservation Division 1) and Kor Nor 2 (Source Conservation Division 2 or Hun Jo). They have two differences, the size of flowers and leaves, whereas they are planted through the same method. Firstly, the seedlings of chrysanthemum are cultured in plots’ or green house. Then, the soil is prepared and fertilized. Chrysanthemum grow in the cold weather and well drained soil and should be well protected from disease and insect. The farmers can harvest chrysanthemum, which grow in May, in the next 5 – 6 month and sell fresh or dehydrated flowers. The dehydrating process begins by steaming chrysanthemum for 4 – 5 minutes and air – dried or heated at 60 ℃ temperature for 6 hours. The summary of cost, revenue, net profit and rate of return on investment average in 1983 and 1985 (The first group ; The second group ; The third group ; The fourth group) are as follows : Average Revenue per rai (Baht) (14,020.90 ; 16,778.60 ; 15,953.75 ; 14,423.25) -- Average total cost per rai (Baht) (-4,894.51 ; -4,855.20 ; -4,766.49 ; -6,997.72) -- Net profit per rai (Baht) (9,126.39 ; 11,923.40 ; 11,187.26 ; 7,425.53) -- Investment per rai (Baht) (5,105.61 ; 5,075.53 ; 4,984.06 ; 8,918.30) -- Return on sales (%) (65.09 ; 71.06 ; 70.12 ; 51.48) -- Return on total cost (%) (186.46 ; 245.58 ; 234.71 ; 106.11) -- Return on investment (%) (178.75 ; 234.92 ; 224.46 ; 83.26) -- Payback Period (Year) (6 Month 17 day ; 5 Month ; 5 Month 7 day ; 11 Month 13 day) -- Net profit per person per month (Baht) (Average number of farmers Per rai is 4 persons) (190.13 ; 248.4 ; 233.07 ; 154.7) It was found that from April 1984 – March 1985, the diseases and insects of chrysanthemum severely destroyed the plantation in Chiengmai. However, the loss from this devastation was not include in the total cost above. The return on investment average in 1983 and 1985 were quite high when compared with the interest rat on fixed deposit account which was 11.60%. Therefore, it seems to be good to take chance in this investment. Although, there are some problems on the appropriateness of land to be used, weather condition, out-of date dehydrating process and methods of distribution. In addition, the high quality import and selling price of dried chrysanthemum are other factor that prevent the expansion of the investment throughout the country. Moreover, the problem that the farmers recently face are the inadequate income for living. The farmer who produces and sells the fresh chrysanthemum has the average net profit in 1983 and 1985 per person per month per rai of 233.07 Baht, while the average net profit for producing and selling dried chrysanthemum is 154.70 Baht. These two income rates are still lower than compensation for labor force used in industry sector. Since at the low wages of 20 – 30 Baht a day paid in chrysanthemum growing the farmers are still in poverty and tend to migrate to the city or Bangkok where the higher wages are paid. To promote chrysanthemum growing for dried chrysanthemum, the involved government offices should develop the growing method that produce higher outputs per rai, and improve dehydrating process. Financial assistance at low interest rate should also be available. As a result, the farmers will then have higher standard of living while the migration rate will also be reduced. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ต้นทุน | - |
dc.subject | เก๊กฮวย | - |
dc.subject | อัตราผลตอบแทน -- ไทย | - |
dc.subject | การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน | - |
dc.title | การศึกษาต้นทุนและอัตราผลตอบแทนในการลงทุนทำไร่เก๊กฮวย เพื่อผลิตดอกเก๊กฮวยแห้งในฤดูการผลิต 2526 และ 2528 | - |
dc.title.alternative | Study on cost and rate of return on investment in chrysanthemum growing for dried chrysanthemum flowers for the season 1983 and 1985 | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การบัญชี | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vison_yi_front_p.pdf | 8.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vison_yi_ch1_p.pdf | 3.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vison_yi_ch2_p.pdf | 16.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vison_yi_ch3_p.pdf | 8.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vison_yi_ch4_p.pdf | 30.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vison_yi_ch5_p.pdf | 10.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vison_yi_ch6_p.pdf | 7.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vison_yi_back_p.pdf | 12.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.