Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62583
Title: การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ของหัวคะแนน : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Exchange of interest of the vote canvasser : a case study of Phra Nakhon Si Ayutthaya Pronince
Authors: สมโภชน์ ศรีโภชน์สมบูรณ์
Advisors: กนก วงษ์ตระหง่าน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การเลือกตั้ง -- การทุจริต -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง
Elections -- Corrupt practices -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya
Political corruption
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาเรื่องราวของหัวคะแนนภายใต้บริบทของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ มีสมมุติฐานโดยย่อว่า คุณสมบัติด้านความสามารถในการควบคุมคะแนนเสียงและอาชีพของหัวคะแนนมีส่วนกำหนดลักษณะการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างหัวคะแนนกับผู้สมัครและกับผู้เลือกตั้งใน 3 มิติคือ วิธีการ สิ่งที่ใช้ และเวลาในการแลกเปลี่ยน ในการนี้ศึกษาเฉพาะกรณีหัวคะแนนของผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสังเกตุแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ประกอบกัน โดยสังเกตุการปฏิบัติงานของหัวคะแนนในพื้นที่ที่ศึกษาเป็นเวลา 35 วันก่อนวันเลือกตั้ง และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกหัวคะแนนจำนวน 30 ราย ในระยะ 7 วันหลังการเลือกตั้ง ผลการวิจัยพบว่าคุณสมบัติของหัวคะแนนทั้ง 2 ประการ มีส่วนกำหนดลักษณะการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างหัวคะแนนกับผู้สมัครและกับผู้เลือกตั้งใน 3 มิติดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ได้ตั้งไว้นอกจากนี้ยังพบว่าแบบแผนของการเปลี่ยนผลประโยชน์ของหัวคะแนนในเขตเลือกตั้งนี้ ผู้สมัครให้ความช่วยเหลือแกหัวคะแนนเป็นการส่วนตัวและให้ผลประโยชน์ส่วนรวมแก่ชุมชนโดยผ่านหัวคะแนนในเวลาปกติเมื่อมีการเลือกตั้งผู้สมัครจะแจกจ่ายเงินให้แก่ผู้เลือกตั้ง ผ่านหัวคะแนนและให้เงินแก่หัวคะแนนแลกเปลี่ยนกับการระดมคะแนนเสียง ส่วนหัวคะแนนนั้นช่วยเหลือผู้เลือกตั้งและเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนรวมจากผู้สมัครมาสู่ชุมชนในเวลาปกติ และแจกจ่ายเงินให้แก่ผู้เลือกตั้งรายละ 50 บาทหรือ 100 บาท ก่อนวันเลือกตั้ง 1 วันหรือในวันเลือกตั้งแลกเปลี่ยนกับการไปลงคะแนนเสียง
Other Abstract: This research work has prescribed the relation and swap among the campaigners of vote canvassers election and candidates for house of representative. Under the benefit of exchangeable profits as agreed by brief hypothesis. How vote canvassers can control voters and concerning their earning, these two facts have assigned the benefits of two parties in three dimensions practices, materials and time of exchanging, In this analysis, concerned only the vote canvassers of the elected candidates in Area One, Ayuthaya Province, on 22 March 1992. The datum had been collected by observation, having shared and conversed with all concerned, including observed their working in that area for 35 days before election, having deeply conversed with 30 vote convassers 7 days after election. The final results obtained that, the relation and swap among vote canvassers and candidates are in 3 dimensions as previous mention in this thesis. Beside, having discovered the type of relation and swap in this area, the candidates had personally given donation to community through vote convassers even the election would not be expected yet. When the election came, candidates had given the money for buying votes to vote convassers who assited the candidates having assisted the community in the previous days. About 50 or 100 baht would be given to voters. One day ahead of election day as the price of their votes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62583
ISBN: 9745816116
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompoch_sr_front_p.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sr_ch1_p.pdf6.88 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sr_ch2_p.pdf13.34 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sr_ch3_p.pdf28.48 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sr_ch4_p.pdf24.87 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sr_ch5_p.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Sompoch_sr_back_p.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.