Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62534
Title: แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบกฎหมายไทยในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
Other Titles: Conceptual framewory of Thai law on technology transfer
รูปแบบกฎหมายไทยในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
Authors: ศิระ บุญภินนท์
Advisors: ณรงค์ รัตนะ
สุรเกียรติ เสถียรไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การถ่ายทอดเทคโนโลยี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
กฎหมาย -- ไทย
เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
สิทธิบัตร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
บรรษัทข้ามชาติ
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
พระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522
พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520
อนุสัญญากรุงปารีสสำหรับคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม พ.ศ. 2510
พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485
Technology transfer -- Law and legislation
Law -- Thailand
Trademarks -- Law and legislation
Patents -- Law and legislation
International business enterprises
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบรายละเอียดของระบบควบคุมการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีใช้ในบางประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งวิธีการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางสำหรับประเทศไทยหากจะมีระบบเช่นนี้บ้าง ผลการวิจัยพบว่าระบบควบคุมไม่ว่าโดยมาตรการทางกฎหมายหรือมาตรการทางบริหารจะควบคุมในประเด็นค่าตอบแทน, เนื้อหาสัญญาและตัวเทคโนโลยีเอง ปัจจุบันมีกฎหมายไทยเพียงบางฉบับที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี บางฉบับมีผลในทางส่งเสริม แต่บางฉบับควบคุมโดยเฉพาะในประเด็นควบคุมการทำสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี ในต่างประเทศบางประเทศประสบความสำเร็จจากการควบคุมในขณะที่บางประเทศล้มเหลว ประเทศไทยเคยมีความพยายามที่จะออกกฎหมายหรือกฎระเบียบในการควบคุมถึง 2 ครั้งโดยเฉพาะคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การควบคุมอาจมีทั้งผลดีและผลเสียและภาคเอกชนคงมีข้อคัดค้าน บทบาทที่รัฐควรกระทำไม่ว่าจะโดยออกเป็นกฎหมายเฉพาะหรือวิธีใดนั้นควรเป็นการส่งเสริมอันจะมีความเป็นไปได้มากกว่า ดังนั้นรูปแบบกฎหมายไทยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีควรเป็นกฎหมายส่งเสริม โดยเฉพาะการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาโดยมีแนวคิดและรูปแบบดังที่วิเคราะห์ไว้
Other Abstract: This research was to understand the details of technology transfer control system being used in certain countries, especially in developing countries including the promotion of technology transfer which will be used as a guidance in Thailand if it want to have such system. It was found that the system controls over the compensation issue, terms of contract and technology itself. Many countries are successful in establishing the system but some are failure in doing so. There have been twice attempts by the Board of Investment of Thailand to enact law or regulation to control technology transfer. At present, there are some Thai laws relevant to technology transfer. Some have an effect in promoting the transfer and some in control, especially in the execution of technology transfer contracts. In Thailand this system may produce a good or bad effect. The private sectors, however, still have some objection on such establishment as well. The Thai government’s role, no matter by means of enacting a specific law or otherwise should be technology transfer promotion. Therefore, the form of Thai technology transfer law should be in term of promoting laws, in particular in R&D promotion.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62534
ISBN: 9745779512
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sira_bo_front_p.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_ch1_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_ch2_p.pdf21.66 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_ch3_p.pdf22.41 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_ch4_p.pdf42.43 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_ch5_p.pdf74.88 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_ch6_p.pdf22.24 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_ch7_p.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
Sira_bo_back_p.pdf7.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.