Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62567
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน จากการทำฟาร์มเลี้ยงปลา ฟาร์มเลี้ยงเป็ด และฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน ในจังหวัดนครปฐม |
Other Titles: | Comparative study of cost and return on investment of fish, buck and fish cum duck frams in Nakhonpathom province |
Authors: | ศิริรัก หร่มระฤก |
Advisors: | กำธร แก้วไพฑูรย์ ดวงมณี โกมารทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ปลา -- การเลี้ยง -- ต้นทุน เป็ด -- การเลี้ยง -- ต้นทุน ต้นทุนและประสิทธิผล การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์และประเมินโครงการ ไร่นาแบบผสมผสาน |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน และการทำฟาร์มเฉพาะอย่าง ซึ่งได้แก่ฟาร์มเลี้ยงเป็ดและฟาร์มและฟาร์มเลี้ยงปลา ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน โดยได้ทำการศึกษาในเขตจังหวัดนครปฐม ข้อมูลที่ทำการศึกษาครั้งนี้ได้จากการสัมภาษณ์เกตรตรผู้เลี้ยงเป็ด ผู้เลี้ยงปลา และผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน อย่างละ 15 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 45 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และขนาดของฟาร์มแต่ละประเภทจัดแบ่งเป็น 3 ขนาดคือ ฟาร์มขนาดเล็ก มีเนื้อที่บ่อปลาตั้งแต่ 2-4 ไร่ และมีการเลี้ยงเป็ดตั้งแต่ 1,000-2,000 ตัว ฟาร์มขนาดกลาง มีเนื้อที่บ่อมากกว่า 4-10 ไร่ และมีการเลี้ยงเป็ดมากกว่า 2,000-5,000 ตัว และฟาร์มขนาดใหญ่มีเนื้อที่บ่อมากกว่า 10 ไร่ขึ้นไป และมีการเลี้ยงเป็ดมากกว่า 5,000 ตัวขึ้นไป ทั้งนี้จะทำการคัดเลือกฟาร์มตัวอย่างของฟาร์มแต่ละประเภทขนาดละ 5 ฟาร์ม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2528 ถึงเดือนมิถุนายน 2529 ผลการศึกษาปรากฏว่า ในระหว่างเดือนมกราคม 2528 ถึงเดือนมิถุนายน 2529 เกตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงเป็ด ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีเงินทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 129,279.93, 315,550.20 และ 717,027.73 บาท ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยฟาร์มละ 690,742.49, 1,420,538.83 และ 3,955,541.66 บาท หรือเฉลี่ยตัวละ 448.53, 449.54 และ 450.96 บาท ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟาร์มละ 767,213.03, 1,551,670.25 และ 4,002,270.37 หรือเฉลี่ยตัวละ 498.19, 491.14 และ 451.72 บาท ตามลำดับ ทำให้เกิดผลขาดทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 76,470.54, 131,131.42 และ 6,728.71 บาท หรือเฉลี่ยตัวละ 49.66, 41.50 และ 0.76 บาท ตามลำดับ เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 159,331.25, 261,296.30 และ 381,462.14 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 49,791.02, 36,291.15 และ 22,979.65 บาท ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยฟาร์มละ 76,341.60, 193,078.80 และ 363,115.40 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 23,856.75, 26,816.50 และ 21,874.43 บาท ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟาร์มละ 122,534.69, 208,701.06 และ 379,414.77 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 38,292.11, 28,986.27 และ 22,856.31 บาท ตามลำดับ ทำให้เกิดผลขาดทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 46,193.09, 15,662.26 และ 16,299.37 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 14,435.36, 2,169.77 และ 981.88 บาท ตามลำดับ สำหรับเกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 134,794.53, 206,896.67 และ 1,116,236.40 บาท รายได้เฉลี่ยฟาร์มละ 638,014.58, 1,564,227.60 และ 6,398,982.10 บาท ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟาร์มละ 690,515.94, 1,575,998.51 และ 6,203,846.21 บาท ตามลำดับ ทำให้ฟาร์มขนาดเล็ก และขนาดกลาง เกิดผลขาดทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 52,501.36 และ 11,770.91 บาท ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่มีผลกำไรเฉลี่ยฟาร์มละ 195,135.89 บาท เมื่อปันส่วนต้นทุนของฟาร์มผสมผสานให้กับการเลี้ยงเป็ดและการเลี้ยงปลา ปรากฏว่า การเลี้ยงเป็ดของฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 97,831.20, 164,296.00 และ 1,044,615.40 บาท ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยฟาร์มละ 580,865.98, 1,401,465.60 และ 6,032,979.30 บาท หรือเฉลี่ยตัวละ 453.80, 427.28 และ 430.93 บาท ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟาร์มละ 660,337.69, 1,518,061.62 และ 6,076,065.87 บาท หรือเฉลี่ยตัวละ 515.91, 462.82 และ 434.02 บาท ตามลำดับ ทำให้เกิดผลขาดทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 79,471.71, 116,596.02 และ 43,086.57 บาท หรือเฉลี่ยตัวละ 62.11 , 35.54 และ 3.09 บาท ตามลำดับ การเลี้ยงปลาของฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีเงินลงทุนเฉลี่ยฟาร์มละ 36,963.33, 42,600.67 และ 71,621.00 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 10,871.57, 6,871.08 และ 3,850.59 บาท ตามลำดับ รายได้เฉลี่ยฟาร์มละ 57,148.60, 162,762.00 และ 366,002.80 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 16,808.41, 26,251.93 และ 19,677.57 บาท ตามลำดับ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟาร์มละ 30,180.25 , 52,936.89 และ 12,780.34 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 8,876.55, 8,538.20 และ 6,869.89 บาท ตามลำดับ ทำให้เกิดผลกำไรเฉลี่ยฟาร์มละ 26,968.35, 109,825.11 และ 238,222.34 บาท หรือเฉลี่ยไร่ละ 7,931.86, 17,713.73 และ 12,807.68 บาท ตามลำดับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานและการทำฟาร์มเฉพาะอย่างประสบผลขาดทุนเนื่องจากได้นำต้นทุนค่าเสียโอกาส อันได้แก่ ค่าแรงงานในครัวเรือน ค่าเช่าที่ดิน และค่าดอกเบี้ยเงินทุนส่วนตัวมาคำนวณต้นทุนด้วย จึงทำให้ต้นทุนการทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานและการทำฟาร์มเฉพาะอย่างค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตต่อตัว (เป็ด) และต่อไร่ จะพบว่า การทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานขนาดเล็กจะมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าฟาร์มเลี้ยงเป็ดตัวละ 17.72 บาท ส่วนฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าฟาร์มเลี้ยงเป็ดตัวละ 28.22 และ 17.70 บาท และต้นทุนการผลิตของฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางและขนาดใหญ่ต่ำกว่าฟาร์มเลี้ยงปลาไร่ละ 29,415.56, 20,448.07 และ 15,986.42 บาท ตามลำดับ และผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อไม่นำต้นทุนค่าเสียโอกาสมาคำนวณต้นทุนการผลิตจะสูงกว่าฟาร์มเลี้ยงเป็ดเฉลี่ย ร้อยละ 13.87, 35.53 และ 15.82 และสูงกว่าฟาร์มเลี้ยงปลาเฉลี่ยร้อยละ 8.44, 18.50 และ 33.88 ตามลำดับ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน คือ ปัญหาการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงเป็ดไม่เป็นไปตามอัตราส่วนที่เหมาะสม ปัญหาเรื่องปลามีอัตราการแพร่พันธุ์เร็ว ทำให้ปริมาณปลาในบ่อหนาแน่นเกินไป ปัญหาเรื่องราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ปัญหาเป็ดรุ่นมีราคาสูง ปัญหาไข่เป็ดมีราคาต่ำ ปัญหาพ่อค่าคนกลางกดราคาขาย และปัญหาขาดแคลนเงินทุน เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน และผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาอาชีพนี้ต่อไป ในการแก้ปัญหาผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับเกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน 1.1 เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานควรนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ปรับปรุงการทำฟาร์มผสมผสาน เช่น การคัดเลือกพันธุ์เป็ดและพันธุ์ปลา และการจัดสัดส่วนการเลี้ยงปลาให้สมดุลกับจำนวนเป็ดและสัมพันธ์กับเนื้อที่บ่อปลา เป็นต้น 1.2 เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานควรหาทางลดค่าอาหารเป็ด เช่น ใช้วัตถุดิบทีมีราคาต่ำแทนวัตถุดิบที่มีราคาแพงโดยที่มีคุณภาพหรือคุณค่าทัดเทียมกัน และการคิดสูตรอาหารเป็ดที่มีต้นทุนต่ำ แต่ให้มีปริมาณโปรตีนตามที่เป็ดต้องการ 1.3 เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานควรมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและเป็ด เพื่อจะได้มีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลางมากยิ่งขึ้น 1.4 ในการขยายการผลิตนั้น เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสาน ควรจะพิจาณาเพิ่มปัจจัยการผลิต ได้แก่ จำนวนแรงงาน ค่าอาหารเป็ดให้มีจำนวนที่ได้สัดส่วนกับจำนวนเป็ดที่เลี้ยงและขนาดเนื้อที่บ่อที่ขยายเพิ่มเติมออกไป 2. ข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐบาล 2.1 รัฐบาลควรช่วยเหลือด้านเงินทุน โดยให้เกษตรกรผู้ทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาคืนเงินกู้ยาวนานพอสมควร มีระยะเวลาปลอดหนี้ในช่วงการกู้ยืมระยะแรก รวมทั้งการให้ความสะดวกรวดเร็วในการกู้ยืมด้วย 2.2 รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ โดยทำการศึกษาถึงปริมาณมูลเป็ดสูงสุดต่อวันเพื่อให้อาหารปลาในอัตราการปล่อยปลาต่างๆ กัน โดยที่ปลาไม่เป็นอัตรายและศึกษาถึงอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อปลาจากมูลเป็ดของปลาแต่ละชนิด เพื่อนำมาพิจารณาอัตราการปล่อยปลาที่เหมาะสมต่อไป 2.3 รัฐบาลควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางด้านราคาไข่เป็ดและราคาปลาโดยมุ่งไปในแนวทางที่จะช่วยให้ราคามีเสถียรภาพและเป็นธรรมแก่ผู้เลี้ยง และช่วยเหลือเกี่ยวกับการลดต้นทุนการเลี้ยง เช่น ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารและสูตรอาหาร นอกจากนี้ควรปรับปรุงระบบกลไกการตลาดให้มีอำนาจในการต่อรองของผู้เลี้ยงให้มากขึ้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาการทาฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานดังกล่าว ถ้าไดรับการแก้ไขและได้รับความร่วมืออย่างดีพร้อมทุกฝ่ายแล้ว จะทำให้การทำฟาร์มเลี้ยงปลาและเป็ดแบบผสมผสานสามารถพัฒนากลายเป็นอาชีพหลักอาชีพหนึ่งของประชาชนต่อไป และจะทำให้ผลกำไรจากการทำเกษตรของเกษตรกรสูงขึ้นอีกด้วย |
Other Abstract: | This thesis aims to investigate and compare cost and return on investment of fish, duck and fish cum duck farms and to study the problem of fish cum duck farms only. Nakhonphatom is the chosen site of the study. Primary Data are gathered from the interview of 45 farmers who are duck-farmers, fish-farmers and fish cum duck farmers, 15 farmers from each category. Fish, duck and fish cum duck farms are divided into three categories; small size farm which has pond size of 2 to 4 rais and between 1,000 to 2,000 ducks; medium size farm which has pond size 4 to 10 rais and between 2,000 to 5,000 ducks; and large size farm which has pond size over 10 rais and over 5,000 ducks, 5 farms are selected from each category. The production period from January 1985 to June 1986 was selected for the study. The study revealed that from January 1985 to June 1986, the average capital investment of duck farms for small, medium and large size farms were 129,279.93, 315,550.20 and 717,027.73 baht/farm or 83.95, 99.86 and 80.93 baht/unit (duck) respectively. The average revenue were 690,742.49, 1,420,538.83 and 3,955,541.61 baht/farm or 448.83, 449.54 and 450.96 baht/unit (duck) respectively. And the average production cost were 767,213.03, 1,551.670.25 and 4,002,270.37 baht/farm or 498.19, 491.14 and 451.72 baht/unit (duck) respectively. Thus results in a loss of 76,470.54, 131,131.42 and 6,728.71 baht/farm or 49.66, 41.50 and 0.76 baht/unit (duck) respectively. The average capital investment of small, medium and large size of fish farms were 159,331.25, 261,296.30 and 381,462.14 baht/farm or 49,791.02, 36,291.15 and 22,979.65 baht/rai respectively. The average revenue were 76,341.60, 193,078.80 and 363,115.40 baht/farm or 23,856.75, 26,816.50 and 21,874.43 baht/farm respectively. And the average production cost were 122,534.69, 208,701.06 and 379,414.77 baht/farm or 38,292.11, 28,986.27 and 22,856.31 baht/rai respectively. Thus results in a loss of 46,193.09, 15,662.26 and 16,299.37 baht/farm or 14,453.36 , 2,196.77 and 981.88 baht/rai respectively. The average capital investment of fish cum duck farms for small, medium and large size farms were 134,794.53, 206,896.67 and 1,116,236.40 baht/farm. The average revenue were 638,014.58, 1,564,227.60 and 6,398,982.10 baht/farm and the average production cost were 690,515.94, 1,575,998.51 and 6,203,846.21 baht/rai respectively. Thus results in a loss of 52,501.36 and 11,770.91 baht/farm for small and medium size farms and a profit of 195,135.89 baht/farm for large size farm. When production costs were allocated to duck and fish farms, It appeared that the average capital investment of small, medium and large size farm of duck culture were 97,831.20, 164,296.00 and 1,044,615.40 baht/farm or 63.53, 51.99 and 117.90 baht/unit (duck) respectively. The average revenue were 580,865.98, 1,401,465.60 and 6,032,979.30 baht/farm or 453.80, 427.28 and 430.93 baht/unit (duck) respectively and the average production cost were 660,337.69, 1,518,061.62 and 6,076,065.87 baht/farm or 515.91, 462.82 and 434.02 baht/unit (duck) respectively. Thus results in a loss of 79,471.71, 116,596.02 and 43,086.57 baht/farm or 62.11, 35.54 and 3.09 baht/unit (duck) respectively. The average capital investment of small, medium and large size farm of fish culture were 36,963.33, 42,600.67 and 71,621.00 baht/farm or 10,871.57, 6,871.08 and 3,850.59 baht/rai respectively. The average revenue were 57,148.60, 162,762.00 and 