Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62622
Title: ต้นทุนและประสิทธิผลของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยยาผสม(MDT) : ศึกษาเฉพาะกรณีสถานบำบัดโรคผิวหนังวัดมกุฎกษัตริยาราม
Other Titles: Cost and effectiveness of using multidrug therapy regimen (MDT) in leprosy patients : a case study of Wat Mongkut Kasat Triyaram skin clinic
Authors: วิไลลักษณ์ นภาพรรณสกุล
Advisors: นราทิพย์ ชุติวงศ์
กรองกาญจน์ ทัศนาญชลี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรค -- การป้องกันและควบคุม -- แง่เศรษฐกิจ
โรคเรื้อน -- แง่เศรษฐกิจ
Medicine, Preventive -- Economic aspects
Leprosy -- Economic aspects
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและขนาดของต้นทุน ต้นทุนต่อหน่วยและประสิทธิผลของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อนด้วยยาผสม ตั้งแต่เริ่มต้นรักษาจนสามารถหยุดยาผสม ทั้งในผู้ป่วยประเภทเชื้อน้อยและประเภทเชื้อมาก โดยศึกษาเฉพาะกรณีสถานบำบัดโรคผิวหนังวัดมกุฎกษัตริยารามเป็นการศึกษาย้อยหลังจากการสำรวจเวชระเบียนของผู้ป่วย และข้อมูลทุติยภูมิร่วมกับข้อมูลปฐมภูมิในบางส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนจะเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยแยกตามประเภทของโรคเรื้อน ชนิดของโรคเรื้อนและตามระยะเวลาที่สามรถหยุดยา การวิเคราะห์ประสิทธิผล แยกเป็นการวิเคราะห์ประสิทธิผลของยาผสมและประสิทธิผลการรักษาพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนแรงงานเป็นองค์ประกบที่สำคัญของการรักษาในประเภทเชื้อน้อย และต้นทุนค่ายาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประเภทเชื้อมาก สัดส่วนของต้นทุนต่อหน่วยของการรักษาประเภทเชื้อน้อยต่อต้นทุนต่อหน่วยของการรักษาประเภทเชื้อมาก เป็น 1 : 7.8 การรักษาชนิดอินดิเทอมิเนทมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด ชนิดเลโปรมาตัสมีต้นทุนต่อหน่วยสูงสุด ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความพิการอาการโรคเห่อ และบาดแผลจะมีต้นทุนที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการ ประสิทธิผลของยาผสมในการรักษาผู้ป่วยประเภทเชื้อน้อยมีค่าสูงกว่าประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยประเภทเชื้อมาก และเมื่อพิจารณาถึงประสิทธิผลการรักษาพยาบาลพบว่า ประสิทธิผลการรักษาพยาบาลทั้งในประเภทเชื้อน้อยและประเภทเชื้อมากมีค่าต่ำกว่าประสิทธิผลเฉพาะของยา ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยมีอัตราการขาดยาค่อนข้างสูง
Other Abstract: This study was to analyse the structure of the total cost, the amount of total cost and the unit cost of leprosy treatment using multidrug therapy. The study furthered to analyse the effectiveness of the drug treatment and the effectiveness of curative service. The analysis was retrospective using both primary and secondary data from Wat Mongkut Kasat Triyaram Skin Clinic. From the study, it was found that in Paucibacillary case (PB), the labour cost was the most important component in the total cost and in Multibacillary case (MB), the drug cost was the most important one. For the unit cost, it was found that the ratio of PB unit cost to MB unit cost was 1:7.8, the Indeterminate case had the lowest unit cost and Lepromatus had the highest unit cost. As for the effectiveness, it was found that the effectiveness of drug treatment in PB was higher than in MB. The effectiveness of curative service was lower than the effectiveness of drug treatment in both PB and MB because of the high drop out rate.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62622
ISBN: 9745817066
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilailuk_na_front.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_na_ch1.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_na_ch2.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_na_ch3.pdf13.43 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_na_ch4.pdf17.99 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_na_ch5.pdf21.16 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_na_ch6.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open
Wilailuk_na_back.pdf18.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.