Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62504
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรับช่วงสิทธิ
Other Titles: Legal problems concerning the subrogation
Authors: ศรัณย์ พรหมสุรินทร์
Advisors: จุฑา กุลบุศย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การรับช่วงสิทธิ -- ไทย
หนี้
การชำระหนี้
Subrogation -- Thailand
Debt
Performance (Law)
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบหลักเกณฑ์การรับช่วงสิทธิว่ามีอยู่อย่างไร ควรถือหลักอย่างไร และมีปัญหาอย่างไรบ้าง ผลการวิจัยพบว่า การับช่วงสิทธิ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การรับช่วงสิทธิอันเนื่องมาจากมีการใช้ค่าสินไหมทดแทนตัวทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้อย่างหนึ่ง และการรับช่วงสิทธิอันเนื่องมาจากมีการใช้หนี้แทนลูกหนี้อีกอย่างหนึ่ง สำหรับการรับช่วงสิทธิในกรณีหลังนั้น มีทฤษฎีหรือวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้เข้าใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ ดังนั้น ผู้รับช่วงสิทธิจึงได้สิทธิของเจ้าหนี้ไปเท่าที่ตนต้องเสียไปให้แก่เจ้าหนี้เท่านั้น จะเรียกมากกว่านั้นไม่ได้ ส่วนการรับช่วงสิทธิในกรณีแรก มีลักษณะพิเศษ คือ มีทฤษฎี หรือวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองฝ่ายเจ้าหนี้เป็นสำคัญ โดยการรับช่วงสิทธิเป็นเพียงเครื่องจูงใจลูกหนี้ให้รีบใช้หนี้แทนแก่เจ้าหนี้เท่านั้น และหนี้ที่ใช้ไปกับหนี้ที่ได้รับช่วงมานั้นเป็นหนี้คนละสายแยกกัน ต่างจากการรับสิทธิในกรณีหลังที่มีหนี้เพียงสายเดียว ดังนั้น ผู้รับช่วงสิทธิจะได้สิทธิของเจ้าหนี้ไปเพียงใด จึงไม่จำเป็นต้องถือหลักดังกล่าวข้างต้น แต่ถือหลักว่า หากตนใช้หนี้ของตนครบถ้วนแล้ว ก็ย่อมได้สิทธิในหนี้อีกสายหนึ่งครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายด้วย แต่ถ้าตนใช้หนี้ของตนเพียงบางส่วนก็ย่อมจะได้สิทธิในหนี้อีกสายหนึ่งแต่บางส่วนเป็นสัดส่วนกัน ซึ่งหากหนี้ทั้งสองสายมีมูลค่าไม่เท่ากัน ผู้รับช่วงสิทธิอาจได้สิทธิที่มีมูลค่ามากหรือน้อยกว่ามูลค่าที่ตนต้องเสียไปก็ได้ ดังนั้น หลักการรับช่วงสิทธิทั้งสองกรณีนี้จึงมิใช่หลักเดียวกัน ดังที่มีผู้เข้าใจโดยทั่วไป
Other Abstract: This study was to understand the principles and problems concerning the subrogation. It was found that the subrogation can be divided into two categories, these are subrogation owing to compensation for a damage of the value of things which is the subject of the obligation in lien of the debtor. The important theory of the latter is for protecting the third person who perform the obligation, so the obligor will receive the obligee’s right in equal to the performed debt, not more than this. But the former has a special manner, namely, it has the important objective or theory for only insisting the debtor to perform the debt, and the performed debt and the subrogated debt is not the same debt as the first one. Then the subrogated right does not depend on the value of compensation, as the principle cited above, but it depends on the new procedure, namely, if the debtor performs the full of his debt, he will receive the full of another creditor’s right, but if he performs only the part of creditor’s right, which is proportional. So, if the values of two debts are not equal, the subrogor may receive more or less value of right than the compensation. Thus the procedure of these subrogation is not alike, as we understand.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62504
ISBN: 9745777056
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarun_pr_front_p.pdf10.71 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_pr_ch1_p.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_pr_ch2_p.pdf52.76 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_pr_ch3_p.pdf99.97 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_pr_ch4_p.pdf63.69 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_pr_ch5_p.pdf19.42 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_pr_ch6_p.pdf11.94 MBAdobe PDFView/Open
Sarun_pr_back_p.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.