366,002.80 baht/farm or 16,808.41, 26,251.93 and 19,677.57 baht/rai respectively and the average production cost were 30,180.25, 52,936.89 and 127,780.34 baht/farm or 8,876.55, 8,538.20 and 6,869.89 baht/rai respectively. Thus, results in a profit of 26,968.35, 109,825.11 and 238,222.34 baht/farm or 7,931.86, 17,713.73 and 12,807.68 baht/rai respectively. The production cost was rather high because opportunity costs such as family labor, rent and interest on capital were also included in the calculation. Comparing the average production cost per unit (duck) and per rai between fish, duck and fish cum duck farms showed that the average production cost of fish cum duck farms of small size farm was 17.72 baht/unit (duck) higher than that of duck farms and the average production cost of fish cum duck farms of medium and large size farm were 28.22 and 17.70 baht/unit (duck) lower than of duck farms. The average production cost of fish cum duck farms of small, medium and large size farms were 29,415.56, 20,448.07 and 15,986.42 baht/rai lower than that of fish farms. When excluding opportunity costs, the return on investment of fish cum duck farms of small, medium and large size farms were 13.87, 35.53 and 15.82 percent higher than that of duck farms and 8.44, 18.50 and 33.80 percent higher than that of fish farms. Major problems encountered in fish cum duck farms were as follow:- the inappropriate ratio of duck and fish culture, the intensity number of fish in the pond due to quick breeding, the unstable price of animal feed; the increase of duckling price. The decrease of the selling price of eggs, problems from dealers and lack of capital investment: To resolve these problems, it is recommended that close collaboration among all parties concerned is essential, particularly along the following line. For fish cum duck farmers; 1. Fish cum duck farmers should use high technology in their undertaking such as how to select the duckling and fry and manage the ratio between duck and fish in good proportion. 2. Fish cum duck farmers should produce their duck feed by using local materials in order to reduce the cost of production. 3. Fish cum duck farmers should try to form themselves in groups in order to achieve certain bargaining power in price-fixing for their products. 4. The Farmers should see to it that increased production factors such as labor, and animal feed are in line with the increasing farm size. Recommendations for Government: 1. The government should expand credit facility to the fish cum duck farming industry. The credit facility should include low interest rate, long-term credit with certain grace period. 2. The government should assist the private sector by studying the quantity of duck manure for fish culture in different proportion in order to consider the suitable ratio between duck and fish. 3. The government should assist the farmers by setting the price of eggs and fish to make it stable and fair for them and give assistance on animal feed and suitable feed formula in order to reduce the production cost. Furthermore, the government should improve marketing technique to create collective bargaining power for the farmers. With such efforts to alleviate all the above mentioned problems and obstacles, fish cum duck farms could become one of the prominent income producing ventures in the country. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62567 |
ISBN: | 9745686101 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sirirak_ro_front_p.pdf | 22.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_ch1_p.pdf | 6.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_ch2_p.pdf | 31.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_ch3_p.pdf | 50.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_ch4_p.pdf | 17.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_ch5_p.pdf | 16.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_ch6_p.pdf | 24.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_ch7_p.pdf | 7.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sirirak_ro_back_p.pdf | 39.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.