Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/626
Title: การใช้ภาพที่ไม่คาดคิดเป็นเทคนิคช่วยจำในงานโฆษณาทางนิตยสารไทย
Other Titles: Use of the unexpected visual images as mnemonic device in Thai magazine advertisement
Authors: มารุต พิเชษฐวิทย์
Email: Suppakorn.D@Chula.ac.th
Advisors: ศุภกรณ์ ดิษฐพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: โฆษณาทางวารสาร
โฆษณา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารูปแบบวิธีการใช้ภาพที่ไม่คาดเป็นเทคนิคช่วยจำ ในงานโฆษณาทางนิตยสารไทย โดยศึกษาเฉพาะเรื่องการใช้เทคนิคการนำเสนอ (Presentation techniques) เท่านั้น ซึ่งจะทำให้ได้ทราบถึงแนวทางการเลือกใช้ รูปแบบวิธีการใช้ภาพที่ไม่คาดคิดเป็นเทคนิคช่วยจำ ให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าและบริการในโฆษณาแบบต่างๆ ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจะทำการคัดเลือกกลุ่มสมาชิกตัวอย่าง ซึ่งเป็นผลงานโฆษณาสิ่งพิมพ์ทางนิตยสารไทย ที่เข้ารอบจากการประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย (TACT Award) ในระหว่างปี ค.ศ. 1996 ถึงปี ค.ศ. 2000 จำนวนทั้งสิ้น 421 ชิ้น มาคัดเลือกและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert) จนได้ผลงานกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 81 ชิ้น จากนั้นจึงให้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Expert) วิเคราะห์รูปแบบวิธีการใช้ภาพที่ไม่คาดคิดจากกลุ่มสมาชิกตัวอย่างทั้งหมด โดยแนวคิดสำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับเทคนิคช่วยจำ และการใช้ภาพเพื่อสร้างสถานการณ์ที่น่าสนใจ ผลการศึกษาวิจัย พบว่ามีการใช้ภาพที่ไม่คาดคิดเป็นเทคนิคช่วยจำ ในงานโฆษณาทางนิตยสารไทย คิดเป็น 19.24% ของชิ้นงานโฆษณาทั้งหมด และพบว่ารูปแบบและวิธีการใช้ภาพ เป็นวิธีที่ตรงกับทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ 6 วิธี จากทั้งหมด 10 วิธี เรียงตามลำดับความนิยมดังต่อไปนี้ คือ 1.การอุปมาทางการมองเห็น (Visual Metaphor) 28.4%, 2. การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism) 24.69% 3.การสร้างความผิดปกติจากของจริง (Violating Reality) 19.75%. 4.การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (Morphing, Blending and Merging) 19.75%, 5.การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย (Subjective Camera) 3.70%, 6.การใช้ภาพล้อเลียน (Visual Parodies) 2.47% ส่วนอีก 3 วิธี คือ การใช้การจ้องมอง (Direct Eye Gaze) การใช้การมองจากด้านหลัง (Rear Views) และการใช้ระยะของภาพ (Viewing Distance) ไม่พบว่ามีการใช้ทั้ง 3 ประเภทนี้เลย แต่มีวิธีที่ค้นพบใหม่ 1 วิธี คือ 7 การใช้ขนาดที่ไม่ปกติ (Size) 1.24% และมีวิธีการอื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะเพิ่มเติมไว้อีก 2 วิธี คือ 8. การใช้สีที่เร้าความสนใจ (Color Effect), 9.การใช้ภาพที่มีความหมิ่นเหม่ (Controversial content) รวมทั้งสิ้นเป็น 9 วิธี
Other Abstract: To study the use of unexpected visual images as mnemonic device in advertisements published in Thai magazines. The study only focused on their presentation techniques. Knowledge obtained from this study can be used as a guideline to select an appropriate form of the unexpected visual images as mnemonic device for different kinds of advertisements for different products or services. The research methodology used in this study is the qualitative approach. The research procedure was operated by the following manner. Experts examined 421 TACT Award contenders in publishing advertisements, which were published in Thai publications between 1996 to 2000, and 81 samples were selected. They, then, analyzed the selected samples to come up with the patterns of unexpected visual images as mnemonic device that were used. The conceptual framework adopted in this study is the presentation techniques and unexpected visual images used as mnemonic device to create interesting situations. The research findings show that the unexpected visual images, used as mnemonic device, were 19.24% of the population. They also show that 6 of 10 of patterns and methods of using images were correspond to the theoretical framework. The 6 methods were put in their popularity order as follows 1. Visual Metaphor 28.4%, 2. Surrealism 24.69%, 3. Violating Reality 19.75%, 4. Morphing, Blending and Merging 19.75%, 5. Subjective Camera 3.70% and 6. Visual Parodies 2.47%. The order 3 methods, which were Direct Eye Gaze, Rear Views and Viewing Distance, are not used, and there was a newly devised method, which was 7. Size 1.24% and the other 2 methods, which were introduced by experts, are 8. Color Effect and 9. Controversial content, totaling 9 methods
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/626
ISBN: 9741705255
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Marut.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.