Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62579
Title: | รูปแบบของไอโซไซม์ของแคลลัสและต้นที่เจริญจากแคลลัสของยาสูบ |
Other Titles: | I sozyme pattern of callus and regenerated plant of tobacco ไอโซไซม์ของแคลลัส |
Authors: | ศิริลักษณ์ เอี่ยมธรรม |
Advisors: | มนทกานติ วัชราภัย สมิต บุญเสริมสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ไอโซเอ็นซัยม เปอร์ออกซิเดสไอโซซัยม แคลลัส (พฤกษศาสตร์) ยาสูบ -- การปรับปรุงพันธุ์ การกลายพันธุ์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แคลลัสของยาสูบ 2 ชนิด คือ Nicotiana tabacum และ N. rustica มีรูปแบบเปอร์ออกซีเดสไอโซไซม์ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนแคลลัสของยาสูบชนิดเดียวกันไม่ว่าจะชักนำมาจากส่วนลำต้นหรือใบก็ให้รูปแบบเปอร์ออกซิเดสไอไซม์ที่คล้ายคลึงกันมากเมื่อเปรียบเทียบรูปแบบเปอร์ออกซีเดสไอโซไซม์ของแคลลัสปฐมภูมิและทุติยภูมิ อายุ 30, 50, 70 และ 90 วัน พบว่ามีรูปแบบไอโซไซม์ไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากนี้ยังตรวจพบเปอร์ออกซีเดสไอโซม์ที่ปล่อยลงในอาหารเลี้ยงเนื้อเยื่ออีกด้วย แคลลัสเลี้ยงในอาหารที่เติม IAA และ 2,4-D ในปริมาณ 1.9 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความแตกต่างกันทั้งในลี การเกาะกลุ่มของเซลล์ และเปอร์เซนต์การเกิดต้น โดยแคลลัสเลี้ยงในอาหารที่เติม IAA มีเปอร์เซนต์การเกิดต้นสูงกว่าแคลลัสเลี้ยงในอาหารที่เติม 2,4-D การตรวจเปอร์ออกซิเดสไอโซไซม์ของแคลลัสสามารถยืนยันความแตกต่างของแคลลัสแต่ละกลุ่ม นอกจากนั้นยังพบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบเปอร์ออกซิเดสไอโซไซม์กับลักษณะภายนอกและความสามารถในการเกิดต้นของแคลลัส โดยที่แคลลัสที่มีการเกาะกลุ่มของเซลล์แน่น มีสีค่อนข้างเขียว มีเปอร์ออกซิเดสไอโซไซม์กลุ่มที่เคลื่อนที่เร็วมีความเข้มข้นสูงและจำนวนแถบมาก แคลลัสกลุ่มนี้มีพัฒนาเป็นต้นได้จำนวนมาก ส่วนแคลลัสที่มีการเกาะกลุ่มของเซลล์หลวมชุ่มน้ำ มีสีเหลืองน้ำตาล จะมีเปอร์ออกซิเดสไอโซไซม์กลุ่มเคลื่อนที่เร็วความเข้มต่ำและมีจำนวนแถบน้อยแคลลัสพวกนี้พัฒนาให้ต้นน้อยกว่า การศึกษารูปแบบเปอร์ออกซิเดสไอโซไซม์ของกล้ายาสูบที่เพาะในอาหารสังเคราะห์ และควบคุมสภาพแวดล้อมให้คงที่ มีรูปแบบเปอร์ออกซิเดสไอโซไซม์ที่ค่อนข้างอยู่ตัวมากกว่ายาสูบที่ปลูกในสภาพธรรมชาติ นอกจากนี้ยังพบว่าภายในยาสูบต้นเดียวกันเปอร์ออกซิเดสโซไซม์ในส่วนยอดมีความเข้มต่ำและจำนวนแถบน้อยที่สุดและส่วนที่ถัดลงมาจะค่อยๆ มีความเข้มและจำนวนแถบสูงขึ้น และพบว่ามีสูงสุดที่บริเวณโคนต้นยาสูบ แสดงถึงรูปแบบไอโซไซม์เปลี่ยนแปลงไปสอดคล้องกับหน้าที่ทางสรีระ และสภาวะการพัฒนาของพืช |
Other Abstract: | Calli of two tobacco species, Nicotiana tabacum and N. rustica, were found to have marked different patterns of peroxidase isozymes. Whereas calli of stem and leaf of the same species gave very similar patterns. In comparing the peroxidase isozymes of the primary and secondary calli with different ages, 30, 50, 70 and 90 days similar patterns were also found. These isozymes were also found in the agar medium. Differences of color, compactness of calli and percentage of regeneration were found in calli grown in the media with IAA and 2,4-D at 1.9 mg/l. Calli culture in media supplemented with IAA gave higher percentage of regeneration than the ones in 2,4-D. Results of peroxidase isozyme analysis confirmed the differences in appearance of calli, and the relationship of peroxidase, external appearance, and ability to regenerate were also found. The compact callus with green high concentration with many bands of fast migrating peroxidase isozyme tended to regenerate into whole plant better than the ones with loose, moist with brownish yellow. The latter produced low concentration of isozyme with slow migrating property with fewer bands. The study of peroxidase isozyme of tobacco seedling cultured in synthetic media with no hormone added under controlled environment shows the stability in peroxidase isozyme than the tobacco seedling cultured in nature. Basided this it’s also found that the same tobacco plant producing low concentration of the peroxidase isozyme on the top and gradually increase toward the base of the plant. This study shows the pattern of peroxidase isozyme changes according to its physiological function and its developmental in stage of the plant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62579 |
ISBN: | 9745770817 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriluck_ia_front_p.pdf | 6.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriluck_ia_ch1_p.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriluck_ia_ch2_p.pdf | 4.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriluck_ia_ch3_p.pdf | 26.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriluck_ia_ch4_p.pdf | 11.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriluck_ia_back_p.pdf | 8.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.