Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62599
Title: | การศึกษาการประมาณเวลาสำหรับงานก่อสร้างอาคาร |
Other Titles: | Study of time estimation of building construction |
Authors: | วิโรจน์ วงศ์ธัญลักษณ์ |
Advisors: | ปิง คุณะวัฒน์สถิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การจัดการ การวิเคราะห์การถดถอย วิธีกำลังสองน้อยที่สุด การประมาณเวลา Construction industry -- Management Regression analysis Least squares |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองในการประมาณเวลาก่อสร้างอาคาร สำหรับใช้ประมาณระยะเวลาเบื้องต้นในขั้นตอนออกแบบ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเส้นตรงเชิงซ้อน ประมาณเวลาก่อสร้างของทั้งโครงการงานโครงสร้างใต้ดิน งานโครงสร้างเหนือพื้นดิน งานสถาปัตยกรรม งานระบบ และระยะเวลาเหลื่อมของหมวดงานต่าง ๆ การวิจัยครั้งนี้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดโครงการและเวลาก่อสร้างของอาคารสำนักงาน อาคารที่พักอาศัย ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยแยกประเภทการสร้างแบบจำลองเป็นโครงการขนาดกลางและโครงการขนาดใหญ่ ผลการวิจัยพบว่า โครงการขนาดกลางสามารถประมาณเวลาก่อนสร้างได้จาก 12 ตัวแปร คือ ปริมาณดินขุดประเภทฐานราก ความสูงอาคาร ความสูงเฉลี่ยต่อชั้น จำนวนชั้นเหนือพื้นดิน พื้นที่ใช้สอยรวม พื้นที่ชั้นที่วางบนดิน พื้นที่เฉลี่ยต่อชั้น ปริมาตรอาคาร สภาพทางเข้าออก ระบบผนังภายนอก ปริมาณงานสถาปัตยกรรม ส่วนโครงการขนาดใหญ่สามารถประมาณเวลาก่อสร้างได้จาก 14 ตัวแปร คือปริมาณดินขุด ความลึกการขุดดิน ความสูงของอาคาร ความสูงเฉลี่ยต่อชั้น จำนวนชั้นเหนือพื้นดิน พื้นที่ใช้สอยรวม พื้นที่เฉลี่ยต่อชั้น พื้นที่ใช้สอยรวมของชั้นเหนือพื้นดิน ปริมาตรอาคาร พื้นที่ผิวรอบตัวอาคาร สภาพทางเข้าออก ปริมาณงานระบบ ระบบพื้นที่ใช้ ปริมาณงานสถาปัตยกรรม เมื่อทดสอบแบบจำลองกับข้อมูลจริงของโครงการขนาดกลางและขนาดใหญ่ พบว่าให้ค่าคลาดเคลื่อนไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นแบบจำลองที่ตั้งขึ้นสามารถนำไปใช้ในการประมาณเวลาก่อสร้างในเบื้องต้นได้ |
Other Abstract: | The objective of this study is to construct a building time estimation’s model for estimating time in early stage of design. Multiple linear regression analysis shows that the durations of total project and activity groups: substructure, superstructure, finishing, system and lag time. The data was collected from office and residential buildings in Bangkok and classified into two categories: medium projects and large projects. The result showed that: Model of medium projects’ time can be predicted from 12 variables; excavated volume, type of footing, building height, average floor height, number of storeys above ground, gross floor area, area of ground floor, average area per storey, building volume, access, type of external wall and finishing volume. Model of large projects’ time can be predicted from 14 variables; excavated volume, depth of excavation, building height, average floor height, number of storeys above ground, gross floor area, average area per storey, gross floor area of storeys above ground, building volume, surface area of building, access, type of floor systems, system volume, and finishing volume. Experiment test with real data of medium and large projects showed that the error is not exceed 20 percentage. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62599 |
ISBN: | 9746336541 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wirote_wo_front.pdf | 3.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wirote_wo_ch1.pdf | 858.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wirote_wo_ch2.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wirote_wo_ch3.pdf | 6.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wirote_wo_ch4.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wirote_wo_ch5.pdf | 726.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wirote_wo_back.pdf | 12.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.