Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62467
Title: | ชนิดและการกระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณอ่าวระยอง จังหวัดระยอง |
Other Titles: | Identification and distribution of fish larvae in rayong bay, Rayong province |
Authors: | วิศิษฏ์ จันทรสกุล |
Advisors: | อภิชาติ เติมวิชชากร ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ลูกปลา ปลา -- การกระจายทางภูมิศาสตร์ ปลา -- แหล่งอาศัย -- การจำแนก ปลา -- อ่าวระยอง -- ระยอง Fishes -- Larvae Fishes -- Geographical distribution Fishes -- Habitat -- Classification Fishes -- Rayong bay -- Rayong |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาชนิด ลัษณะ ปริมาณ และการกระจายของปลาวัยอ่อนในบริเวณอ่าวระยองตั้งแต่ช่องแสมสารถึงบริเวณตะวันตกของเกาะเสม็ด ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2529 ถึงเดือนเมษายน 2530 รวม 10 เดือน โดยเก็บตัวอย่างเดือนละครั้ง จำนวน 11 สถานี และได้ทำการวัดความเห็น อุณหภูมิ และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำทุกครั้งที่ออกเก็บตัวอยาง ปลาวัยอ่อนที่พบมีทั้งหมด 27 ครอบครัว โดยครอบครัว Gobiidae เป็นปลาวัยอ่อนที่พบเสมอและมีจำนวนมาก รองลงมาได้แก่ปลาวัยอ่อนในครอบครัว Callionymidae, Carangidae และ Engraulidae โดย 2 ครอบครัวหลังจัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาครั้งนี้ได้จำแนกปลาวัยอ่อนทุกครอบครัวที่พบ และบรรยายลักษณะที่พบในแต่ละครอบครัวพร้อมทั้งวาดรูปประกอบไว้ ปลาวัยอ่อนรวมทุกครอบครัวมีปริมาณความหนาแน่นเฉลี่ยสูงสุดในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยในช่วงมรสุมดังกล่าวจะพบปลาวัยอ่อนรวมทุกครอบครัวในบริเวณอ่าวระยอง ปริมาณความหนาแน่นของปลาวัยอ่อนรวมทุกครอบครัวมีค่าต่ำสุดในช่วงเปลี่ยนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนปลาวัยอ่อนครอบครัว Garangidae และ Engraulidae ซึ่งเป็นปลาที่มีสำคัญทางเศรษฐกิจนั้น พบว่าปลาวัยอ่อนครอบครัว Carangidae จะกระจายอยู่บริเวณอ่านระยองตอนนอกทั้ง 2 ช่วงมรสุม แต่พบหนาแน่นมากในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนปลาวัยอ่อนครอบครัว Engraulidae พบหน่าแน่นมากบริเวณอ่าวระยองตอนนอกเฉพาะช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนปัจจัยสภาวะแวดล้อมในแต่ละเดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในแต่ละสถานีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปริมาณปลาวัยอ่อนที่ทำการสำรวจนั้นไม่แสดงความสัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับปัจจัยสภาะแวดล้อมที่ศึกษา สำหรับปริมาณไข่ปลาที่พบในบริเวณอ่าวระยองมีปริมาณความหนาแน่นเฉลี่ยสูงสุดในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และน้อยที่สุดในช่วงเปลี่ยนมรสุมจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นตะวันตกเฉียงใต้ส่วนใหญ่จะพบกระจายหนาแน่นมากในอ่าวระยองตอนในบริเวณหน้าปากแม่น้ำระยองและชายฝั่งตำบลมาบตาพุดทั้ง 2 ช่วงมรสุม |
Other Abstract: | Identification and distribution of fish larvae in Rayong Bay from Samae Saen to western coast of Samet Island, were carried out during July, 1986 to April, 1987. Sampling periods were scheduled every month of the total 11 station in the study area. Salinity, temperature and dissolved oxygen were measured in situ. Of the total 27 families of fish larvae recorded from the area, family Gobiidae was the dominant group in terms of abundance and distribution. Fish larvae in the familes of Callionymidae, Carangidae and Engraulidae were next in terms of abundance. Of the latter two families were the economic important fish larvae. Main characteristics of these fish larvae were described and drawn in details. Total density of the Fish larvae (including all families) were highest during the Northeast Monsoon period. During this period, most fish larvae were widely distributed on the Outer Rayong Bay. The lowest density were recorded during the Intermonsoon period (transition period from Northeast to Southwest Monsoon). Of the economic important fish larvae, fish larvae in family Carangidae were most abundant in the Southwest Monsoon period. These fish larvae were widely distributed in the Outer Rayong Bay during the two monsoon periods. The fish larvae in the family Engraulidae, however, were found most concentrated along the Outer Bay during the Northeast Monsoon Environmental factors recorded at each station showed the uniform trend. But these factors varied monthly during the study period. However the fish larvae density did not show significant correlations with the environmental factors recorded. Abundances and distribution of fish eggs were also carried out. The highest density of fish eggs was recorded in the southwest monsoon and the lowest density was recorded in the Intermonsoon period (transition from Northeast to Southwest Monsoon). These fish were also widely distributed in the area of the Rayong River Mouth and the coastal areas of Map Ta Phud during the two Monsoon periods. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62467 |
ISBN: | 9745686581 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wisid_ch_front_p.pdf | 10.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisid_ch_ch1_p.pdf | 9.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisid_ch_ch2_p.pdf | 11.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisid_ch_ch3_p.pdf | 120.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisid_ch_ch4_p.pdf | 12.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisid_ch_ch5_p.pdf | 4.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisid_ch_back_p.pdf | 18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.