Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62495
Title: การผลิตกรดมะนาวจากแป้งมันสำปะหลังโดย แอสเปอร์จิรัสไนเจอร์ สายพันธุ์ A 185 ด้วยวิธีการหมักในอาหารเหลว
Other Titles: Citric acid production from tapioca with Aspergillus niger, strain A185 by submerged fermentattion
Authors: ศยามล นองบุญนาก
Advisors: วินิจ ขำวิวรรธน์
ส่งศรี กุลปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กรดมะนาว
แป้งมันสำปะหลัง
แอสเพอร์จิลลัสไนเจอร์
กรดมะนาว -- การผลิต
Citric acid
Tapioca starch
Aspergillus niger
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการตรวจสอบเชื้อรา Aspergillus niger A 185 ทั้ง 12 สายพันธุ์ ในขวดทดลองพบว่า A. niger สายพันธุ์ A 185 สามารถผลิตกรดได้สูงสุด คือ 120 กรัม/ลิตร จากนั้นได้ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมของการผลิตกรดมะนาวโดยเชื้อ A. niger สายพันธุ์ A 185 เพื่อใช้ในงานวิจัยนี้ จากการศึกษาการผลิตกรดมะนาวโดยเชื้อ A. niger สายพันธุ์ A 185 ด้วยวิธีการหมักในอาหารเหลว พบว่า อาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมสำหรับการเจริญและการผลิตกรดมะนาวประกอบด้วยแป้งที่ย่อยแล้ว 450 กรัม/ลิตร แอมโมเนียมซัลเฟต 2.5 กรัม/ลิตร โปตัสเซียมโมโนไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.4 กรัม/ลิตร โปตัสเซียมไดโอไดรเจนฟอสเฟต 0.4 กรัม/ลิตร และแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตาไฮเดรท 0.4 กรัม/ลิตร ปรับความเป็นกรด-ด่าง เริ่มต้นในอาหารเลี้ยงเชื้อเท่ากับ 6.5 สภาวะที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงเชื้อในระดับขวดเขย่า คือ การเขย่าด้วยความเร็ว 250 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิ 30°ซ. จำนวนสปอร์เริ่มต้นในหัวเชื้อเท่ากับ 1x10⁷ สปอร์/มล. เมื่อนำเชื้อรา A. niger สายพันธุ์ A 185 มาเลี้ยงในอาหารและสภาวะที่เหมาะสมดังกล่าวข้างต้น ในระดับขวดเขย่าทำให้เชื้อราผลิตกรดมะนาวเพิ่มขึ้นจาก 106 กรัม/ลิตร เป็น 156 กรัม/ลิตร ที่ความเป็นกรด-ด่างในน้ำหมักเท่ากับ 1.5 – 2.0 เมื่อทำสภาวะดังกล่าวมาเลี้ยงเชื้อราในถังหมักขนาด 5 ลิตร พบว่าผลผลิตกรดมะนาวยังต่ำอยู่เมื่อเทียบกับการผลิตกรดมะนาวในระดับขวดเขย่า
Other Abstract: Citric acid production by Aspergillus niger A 185 under submerged fermentation was investigate, A. niger A 185 could produce citric acid by using hydrolysed starch as a carbon source. The suitable medium composition for the production of citric acid in shaken flask consisted of hydrolysed starch 450 g/l, ammonium sulfate 2.5 g/l, potassium monohydrogen phosphate 0.4 g/l, potassium dihydrogen phosphate 0.4 g/l and magnesium sulfate heptahydrate 0.4 g/l and medium was adjusted to 6.5. The optimal cultivation conditions were incubation at 30 °C. with shaking at 250 rpm. The inoculum contained 1x10⁷ spore/ml. Under the above conditions, citric acid production by A. niger A 185 was increased from 106 g/l to 156 g/l in shaken flask at pH 1.5 – 2.0. Using the same conditions in 5-L fermentor, it was found that citric acid production was still considerably low when compared to that of in shaken flask.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62495
ISBN: 9745794597
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sayamol_no_front_p.pdf7.37 MBAdobe PDFView/Open
Sayamol_no_ch1_p.pdf8.6 MBAdobe PDFView/Open
Sayamol_no_ch2_p.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Sayamol_no_ch3_p.pdf26.07 MBAdobe PDFView/Open
Sayamol_no_ch4_p.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open
Sayamol_no_back_p.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.