Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62472
Title: การวิเคราะห์พลศาสตร์ของอาคารสูงภายใต้แรงลม
Other Titles: Dynamics analysis of tall buildings subjected to wind load
Authors: วิศิษย์ เพชรภูวดี
Advisors: ทักษิณ เทพชาตรี
เริงเดชา รัชตโพธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาคารสูง -- อากาศพลศาสตร์
อากาศพลศาสตร์
Tall buildings -- Aerodynamics
Aerodynamics
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ ที่ได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างประเภทโครงข้อแข็งในระนาบ (Plance Frame) ภายใต้แรงลมโดยทฤษฎีในการวิเคราะห์สองทฤษฎี คือ ทฤษฎีสถิตยศาสตร์ (Statics) และทฤษฎีพลศาสตร์ (Dynamics) ในการวิเคราะห์โดยทฤษฎีสถิตยศาสตร์ ขนาดแรงสมที่ใช้มีค่าตามข้อกำหนดของเทศบัญญัติกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2522 ส่วนการวิเคราะห์โดยทฤษฎีพลศาสตร์ ใช้ข้อมูลลมจำลองตามลมที่เกิดขึ้นจริงในเขตกรุงเทพมหานคร ตามที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว และข้อมูลแรงลมที่เกิดขึ้นจริง ตามกราฟลมมุนโรโดน์ ของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่วัดจากสถานีตรวจอากาศกรุงเทพมหานคร ถนนสุขุมวิท ระหว่าง ปี พ.ศ. 2512 ถึง พ.ศ. 2519 โดยขนาดความเร็วสูงสุดเท่ากับ 110.1 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ความสูงจากพื้นดิน 45 เมตร ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์ ได้นำหลักทฤษฎีพลศาสตร์มาประยุกต์กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อช่วยให้การวิเคราะห์สามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยใช้วิธีแอ็คทิฟว์คอลัมน์ (Active Column Method) ในการลดระดับขั้นความเสรี ใช้วิธีการทำซ้ำในสเปซย่อย (Subspace Iteration Method) ในการแก้ปัญหาเจาะจง (Eigenproblem) และใช้วิธีรวมโหมด (Model Superposition Method) ในการหาการตอบสนองของโครงสร้าง การศึกษาพบว่า สำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 15 ชั้น ผลการวิเคราะห์แบบสถิตยศาสตร์ที่ใช้ขนาดแรงลมตามเทศบัญญัติของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2522 จะให้ค่าการตอบสนองของโครงสร้างใกล้เคียงกับการวิเคราะห์แบบพลศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลลมจำลองจากลมทิ่เกิดขึ้นจริงในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Abstract: The research compares the results of the analysis of plane frames subjected to wind load. Two theories, statics and dynamics, were employed to obtain the structural responses. The lateral load used in the static analysis was in accordance with the Wind Load Code under the Bangkok metropolitan Act (1979). The dynamic analysis, on the other hand, utilized wind simulation for Bangkok in a previous study, together with actual wind data recorded by the Meteorological Department during 1969 – 1976 at the Bangkok Metropolitan Station on Sukhumvit Road. The maximum wind velocity was 110.1 kilometers per hour at a height of 45 meters above ground level. In analyzing the results, a dynamic analysis program was written for the microcomputer in order to expedite the analyses. The active column method was used in reducing the degrees of freedom and the method of subspace iteration was employed in solving the eigenproblem. The structural responses were calculated using the model superposition method. It was found that for a 15 – story reinforced concrete building the structural responses calculated by static analysis were similar to those calculate by dynamic analysis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62472
ISBN: 9745685453
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisit_pe_front_p.pdf10.27 MBAdobe PDFView/Open
Wisit_pe_ch1_p.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Wisit_pe_ch2_p.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open
Wisit_pe_ch3_p.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open
Wisit_pe_ch4_p.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open
Wisit_pe_ch5_p.pdf12.36 MBAdobe PDFView/Open
Wisit_pe_ch6_p.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Wisit_pe_back_p.pdf54.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.