Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62606
Title: การวิเคราะห์ปริมาณโทลูอีนในซีรัมของผู้ใช้และไม่ใช้สารระเหย โดย เฮดสเปซ แก๊สโครมาโทกราฟี
Other Titles: Analysis of toluene in serum of inhalant users and non-users by headspace cas chromatography
Authors: วิไล ชินเวชกิจวานิชย์
Advisors: วราพรรณ ด่านอุตรา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โทลูอีน
ซีรัม -- การวิเคราะห์
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารประเภททินเนอร์หรือแลคเกอร์ เป็นสารที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดของประเทศในขณะนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น สารระเหยประเภทนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย เพราะหาซื้อง่าย ราคาถูก ไม่ผิดกฎหมาย และทินเนอร์หรือแลคเกอร์ยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภท สารระเหยทินเนอร์หรือแลคเกอร์ ซึ่งมีส่วนผสมเป็นพวกไฮโดรคาร์บอน มีผลในการกดประสาทส่วนกลาง ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติจนอาจถึงตามได้ นอกจากนี้ยังอาจทำลายระบบการสร้างเม็ดเลือด การทำงานของตับและไต การใช้สารประเภทนี้อาจนำไปสู่การใช้ยาในทางที่ผิดอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดปัญหาสังคมที่ซับซ้อนได้ ผู้รายงานได้พัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์โทลูอีน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในทินเนอร์หรือแลคเกอร์ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดด้วย เฮดสเปซ แก๊สโครมาโตกราฟี การวิเคราะห์ทำโดยอินคิวเบทสารละลายทินเนอร์หรือแลดเกอร์ หรือซีรัมที่จะวิเคราะห์ 1 มิลลิลิตร กับสารละลายไซโคลเฮกเซนในขวดปิดแน่นปิดด้วยจุกไฮคาร์ และรัดแน่นด้วยอะลูมิเนียมที่ 50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที แล้วดูดไอของสารเหนือสารละลายในขวด 1 มิลลิลิตร ฉีดเข้าเครื่องแก๊สโครมาโตกราฟ โดยใช้คอลัมน์แก้วขนาด 2000 × 2 มิลลิลิตร บรรจุด้วย Porapak [สัญลักษณ์] 80 -100 mesh วิธีนี้มีความไว 1.08 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรซีรัม ความแม่นยำในการทดลองเดียวกันมีค่าร้อยละของสัมประสิทธ์ความแปรปรวมเป็น 2.90 และ 8.29 ส่วนความแม่นยำในระหว่างการทดลองมีค่าร้อยละของสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนเป็น 3.94 และ6.88 ที่ความเข้มข้นของโทลูอีน 2.16 และ 4.32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรซีรัม ตามลำดับ และความถูกต้องมีค่าเปอร์เซ็นต์รีคอบเวอร์ระหว่าง 104.4 ถึง 114.4 เมื่อใช้เทคนิคนี้หาปริมาณโทลูอีนในชีรัมคนกลุ่มต่าง ๆ คือ กลุ่มคนที่ไม่ได้มีประวัติการได้รับโทลูอีนมาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ที่ได้รับโทลูอีนโดยอาชีพ คือ ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คนงานโรงงานผลิตสี และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ติดดมทินเนอร์ และ/หรือ แลคเกอร์จากการวิเคราะห์ไม่พบโทลูอีนในคน 2 กลุ่มแรก ส่วนคนงานโรงงานผลิตสี และคนติดดมพบปริมาณตั้งแต่น้อยกว่า 1.08 ถึง 27.3 และ น้อยกว่า 1.08 ถึง 16.8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรซีรัม ตามลำดับ เทคนิดเฮดสเปซ แก๊สโครมาโตกราฟีที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถใช้บ่งชี้การได้รับสารเหล่านี้และเป็นประโยชน์ในการศึกษาปัญหาการใช้ และการได้รับ ตลอดจนอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
Other Abstract: The inhalation of paint thinner and lacquer has become a significant drug abuse problem in Thailand especially among the young adolescent group. It is widely used probably because of its availability and it is free from legal control. This type of compounds constitute mainly of hydrocarbon and have been used in many kinds of industries. Exposure to the substances may cause depressive effect on the central nervous system, bone marrow, liver, kidney and cardiovascular system. The effects may be even fatal. It is likely that their use may lead to other drug addictions and create a more complex deleterious social consequences. This thesis presented an establishment of a headspace gas chromatographic technique for the analysis of toluene which is the principal ingredient of paint thinner and lacquer. One milliliter of thinner, lacquer solution or serum was incubated with cyclohexane as an internal standard in an aluminium sealed vial with hycar stopper at 50℃ for 30 minutes and 1 milliliter of the vapour was injected onto 2000 × 2 mm. glass column packed with Porapak [Symbol] ,80-100 mesh. The sensitivity of the method was 1.08 µg/ml. The coefficient of variations for within assays were 2.90 and 8.29 while those for the between assays were 3.94 and 6.88 at the levels of 2.16 and 4.32 µg/ml. of specimen respectively. The percentage recovery of the technique was between 104.4 to 114.4 %. The established method was applied for the study of toluene level in sera of three groups of people. The first group had no record of toluene use for at least two weeks before the investigation. The second group were those who have been either working in a laboratory using toluene or in a paint factory and the last group are those who are addicted to the inhalation of thinner or lacquer. The study showed that none of the serum specimen from the first two groups contained detectable level of toluene whereas the level found in the paint workers and the thinner or lacquer users were in the ranges of <1.08 – 27.3 and <1.08 – 16.8 µg/ml. respectively. There is a high potential in the application of the established technique as an indicator of toluene exposure and for the study of other problems and danger that may cause by the misuse of the substances containing toluene.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62606
ISBN: 9745647594
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilai_chi_front.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_chi_ch1.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_chi_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_chi_ch3.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_chi_ch4.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_chi_ch5.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Vilai_chi_back.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.