Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62483
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประหยัด หงษ์ทองคำ-
dc.contributor.advisorบวรศักดิ์ อุวรรณโณ-
dc.contributor.authorวุฒิชัย ไทยเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-07-19T09:16:28Z-
dc.date.available2019-07-19T09:16:28Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745814725-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62483-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535-
dc.description.abstractองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นรูปแบบของการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยรูปแบบหนึ่ง ตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 มีอำนาจในการจัดบริการสาธารณะในพื้นที่ของจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตของเทศบาลหรือสุขาภิบาลใดโดยมีองค์กรหลักที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ สภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่ในด้านการตราข้อบัญญัติของจังหวัด ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณส่วนจังหวัดกับมีผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างกว้างขวาง แต่ในขณะเดียวกันสภาจังหวัดซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชนโดยตรง กลับไม่ค่อยมีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีอำนาจควบคุมกำกับการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของทางราชการ เป็นผู้มีบทบาทต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นอย่างมาก ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีลักษณะเป็นกึ่งท้องถิ่น กึ่งภูมิภาคมิได้เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นที่เต็มรูปแบบบ ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายเพื่อพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงควรกระทำโดยการให้สภาจังหวัดสามารถควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นและประชาชนยิ่งขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดควรมีหน้าที่เฉพาะในงานด้านการกำหนดนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยให้อำนาจในการควบคุมการปฏิบัติเป็นของปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ซึ่งควรเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นองค์กรเดียวที่ใช้อำนาจในการควบคุมกำกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด-
dc.description.abstractalternativeThe Provincial Organization Administration, one of local administration forms of Thailand, set up by the Provincial Organization Administration Act B.E. 2498, is authorized to render public services in the province’s area which is not located in the municipality or in the santitary district units. It consists of two major parts, The Provincial Council, whose members are elected by the people to make the provincial regulations, to look after the function of the administration and provincial budget, and a governor appointed by the Ministry of Interior, head of the administration department of the Provincial Organization Administration. The Provincial Organization Administration is quasi-provincial and local administration form because of the following factors : under the law, a governor is authorized to run the Provincial Administration Organization, whereas, the Provincial Council which is the direct representative of people has no practical power to control the governor’s function. Moreover, the governor, as the head of the provincial administration, is authorized to supervise the function of the Provincial Organization Administration. It enables the governor, a representative of the government have more influence on the Provincial Organization Administration's affairs. Consequently, the regulation amendment to better the function of the Provincial Organization Administration more efficiently should be to give more power to the Provincial Council to control the function of the administration department to response to public desires. The governor should be responsible on the policy-making. The implementation should be under the control of the head of local body and the Interior Minister should be the only organ to supervise the Provincial Organization Administration.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- ไทย-
dc.subjectสภาจังหวัด -- ไทย-
dc.subjectผู้ว่าราชการจังหวัด -- ไทย-
dc.subjectองค์การบริหารส่วนจังหวัด-
dc.subjectLocal government -- Thailand-
dc.subjectProvincial governments -- Thailand-
dc.subjectGovernors -- Thailand-
dc.titleความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างสภาจังหวัดกับผู้ว่าราชการจังหวัด-
dc.title.alternativeLegal relation between the provincial council and the provincial governor-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wuttichai_th_front_p.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open
Wuttichai_th_ch1_p.pdf14.44 MBAdobe PDFView/Open
Wuttichai_th_ch2_p.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Wuttichai_th_ch3_p.pdf29.77 MBAdobe PDFView/Open
Wuttichai_th_ch4_p.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Wuttichai_th_ch5_p.pdf25.19 MBAdobe PDFView/Open
Wuttichai_th_ch6_p.pdf17.5 MBAdobe PDFView/Open
Wuttichai_th_back_p.pdf18.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.